รัฐสุลต่านแซนซิบาร์
รัฐสุลต่านแซนซิบาร์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1856–1964 | |||||||||
สีชมพู คือ รัฐสุลต่านแซนซิบาร์ | |||||||||
สถานะ |
| ||||||||
เมืองหลวง | สโตนทาวน์ | ||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||
ศาสนา | อิสลาม[1] | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (1856–1963) ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (1963–1964) | ||||||||
สุลต่าน | |||||||||
• 1856–1870 | มาญิด บิน ซะอิด (พระองค์แรก) | ||||||||
• 1963–1964 | ญัมชิด บิน อิบดุลลอฮ์ อัล ซะอิด (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||
มุขมนตรี | |||||||||
• 1961 | เจฟฟรีน์ ลอว์เรนซ์ | ||||||||
• 1961–1964 | มุฮัมหมัด ฮามาดี | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• การแยกจักรวรรดิโอมาน | 19 ตุลาคม 1856 | ||||||||
• สนธิสัญญาเฮลิโกแลนด์-แซนซิบาร์ | 1 กรกฎาคม 1890 | ||||||||
27 สิงหาคม 1896 | |||||||||
• การปฏิวัติแซนซิบาร์ | 12 มกราคม 1964 | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1964[2] | 300,000 | ||||||||
สกุลเงิน | เรียลแซนซิบาร์[3] (1882–1908) รูปีแซนซิบาร์ (1908–1935) ชิลลิงแอฟริกาตะวันออก (1935–1964) รวมถึงรูปีอินเดีย และ มาเรีย เทเรซา ธาลเลอร์ มีหมุนเวียนในระบบด้วย | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
รัฐสุลต่านแซนซิบาร์ ( สวาฮีลี: Usultani wa Zanzibar , อาหรับ: سلطنة زنجبار, อักษรโรมัน: Sulṭanat Zanjībār) [1] เป็นรัฐมุสลิมในแอฟริกาตะวันออกที่ปกครองโดยสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ ระหว่าง ค.ศ. 1856 - 1964 [4] ดินแดนของรัฐสุลต่านนีเมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดยุคสมัย และในที่สุด รัฐสุลต่านนี้มีอำนาจอธิปไตยอยู่เหนือเพียง หมู่เกาะแซนซิบาร์ และพื้นที่แนวชายฝั่งของเคนยา 16 กม. ในขณะที่พื้นที่ภายในประเทศเคนยาในตอนนั้นเป็น อาณานิคมของสหราชอาณาจักร พื้นที่แถบชายฝั่งเลนถูกบริหารราชการแผ่นดินเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมนั้นโดย พฤตินัย
ภายใต้ข้อตกลงที่บรรลุเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1963 สุลต่านแห่งแซนซิบาร์ทรงสละอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ และในวันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน เคนยาก็ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม ปีถัดมา ญัมชิด บิน อับดุลลออฮ์ สุลต่านพระองค์สุดท้าย ทรงถูกปลดออกจากอำนาจและสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือแซนซิบาร์ ซึ่งเป็นดินแดนสุดท้าย อันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของรัฐสุลต่าน
เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1964 เกิดการปฏิวัติขึ้นในรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ นำโดยพรรคแอฟริกันแอฟโฟร-ชีราซี เพื่อโค่นล้มรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่อยู่เป็นกลุ่มอาหรับ นำโดยกลุ่มคนผิวสีซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐสุลต่าน การปฏิวัติเป็นไปอย่างโหดร้ายทารุณ มีผู้บาดเจ็บล้มตายประมาณ 2,000-20,000 คน พรรคดังกล่าวได้ใช้วิธีการอันโหดร้ายทารุณกรรมอย่างยิ่ง เช่น การสังหาร การสังหาร และบางครั้งถึงขั้นข่มขืนชาวอาหรับ
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]ตามที่นักสำรวจในศตวรรษที่ 16 นามว่า เลโอ อาฟริกานุซ กล่าวไว้ว่า แซนซิบาร์ (Zanguebar) เป็นคำที่ชาวอาหรับและเปอร์เซียใช้เรียกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาที่ทอดยาวจากเคนยาไปจนถึงโมซัมบิก ซึ่งปกครองโดยอาณาจักรมุสลิมกึ่งอิสระ 5 อาณาจักร ได้แก่ มอมบาซา มาลินดี กิลวา โมซัมบิก และ โซฟาลา นอกจากนี้ อาฟริกานุซ ยังสังเกตอีกว่าทุกรัฐมีข้อตกลงสวามิภักดิ์ต่อรัฐสำคัญๆ ในแอฟริกากลาง รวมถึง ราชอาณาจักรมูตาปา ด้วย [5] [6]
ในปี ค.ศ. 1698 แซนซิบาร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนโพ้นทะเลของโอมาน หลังจากที่ ซะอิฟ บิน ซุลตัน อิหม่ามของโอมาน เอาชนะโปรตุเกสใน มอมบาซา ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศเคนยา ในปีค.ศ. 1832 [7] หรือ 1840 [8] ผู้ปกครองโอมาน ซะอิด บิน ซุลตัน ทรงย้ายราชสำนักของเขาจากกรุงมัสกัตมายังสโตนทาวน์ บนเกาะอุนกุจา (เกาะแซนซิบาร์) พระองค์ได้ทรงสถาปนากลุ่มชนชั้นนำอาหรับและทรงสนับสนุนให้มีการปลูกต้น กานพลู โดยใช้แรงงานทาสบนเกาะ [9] ต่อมมการค้าของแซนซิบาร์ตกอยู่ในมือของพ่อค้าจากอนุทวีปอินเดีย มากขึ้น ซึ่งซะอิดทรงสนับสนุนให้พ่อค้าเหล่านี้มาตั้งถิ่นฐานบนเกาะ หลังจากที่พระองค์สรรคตในปีค.ศ. 1856 พระราชโอรสทั้งสอง คือ มาญิด บิน ซะอิด และ ทูไวนี บิน ซะอิด ได้ต่อสู้กันเพื่อชิงราชบัลลังก์ ดังนั้น แซนซิบาร์และโอมานจึงถูกแบ่งออกเป็นสอง อาณาจักร ที่แยกจากกัน Thuwaini กลายเป็นสุลต่านแห่ง มัสกัตและโอมาน ในขณะที่ Majid กลายเป็น สุลต่านองค์แรกของแซนซิบาร์ แต่จำเป็นต้องจ่ายบรรณาการประจำปีให้กับราชสำนักโอมานในมัสกัต [10] [11] ระหว่างการครองราชย์เป็นสุลต่านนาน 14 ปี พระองค์ได้ทรงรวบรวมอำนาจของพระองค์ให้มั่นคงโดยเกี่ยวข้องกับ การค้าทาสในท้องถิ่น ภายใต้แรงกดดันจากอังกฤษ ผู้สืบทอดตำแหน่งของเขา บาร์กาช บิน ซาอิด ได้ช่วยยกเลิก การค้าทาสในแซนซิบาร์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นส่วนใหญ่ [12] สุลต่านคนที่สาม คาลิฟา บิน ซาอิด ยังทรงผลักดันความก้าวหน้าของประเทศในการยกเลิกทาสอีกด้วย [13]
- ↑ 1.0 1.1 Gascoigne, Bamber (2001). "History of Zanzibar". HistoryWorld. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อspeller4
- ↑ "Coins of Zanzibar". Numista. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
- ↑ Ndzovu, Hassan J. (2014). "Historical Evolution of Muslim Politics in Kenya from the 1840s to 1963". Muslims in Kenyan Politics: Political Involvement, Marginalization, and Minority Status. Northwestern University Press. pp. 17–50. ISBN 9780810130029. JSTOR j.ctt22727nc.7.
- ↑ Africanus, Leo (1526). The History and Description of Africa. Hakluyt Society. pp. 51–54. สืบค้นเมื่อ 11 July 2017.
- ↑ Ogot, Bethwell A. (1974). Zamani: A Survey of East African History. East African Publishing House. p. 104.
- ↑ Ingrams 1967, p. 162
- ↑ Appiah & Gates 1999, p. 2045
- ↑ Ingrams 1967, p. 163
- ↑ "Background Note: Oman". U.S. Department of State - Diplomacy in Action.
- ↑ Ingrams 1967, pp. 163–164
- ↑ Michler 2007, p. 37
- ↑ Ingrams 1967, p. 172