ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน
ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน | |
---|---|
ประธานาธิบดีบังกลาเทศ (สมัยที่ 1) | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน ค.ศ. 1971 – 12 มกราคม ค.ศ. 1972 | |
นายกรัฐมนตรี | ตาจุดิน อาหมัด |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | นาซรุล อิสลาม (รักษาการ) |
ประธานาธิบดีบังกลาเทศ (สมัยที่ 2) | |
ดำรงตำแหน่ง 25 มกราคม ค.ศ. 1975 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1975 | |
นายกรัฐมนตรี | มูฮัมมัด มันซูร์ อาลี |
ก่อนหน้า | โมฮัมหมัด โมฮัมหมัดดุลลาห์ |
ถัดไป | คอนดาเกอร์ โมซตาส อาห์หมัด |
นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มกราคม ค.ศ. 1972 – 24 มกราคม ค.ศ. 1975 | |
ประธานาธิบดี | อาบู ซายิด เชาว์ดูรีย์ โมฮัมหมัด โมฮัมหมัดดุลลาห์ |
ก่อนหน้า | ตาจุดิน อาหมัด |
ถัดไป | มูฮัมมัด มันซูร์ อาลี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มีนาคม ค.ศ. 1920 ตุงจีปาลา, เขตปกครองเบงกอล, บริติชราช (ปัจจุบันคือ บังคลาเทศ) |
เสียชีวิต | 15 สิงหาคม ค.ศ. 1975 ธากา, ประเทศบังคลาเทศ | (55 ปี)
เชื้อชาติ | บังคลาเทศ |
ศาสนา | อิสลาม |
คู่สมรส | ชีค ฟาซิลลาตุลเนซา มูจิบ |
บุตร | เศข หาสินา ชีค รีฮานา ชีค คามาล ชีค จามาล ชีค ราเซล |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธากา |
ลายมือชื่อ | |
ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน (เบงกอล: শেখ মুজিবুর রহমান Shekh Mujibur Rôhman; 17 มีนาคม ค.ศ. 1920 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1975) เป็นผู้ก่อตั้งประเทศบังกลาเทศ เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีระหว่าง 17 เมษายน ค.ศ. 1971 จนถูกลอบสังหารในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1975[1] และยังเป็นผู้นำสันนิบาตอวามีอีกด้วย เขาเป็นที่รู้จักในนาม บังกลาบันธุ (เพื่อนของเบงกอล) และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำการปลดปล่อยบังกลาเทศ และยังถูกเปรียบเทียบกับบรรดาบิดาของชาติในยุคศตวรรษที่ 20 อีกหลายคน ชีค ฮาซีนา วาเจด เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของบังกลาเทศ
ในฐานะผู้สนับสนุนลัทธิสังคมนิยม เราะห์มานไต่เต้าขึ้นจากตำแหน่งของสันนิบาตอวามีและกลุ่มการเมืองปากีสถานตะวันออก ในฐานะนักพูดที่มีพลังและมีความดึงดูดใจ เขาได้รับความนิยมจากการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อชนชาติเบงกอลในปากีสถาน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของรัฐ ท่ามกลางความตึงเครียดอย่างหนัก เขาได้เรียกร้องเงื่อนไข 6 ประการ และถูกกักขังโดยระบอบของจอมพลอายุบ ข่าน ด้วยข้อหากบฏ เราะห์มานได้นำสันนิบาตอวามีชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปากีสถานในปี 1970 แม้จะได้เสียงข้างมาก แต่สันนิบาตอวามีกลับถูกกลุ่มรัฐบาลทหารของปากีสถานห้ามจัดตั้งรัฐบาล จากการละเมิดสิทธิพลเมืองของรัฐบาลทหาร ทำให้เกิดการต่อต้านทั่วปากีสถานตะวันออก เราะห์มานได้ประกาศให้ชาวบังกลาเทศต่อสู้เรียกร้องเอกราชระหว่างการปราศรัยในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1971 และในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1971 ทหารปากีสถานได้ตอบโต้การประท้วงด้วยการเปิดฉากปฏิบัติการส่องไฟ (Operation Searchlight; เบงกอล: অপারেশন সার্চলাইট) ซึ่งเราะห์มานได้ถูกจับและถูกขังเดี่ยวในปากีสถานตะวันตก ขณะที่พลเมือง,นักเรียน,ปัญญาชน,นักการเมืองและกลุ่มต่อต้านทหารได้ถูกสังหารเป็นจำนวนมาก หลังจากการปลดปล่อยบังกลาเทศแล้ว เราะห์มานได้ถูกปล่อยจากเรือนจำปากีสถานและกลับไปยังธากาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1972
เราะห์มานได้เป็นนายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศภายใต้ระบอบรัฐสภาซึ่งได้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศใหม่นี้ รัฐบาลได้ร่างรัฐธรรมนูญที่ออกไปทางสังคมนิยมและประชาธิปไตยแบบโลกวิสัย สันนิบาตอวามีได้ชนะการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของประเทศในปี ค.ศ. 1973 อย่างไรก็ตาม เราะห์มานต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายของการว่างงานอย่างเกรียวกราด ความยากจน และการทุจริต ซึ่งความอดอยากในบังกลาเทศ ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1974 รัฐบาลของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเพิกเฉยต่อการรับรองสิทธิของชนกลุ่มน้อยและมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มทหาร โดยเฉพาะกลุ่มทหารอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง เราะห์มานได้ผลักดันระบบสังคมนิยมพรรคเดียวขึ้นมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1975 ซึ่ง 6 เดือนต่อมา เขาและครอบครัวได้ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มทหารที่หักหลังเขาระหว่างการทำรัฐประหารและกฏอัยการศึกได้ถูกใช้ในภายหลัง
ในปี ค.ศ. 2004 บีบีซีภาษาเบงกอล ได้โหวตให้เราะห์มานเป็น "ชาวเบงกอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[2]
อ้างอิง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Who is Sheikh Mujibur Rahman, whose birth centenary Bangladesh is observing today". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 May 2020.
- ↑ —"Listeners name 'greatest Bengali'". BBC. 14 April 2004. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
—Habib, Haroon (17 April 2004). "International : Mujib, Tagore, Bose among 'greatest Bengalis of all time'". The Hindu.
—"Bangabandhu judged greatest Bangali of all time". The Daily Star. 16 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- Mujibur Rahman, Sheikh (2012). The Unfinished Memoirs. Dhaka: The University Press Limited. ISBN 9789845061100.
- Kādira, Muhāmmada Nūrula (2004). Independence of Bangladesh in 266 days: history and documentary evidence. Dhaka: Mukto Publishers. ISBN 978-984-32-0858-3.
- Karim, S. A. (2005). Sheikh Mujib: Triumph and Tragedy. The University Press Limited. ISBN 9789840517374.
- Milam, William B. (2009). Pakistan and Bangladesh: Flirting with Failure. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-70066-5.
- Kaushik, S. L.; Patnayak, Rama (1995). Modern Governments and Political Systems: governments and politics in South Asia.
- Frank, Katherine (2001). Indira: The Life of Indira Nehru Gandhi. HarperCollins. ISBN 978-0-395-73097-3.
- Ahmed, Moudud (1983). Bangladesh: Era of Sheikh Mujibur Rahman. The University Press Limited. ISBN 978-984-506-226-8.
- Ahmed, Salahuddin (2003). Bangladesh: Past and Present. New Delhi: A.P.H. Publishing Corporation. ISBN 9788176484695.
- Enayetur Rahim and Joyce L. Rahim, บ.ก. (2013). Bangabandhu Sheikh Mujibur Rahman and Struggle for Independence: UK Foreign and Commonwealth Office, De-classified Documents, 1962–1971. Hakkani Publishers. ISBN 978-7-02-140067-5.
- Meghna Guhathakurta and Willem van Schendel (2013). The Bangladesh Reader: History, Culture, Politics. Duke University Press. ISBN 9780822353188.
- Islam, Maidul (2015). Limits of Islamism. Cambridge University Press. ISBN 9781107080263.
- Jahan, Rounaq (2000). Bangladesh: promise and performance. Zed Books. ISBN 9781856498258.
- M. Uddin, Sufia (15 December 2006). Constructing Bangladesh: Religion, Ethnicity, and Language in an Islamic Nation. ISBN 9780807877333.
- Gupta, Jyoti Sen (1981). Bangladesh, in Blood and Tears. Naya Prokash.