ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศแมนจู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จักรวรรดิแมนจูกัว)
ประเทศแมนจู
滿洲國
(ค.ศ. 1932–1934)
จักรวรรดิแมนจู
滿洲帝國
(ค.ศ. 1934–1945)

ค.ศ. 1932–1945
ตราพระราชลัญจกร (ค.ศ. 1934–1945)ของประเทศแมนจู
ตราพระราชลัญจกร (ค.ศ. 1934–1945)
เพลงชาติเพลงชาติแมนจู
(ฉบับ ค.ศ. 1933)

(ฉบับ ค.ศ.1942)
ประเทศแมนจูในเขตยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประเทศแมนจูในเขตยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น
สถานะรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น
เมืองหลวงซิงกิง (ฉางชุน)
ถึง 9 ส.ค. 1945
ตงฮัว (ลิ้นเจียง)
ถึง 18 ส.ค. 1945
ภาษาทั่วไปภาษาญี่ปุ่น
ภาษาจีนกลาง
ภาษามองโกเลีย
ภาษาแมนจู
การปกครองลัทธิบุคคลนิยม
รัฐพรรคการเมืองเดียว
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญภายใต้เผด็จการทหารเบ็ดเสร็จ
ห้วหน้าฝ่ายบริหาร 
• 1932–1934
สมเด็จพระจักรพรรดิคังเต๋อ (ผู่อี๋)
จักรพรรดิ 
• 1934–1945
สมเด็จพระจักรพรรดิคังเต๋อ (ผู่อี๋)
นายกรัฐมนตรี 
• 1932–1935
เจิ้ง เซี่ยวซือ
• 1935–1945
จาง จิงหุย
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932
• โซเวียตบุกครองแมนจู
สิงหาคม 1945
สกุลเงินหยวนแมนจู
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐจีน
การยึดครองประเทศแมนจูของสหภาพโซเวียต
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ จีน
ประเทศแมนจู
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม滿洲國
อักษรจีนตัวย่อ满洲国
ความหมายตามตัวอักษรประเทศแมนจู
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ満州国
คานะまんしゅうこく
คาตากานะマンシュウコク
การถอดเสียง
โรมาจิManshū-koku

ประเทศแมนจู หรือเรียกอย่างทับศัพท์ว่า หมั่นโจวกั๋ว (จีน: 滿洲國; พินอิน: Mǎnzhōuguó; เวด-ไจลส์: Manchukuo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการภายหลังปี ค.ศ. 1934 คือ จักรวรรดิแมนจูเรีย (จีน: 滿洲帝國; พินอิน: Mǎnzhōu Dìguó) เป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในดินแดนแมนจูเรียและมองโกเลียในฝั่งทิศตะวันออกปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ถึง ค.ศ. 1945 ประเทศแมนจูเป็นรัฐที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างจำกัดและอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นโดยพฤตินัย

ดินแดนแห่งนี้นับเป็นรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของชนชาติแมนจูผู้สถาปนาราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีนในอดีต กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองดินแดนดังกล่าวจากสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1931 จากกรณีมุกเดน และในปีถัดมา (ค.ศ. 1932) ก็ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้นปกครอง โดยมีอ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม[1] รัฐบาลแมนจูถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1945 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ดินแดนซึ่งประเทศแมนจูได้ประกาศอ้างสิทธิอย่างเป็นทางการนั้น ในชั้นแรกถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต หลังจากนั้นจึงได้มีการส่งมอบให้อยู่ภายใต้การปกครองของจีนต่อไป

กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในแมนจูกัวคือ ชาวฮั่น ไม่ใช่ชาวแมนจูซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศและจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในประเทศแมนจู นอกจากนี้ยังมีชาวเกาหลี ชาวญี่ปุ่น ชาวมองโกล ชาวรัสเซีย และกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ภูมิภาคมองโกลในทางตะวันตกของแมนจูกัวอยู่ภายใต้ระบบการปกครองที่แตกต่างกันเล็กน้อยจากส่วนกลาง โดยจัดการปกครองตามธรรมเนียมชาวมองโกลแทน ส่วนทางด้านทิศใต้ของคาบสมุทรเหลียวตงถูกปกครองโดยญี่ปุ่น โดยจัดพื้นที่ให้เป็นเขตเช่าของกองทัพคันโต

ประวัติ

[แก้]

ภูมิหลัง

[แก้]

หลังจากที่ชาวแมนจูพิชิตประเทศจีนสำเร็จ ชาวแมนจูจึงโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์หมิงและสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นแทนที่ แต่อย่างไรก็ตามจักรพรรดิแมนจูกลับไม่รวมแผ่นดินการปกครองเกิดของพวกตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนอย่างเต็มที่นัก ระเบียบการปกครองโดยแบ่งแยกชนชาติดังกล่าวได้ดำเนินต่อมาจนกระทั่งจักรวรรดิของราชวงศ์ชิงเริ่มตกต่ำและแตกแยกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

เมื่ออำนาจของราชสำนักปักกิ่งอ่อนแอลง หัวเมืองขึ้นรอบนอกส่วนมากจึงแยกตนเองเป็นอิสระ (เช่น คัชการ์) หรือตกอยู่ในความความคุมของชาติมหาอำนาจลัทธิจักรวรรดินิยม ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น จักรวรรดิรัสเซียนับเป็นชาติที่มีผลประโยชน์มากที่สุดที่ในดินแดนภาคเหนือของจักรวรรดิต้าชิง ในปี ค.ศ. 1858 รัสเซียได้รับสิทธิเข้าควบคุมดินแดนขนาดใหญ่ของจีนซึ่งเรียกว่าแมนจูเรียนอก (Outer Manchuria) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญาปักกิ่งฉบับเพิ่มเติม ซึ่งทำให้สงครามฝิ่นครั้งที่สองยุติลง แม้กระนั้นรัสเซียก็ยังไม่พอใจต่อสิ่งที่ตนได้รับ และเมื่อประกอบกับสถานการณ์ของราชวงศ์ชิงยังคงเสื่อมถอยอยู่ รัสเซียจึงพยายามต่อไปเพื่อการควบคุมดินแดนแมนจูเรียที่เหลืออยู่ทั้งหมด ดินแดนแมนจูเรียใน (Inner Manchuria) ได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซียอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1890 จากการสร้างทางรถไฟสายจีนตะวันออกระหว่างเมืองฮาร์บินของแมนจูเรียและวลาดีวอสตอคของรัสเซีย

จุดกำเนิด

[แก้]
พิธีสารญี่ปุ่น-แมนจูกัว ลงนามวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1932
ราชบัลลังก์ของจักรพรรดิแมนจู, ราว ค.ศ. 1937

ผลโดยตรงจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ระหว่างปี ค.ศ. 1904-1905 ได้ทำให้อิทธิพลของญี่ปุ่นได้เข้ามาสู่แมนจูเรียในแทนที่อิทธิพลของรัสเซีย โดยในปี ค.ศ. 1906 ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้จากเมืองท่าพอร์ตอาเธอร์ (ญี่ปุ่นเรียกเมืองนี้ว่า "เรียวจุน") ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง แมนจูเรียได้กลายเป็นสมรภูมิระหว่างรัสเซีย, ญี่ปุ่นและจีน ทั้งทางด้านการเมืองและการทหาร ญี่ปุ่นได้ขยายอิทธิพลสู่แมนจูเรียนอก อันเป็นผลสืบเนื่องมาสถานการณ์อันสับสนจากการปฏิวัติในประเทศรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1918 ความสำเร็จทางการทหารของสหภาพโซเวียตและความกดดันทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาได้บีบบังคับให้ญี่ปุ่นต้องถอยร่นจากพื้นที่ดังกล่าว และแมนจูเรียนอกก็ได้กลับมาอยู่ในความปกครองรัสเซียอีกครั้งในนามสหภาพโซเวียต​​ในปี ค.ศ. 1925

ด้านประเทศจีนซึ่งอยู่ในยุคแห่งความแตกแยกจากการตั้งตัวเป็นใหญ่ของกลุ่มขุนศึกต่างๆ ขุนศึกจาง โซ่วหลิน (Zhang Zuolin) ได้สถาปนาอำนาจการปกครองของตนเองในเขตแมนจูเรียในขึ้นภายใต้การสนับสนุนของญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อกองทัพคันโตตระหนักว่าจาง โซ่วหลิน มีอิสระมากเกินไป จึงได้ทำการลอบสังหารเขาเสียเมื่อ ค.ศ. 1928

หลังจากการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1931 กองทัพญี่ปุ่นได้มุ่งหน้าสู่การแบ่งแยกภูมิภาคแมนจูเรียออกจากการควบคุมจีนและสร้างรัฐหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นขึ้น และเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความชอบธรรมขึ้น อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ จักรพรรดิของจีนองค์สุดท้ายจึงได้รับเชิญจากญี่ปุ่นพร้อมกับอ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ยพระอนุชาและบรรดาผู้ติดตาม เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐแมนจูเรียที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หนึ่งในผู้ติดตามผู้ซื่อสัตย์ของเขาคือ เจิ้ง เซี่ยวซือ นักปฏิรูปและผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิง[2]

อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ ในฐานะจักรพรรดิคังเต๋อแห่งแมนจู

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 ได้มีการประกาศสถาปนา "ประเทศแมนจู" (จีน: 滿洲國; พินอิน: Mǎnzhōuguó) [3] ญี่ปุ่นได้ให้การรับรองประเทศแมนจูผ่านการลงนามในพิธีสารญี่ปุ่น-แมนจูกัว เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1932 เมืองฉางชุนซึ่งได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ซิงกิง" (จีน: 新京; พินอิน: Xinjing; "เมืองหลวงใหม่") มีฐานะเป็นเมืองหลวงของรัฐใหม่แห่งนี้ ชาวฮั่นในแมนจูเรียได้รวมตัวกันเป็นกองทัพอาสาสมัครเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้รัฐใหม่ดังกล่าวจำเป็นต้องทำสงครามอันยืดเยื้ออีกหลายปีเพื่อสร้างความสงบภายในประเทศ

ในขั้นต่อมา ญี่ปุ่นได้ดำเนินการแต่งตั้งให้ผู่อี๋เป็นประมุขแห่งรัฐในปี ค.ศ. 1932 และอีกสองปีให้หลังจึงได้มีการสถาปนาให้เขาดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแมนจู โดยใช้ชื่อศักราชประจำรัชกาลตามแบบจีนว่า "คังเต๋อ" (หมายถึง "ความสงบและคุณธรรม") ประเทศแมนจูจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "จักรวรรดิแมนจู" (จีน: 滿洲帝國; พินอิน: Mǎnzhōu Dìguó; เวด-ไจลส์: Manchutikuo) หรือในชื่อเต็ม "จักรวรรดิแมนจูเรียอันยิ่งใหญ่" (จีน: 大滿洲帝國; พินอิน: Dà Mǎnzhōu Dìguó) เจิ้ง เซี่ยวซือได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของแมนจูจนถึง ค.ศ. 1935 โดยมีจาง จิงหุยขึ้นดำรงตำแหน่งแทน สำหรับจักรพรรดิผู่อี๋นั้น พระองค์มีฐานะดุจเดียวกับเจว็ด เพราะอำนาจการปกครองประเทศที่แท้จริงนั้นล้วนอยู่ในกำมือของทหารญี่ปุ่นทั้งสิ้น พระราชวังได้ถูกสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับควบคุมจักรพรรดิ รัฐมนตรีแมนจูทั้งหมดรับบทเป็นเพียงร่างทรงของรองรัฐมนตรีที่เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจในทุกเรื่องอย่างแท้จริง

ในลักษณะดังกล่าวนี้ ญี่ปุ่นจึงสามารถตัดประเทศแมนจูออกจากจีนอย่างเป็นทางการในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 และด้วยการลงทุนของญี่ปุ่นและทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ดังกล่าวจึงกลายเป็นฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญยิ่ง

ในปี ค.ศ. 1935 แมนจูได้ซื้อทางรถไฟสายจีนตะวันออกจากสหภาพโซเวียต

ทางทหาร

[แก้]
กองพลทหารม้าแมนจู

กองทัพบกแมนจู

[แก้]

ทหารรักษาพระองค์แมนจู

[แก้]

กองทัพเรือแห่งแมนจู

[แก้]

กองทัพอากาศแมนจู

[แก้]

อาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่นในแมนจูกัว

[แก้]

จากการศึกษาวิจัยร่วมกันของนักประวัติศาสตร์ทั้งจากประเทศตะวันตก ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่นเอง อาทิเช่น Zhifen Ju, Mitsuyochi Himeta, Toru Kubo และ Mark Peattie ได้มีมติสรุปเห็นพ้องตรงกันว่า พลเรือนชาวจีนมากกว่า 10 ล้านคนได้ถูกบังคับเกณฑ์แรงงานโดยกองทัพคันโตสำหรับการเป็นแรงงานทาสในประเทศแมนจู ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ญี่ปุ่นแต่งตั้งขึ้นเพื่อนำชาวจีนมาเป็นทาส[4]

แรงงานทาสชาวจีนจะถูกใช้แรงงานอย่างหนักและมักเจ็บป่วย ด้วยภาวะขาดอาหารและอาการเหนื่อยล้า แรงงานที่ไม่ดีบางคนถูกผลักเข้าลงไปในหลุมศพหรือถูกฝังทั้งเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงภาระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์[5]

ในประเทศแมนจู จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ใช้เป็นฐานผลิตอาวุธชีวภาพ ซึ่งถูกทดลองในมนุษย์โดย หน่วย 731 หน่วยงานที่ขึ้นชื่อในด้านความเลวร้ายในด้านศีลธรรมเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาอาวุธชีวภาพใช้มนุษย์เป็นหนูทดลองอย่างทารุณ ฐานของหน่วยตั้งอยู่ในเขตฟิงฟาง เมืองฮาร์บิน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนต่างต้องตกอยู่ภายใต้การผ่าตัดส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ยาชาระงับความเจ็บปวด

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Duara, Presenjit. Sovereignty and Authenticity: Manchukuo and the East Asian Modern. Lanham: Roman & Littlefield Publishers, 2004.
  • Toshihiko Kishi. "Manchuria's Visual Media Empire (Manshukoku no Visual Media) : Posters, Pictorial Post Cards, Postal Stamps", Tokyo: Yoshikawa Kobunkan, 10 June 2010.
  • Reginald Fleming Johnston. "Twilight in the Forbidden City". Soul Care Publishing, 18 March 2008.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Encyclopædia Britannica article on Manchukuo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2011-03-02.
  2. Reginald Fleming Johnston, p. 438.
  3. "Between World Wars". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-19. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. Ju, Zhifen (2002), Japan's atrocities of conscripting and abusing north China draftees after the outbreak of the Pacific war
  5. Municipal Government Information Office (2005), Repatriation of one million Japanese via Huludao, Beijing: China Intercontinental Press, p. 25, ISBN 7-5085-0735-5

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]