จาตุมหาราชิกา
ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ จาตุมหาราชิกา (บาลี: Cātummahārājika, จาตุมฺมหาราชิก; สันสกฤต: चातुर्महाराजकायिक Cāturmahārājikakāyika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาพจร[1] (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ
จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า โลกบาล จตุโลกบาล หรือ จาตุมหาราช[2] ปกครองอยู่องค์ละทิศ
เทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี) โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีมนุษย์[3] คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีมนุษย์
จาตุมหาราชผู้ปกครองสวรรค์
[แก้]ชื่อเรียกโดยรวมของจาตุมหาราชในภาษาต่าง ๆ ปรากฏดังตารางแสดงเบื้องล่าง
ภาษา | รูปอักษร | คำอ่าน/รูปปริวรรต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ภาษาสันสกฤต | चतुर्महाराज | จตุรฺมหาราช | มหาราชทั้งสี่ |
लोकपाल | โลกปาล | ผู้คุ้มครองโลก | |
ภาษาพม่า | စတုလောကပါလ စတုမဟာရာဇ်နတ် |
สะตุลอกะป่าละ สะตุมะหาริตนัต |
จตุโลกบาล (สีผู้คุ้มครองโลก) จตุมหาราชนัต (นัตสี่มหาราช) |
ภาษาจีน | 天王 | เทียนหวัง | ราชาสวรรค์ |
四天王 | ซื่อเทียนหวัง | สี่ราชาสวรรค์ | |
四大天王 | ซื่อต้าเทียนหวัง | สี่มหาราชแห่งสวรรค์ | |
ภาษาเกาหลี | 천왕 | ชอนวาง | ราชาสวรรค์ |
사천왕 | ซาชอนวาง | สี่ราชาสวรรค์ | |
ภาษาญี่ปุ่น | 四天王 | ชิเท็นโน | สี่ราชาสวรรค์ |
ภาษาเวียดนาม | 四天王 Tứ Thiên Vương |
ตื่อเทียนเวือง | สี่ราชาสวรรค์ |
ภาษาทิเบต | རྒྱལ༌ཆེན༌བཞི༌ | rgyal chen bzhi (กเย เชน ฌี) | สี่มหาราช |
ภาษามองโกล | Махаранз | maharanja | (สี่) มหาราช |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
จาตุมหาราชแต่ละองค์ได้แก่
- ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์
- ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์
- ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองนาค
- ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์
-
ท้าวเวสสุวัณโลกบาลประจำทิศเหนือ
-
ท้าววิรุฬหก โลกบาลประจำทิศใต้
-
ท้าวธตรฐ โลกบาลประจำทิศตะวันออก
-
ท้าววิรูปักษ์ โลกบาลประจำทิศตะวันตก
ในภาษาต่าง ๆ เรียกชื่อของเทพทั้งสี่องค์ดังนี้
ภาษาไทย | ท้าวเวสวัณ | ท้าววิรุฬหก | ท้าวธตรฐ | ท้าววิรูปักษ์ |
ภาษาสันสกฤต | वैश्रवण (कुबेर) ไวศฺรวณ (กุเพร) |
विरूढक วิรูฒก |
धृतराष्ट्र ธฤตราษฺฏฺร |
विरूपाक्ष วิรูปากฺษ |
ภาษาบาลี | वेस्सवण (कुवेर) เวสฺสวณ (กุเวร) |
विरूळ्हक วิรูฬฺหก |
धतरट्ठ ธตรฏฺฐ |
विरूपक्ख วิรูปกฺข |
ความหมาย | ผู้สดับในสรรพสิ่ง | He who enlarges | ผู้ธำรงรัฐ | ผู้แลเห็นสรรพสิ่ง |
ผู้พิทักษ์ขุมทรัพย์ | ผู้ดูแลแผ่นดิน | |||
ภาษาพม่า | ကုဝေရ | ဝိရဠက | ဓတရဌ | ဝိရုပက္ခ |
ภาษาจีน | 多聞天王 / 多闻天王 ตัวเหวินเทียนหวัง |
增長天王 / 增长天王 เจิงจ่างเทียนหวัง |
持國天王 / 持国天王 ฉือกั๋วเทียนหวัง |
廣目天王 / 广目天王 กว่างมู่เทียนหวัง |
毗沙門天 / 毗沙门天 | 留博叉天 / 留博叉天 | 多羅吒天 / 多罗吒天 | 毗琉璃天 / 毗琉璃天 | |
ภาษาเกาหลี | 다문천왕 ดามุนชอนวาง |
증장천왕 จึงจางชอนวาง |
지국천왕 จีกุกชอนวาง |
광목천왕 กวางมกชอนวาง |
ภาษาญี่ปุ่น | 多聞天 (毘沙門天) ทะมงเท็น (บิชะมงเท็น) |
増長天 โซโจเท็น, โซโชเท็น |
持国天 / 治国天 จิโกะกุเท็น |
広目天 โคโมะกุเท็น |
ภาษาเวียดนาม | Đa Văn Thiên | Tăng Trưởng Thiên | Trì Quốc Thiên | Quảng Mộc Thiên |
ภาษาทิเบต | rnam.thos.sras (นัมเทอเซ) | 'phags.skyes.po (พักเยโป) | yul.'khor.srung (ยือโคร์ซุง) | spyan.mi.bzang (เชนมีฌัง) |
-
ทะมงเท็น (ท้าวเวสสุวัณ) โลกบาลประจำทิศเหนือ
-
โซโจเท็น (ท้าววิรุฬหก) โลกบาลประจำทิศใต้
-
โคโมะกุเท็น (ท้าววิรูปักษ์) โลกบาลประจำทิศตะวันตก
-
จิโกะกุเท็น (ท้าวธตรฐ) โลกบาลประจำทิศตะวันออก
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ปฏิมากรรม ท้าวเวสสุวัณ กายสีทอง ปกป้องทิศเหนือ
-
ปฏิมากรรม ท้าวเวสสุวัณ กายสีทอง ปกป้องทิศเหนือ
-
ปฏิมากรรม ท้าววิรุฬหก กายสีฟ้า ปกป้องทิศใต้
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 316. ISBN 978-616-7073-80-4
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ. "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 104
- ↑ อุโปสถสูตร หน้า 195 เล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย
- บรรณานุกรม
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- Chaudhuri, Saroj Kumar. Hindu Gods and Goddesses in Japan. New Delhi: Vedams eBooks (P) Ltd., 2003. ISBN 8179360091.
- Nakamura, Hajime. Japan and Indian Asia: Their Cultural Relations in the Past and Present. Calcutta: Firma K.L. Mukhopadhyay, 1961. Pp. 1–31.
- Potter, Karl H., ed. The Encyclopedia of Indian Philosophies, volume 9. Delhi: Motilal Banarsidass, 1970–. ISBN 8120819683, ISBN 8120803078 (set).
- Thakur, Upendra. India and Japan: A Study in Interaction During 5th cent.–14th cent. A.D.. New Delhi: Abhinav Publications, 1992. ISBN 8170172896. Pp. 27–41.