แม่น้ำพรหมบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรหมบุตร
พรหมบุตรในคุวาหาฏี รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
ทางน้ำไหลของแม่น้ำพรหมบุตร
ที่มาของชื่อบุตรของพระพรหม
ที่ตั้ง
ประเทฯ
เขตปกครองตนเองทิเบต
นคร
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำธารน้ำแข็งอังซี มนสโรวาร
 • ตำแหน่งหิมาลัย
 • พิกัดภูมิศาสตร์30°23′N 82°0′E / 30.383°N 82.000°E / 30.383; 82.000
 • ระดับความสูง5,210 m (17,090 ft)
ปากน้ำแม่น้ำคงคา
 • ตำแหน่ง
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา
 • พิกัด
25°13′24″N 89°41′41″E / 25.22333°N 89.69472°E / 25.22333; 89.69472พิกัดภูมิศาสตร์: 25°13′24″N 89°41′41″E / 25.22333°N 89.69472°E / 25.22333; 89.69472
 • ระดับความสูง
0 m (0 ft)
ความยาว3,969 km (2,466 mi)[1]
พื้นที่ลุ่มน้ำ651,334 km2 (251,481 sq mi)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งปากแม่น้ำคงคา
 • เฉลี่ย19,824 m3/s (700,100 cu ft/s)[2]
 • ต่ำสุด3,105 m3/s (109,700 cu ft/s)
 • สูงสุด100,000 m3/s (3,500,000 cu ft/s)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำพรหมบุตร ขนาดพื้นที่ 712,035 km2 (274,918 sq mi)
 • เฉลี่ย25,000 m3/s (880,000 cu ft/s)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำลาซา, นยัง, ปาร์ลุงซังโบ, โลหิต, เนาดีฮีง, บูรีดีฮีง, ดีซัง, ดีโฆ, ฌันจี, ธันสิริ, โกโลง, โกปีลี, โภโรลู, กุลสี, กฤษไณ
 • ขวาเจียโภโรลี, มานาส, เบกี, ไรดาก, ชลธากา, ตีสตา, สุพันสิริ, เจียโธล, ซีเมน, ปากลาเดีย, โซนโคช, คทาธาร

แม่น้ำพรหมบุตร (อักษรโรมัน: Brahmaputra; /ˌbrɑːməˈpʊtrə/) เป็นแม่น้ำข้ามพรมแดนไหลผ่านทิเบตในประเทศจีน, อินเดีย และบังกลาเทศ เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดอันดับเก้าของโลกในแง่ของปริมาณน้ำไหลออก และยาวที่สุดอันดับที่สิบห้า

แม่น้ำมีจุดเริ่มต้นที่ทะเลสาบมนสโรวาร ใกล้เขาไกรลาศ ทางตอนเหนือของหิมาลัย ในทิเบต ช่วงที่ไหลในบริเวณนั้นจะเรียกว่าแม่น้ำยาร์บุงซังโป[1] จากนั้นไหลผ่านทิเบตใต้และแตกผ่านหิมาลัยเป็นธารน้ำใหญ่ ๆ เช่น ยาร์ลุงซังโป และไหลเข้าอรุณาจัลประเทศในประเทศอินเดีย[3] จากนั้นไหลไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านรัฐอัสสัม และลงใต้เข้าประเทศบังกลาเทศ กลายเป็นแม่น้ำยมุนา (คนละสายกันกับแม่น้ำยมุนาในอินเดีย) จากนั้นจึงรวมเข้ากับแม่น้ำคงคาในแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา กลายเป็นแม่น้ำปัทมา และกลายเป็นแม่น้ำเมฆนา ก่อนไหลออกอ่าวเบงกอล[4]

แม่น้ำพรหมบุตรมีความยาวรวม 3,848 km (2,391 mi)[1] และมีความสำคัญมากต่อการชลประทานและการคมนาคมในภูมิภาค ความลึกเฉลี่ยแม่น้ำอยู่ที่ 30 m (100 ft) และจุดลึกสุดมีความลึกที่ 135 m (440 ft) (คือที่ สทิยา)[5] เมื่อหิมะในหิมาลัยละลาย แม่น้ำพรหมบุตรจะเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยร้ายแรง ปริมาณน้ำไหลออกของแม่น้ำอยู่ที่ 19,800 m3/s (700,000 cu ft/s)[3] และอาจสูงถึง 100,000 m3/s (3,500,000 cu ft/s) ในช่วงอุทกภัย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Scientists pinpoint sources of four major international rivers". Xinhua News Agency. 22 August 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2016. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  2. Webersik, Christian (2010). Climate Change and Security: A Gathering Storm of Global Challenges. ABC-CLIO. p. 45. ISBN 978-0-313-38007-5.
  3. 3.0 3.1 "Brahmaputra River". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2017. สืบค้นเมื่อ 13 November 2016.
  4. "Brahmaputra River Flowing Down From Himalayas Towards Bay of Bengal". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2011. สืบค้นเมื่อ 22 November 2011.
  5. Singh, Vijay; Sharma, Nayan; Ojha, C. Shekhar P. (29 February 2004). The Brahmaputra Basin Water Resources. Dordrecht: Springer. p. 120. ISBN 9789048164813.
  6. "Water Resources of Bangladesh". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2009. สืบค้นเมื่อ 18 November 2010.