สติ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เป็นส่วนหนึ่งของ |
ธรรมะหนทางสู่การรู้แจ้ง |
---|
![]() |
สติ (mindfulness) หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ การฉุกคิดขึ้นได้ หรือการคุมจิตไว้ในกิจ
ความหมายในศาสนาพุทธ[แก้]
สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง และยังมีอีกหลายความหมาย เช่น กำหนดรู้ ตระหนักรู้ ระลึกรู้ สัมผัสรู้ รู้สึกตัว และอื่นๆ ที่ใช้ในความหมายการทำความกำหนดรู้สึกตัวในปัจจุบันต่อผัสสะใดๆ
สัมมาสติ[แก้]
สัมมาสติ เป็นคุณธรรมที่อาศัยปัจจัยในการเกิด ทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเจริญวิปัสสนา การฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตร การทำสมาธิ หรือการสวดมนต์ ภาวนา การกระทำเหล่านี้คือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6
อ้างอิง[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับศาสนานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา |