พระทุรคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทุรคา)
พระทุรคา
เทวมารดา
เทวีแห่งพลังอำนาจและการปกป้อง
จิตรกรรมยุคศตวรรษที่ 18 แสดงภาพพระทุรคาปราบมหิษาสูร
ชื่ออื่นอาทิศักติ, มหิษาสูรมรรทินี, ภควตี, ภวนี, ชคทัมพา, กาตยายนี
ชื่อในอักษรเทวนาครีदुर्गा
ส่วนเกี่ยวข้องเทวี, พระกาลี, มหาเทวี, ลัทธิศักติ, นวทุรคา, พระปารวตี,กัณเฑศวรี, พระแม่ชคัทธาตรี, เกาศิกี หรือ อัมพิกา ไวษโณเทวี
ที่ประทับมณีทวีป, เขาไกรลาศ
มนตร์โอม ศรี ทุรคายะ นะมะห์[1]
อาวุธสุทรรศนจักร, หอยสังข์, ตรีศูล, คฑา, ธนู, ดาบ ขัณฑา, ปัทมะ
วันวันศุกร์
พาหนะสิงโต, เสือ[2][3]
คัมภีร์เทวีภควตปุราณะ, เทวีมหัตมยะ, กลิกปุราณะ, ศักติอุปนิษัท, ตันตระ
เทศกาลทุรคาบูชา, ทุรคาษฏมี, นวราตรี, วิชัยทัศมี, บาตูกัมมา, ตีจ, กาลีบูชา
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น

พระทุรคา (สันสกฤต: दुर्गा, IAST: Durgā) เป็นเทวีองค์สำคัญในศาสนาฮินดู บูชาในฐานะปางหลักหนึ่งของมหาเทวี ถือว่าพระทุรคาเป็นเทวีแห่งการปกปักรักษา, พลังอำนาจ, ความเป็นมารดา, การทำลายล้าง และการสงคราม[5][6][7]

ตำนานพระทุรคามีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การรบของพระนางกับอสูรและพลังอำนาจชั่วร้ายที่เป็นภัยแก่ความสงบสันติ ความเจริญ และธรรม พระนางจึงเป็นภาพแทนของความดีชนะความชั่วร้าย[6][8] เชื่อกันว่าพระทุรคาจะปลดปล่อยความเกรี้ยวกราดของพระนาง (divine wrath) ต่อผู้ที่มีจิตใจชั่วร้าย หรือเพื่อการปลดปล่อยผู้ที่ถูกกดขี่ และนำมาสู่การทำลายล้างเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์[9] พระทุรคาถูกมองว่าเป็นเทวมารดาและมักแสดงในรูปสตรีรูปงามขี่เสือหรือสิงโต มีมือจำนวนมากถืออาวุธครบมือ และมักแสดงพระนางมีชัยเหนืออสูร[3][10][11][12] มีการบูชาพระนางอย่างกว้างขวางในลัทธิศักติ ซึ่งเป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่บูชาเทวสตรีเป็นหลัก และยังคงความสำคัญในนิกายอื่นเช่นลัทธิไศวะและลัทธิไวษณพ[8][13]

คัมภีร์เล่มที่สำคัญที่สุดของนิกายศักติ เทวมหัตมยะ และเทวีภควตปุราณะ สรรเสริญเทวีในฐานะผู้สร้างสรรค์จักรวาลแรกเริ่ม และในฐานะพรหมัน หรือความสัตย์จริงสูงสุด[14][15][16] พระทุรคาถือเป็นหนึ่งในห้าเทพเจ้าที่มีศักดิ์เทียมกันในคติปัญจยาตนบูชาของธรรมเนียมสมารตะ[17][18] มีการบูชาพระทุรคาเป็นพิเศษหลังการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลเช่นทุรคาบูชา, ทุรคาษฏมี, วิชัยทัศมี, ทีปาวลี และ นวราตรี[19][20]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Dharm News Article by Punjab Kesari". Punjab Kesari (ภาษาฮินดี). 9 April 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 28 April 2022.
  2. Robert S Ellwood & Gregory D Alles 2007, p. 126.
  3. 3.0 3.1 Wendy Doniger 1999, p. 306.
  4. Singh, Moirangthem Kirti (1998). "Recent Researches in Oriental Indological Studies: Including Meiteilogy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2021. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
  5. Encyclopedia Britannica 2015.
  6. 6.0 6.1 David R Kinsley 1989, pp. 3–4.
  7. Charles Phillips, Michael Kerrigan & David Gould 2011, pp. 93–94.
  8. 8.0 8.1 Paul Reid-Bowen 2012, pp. 212–213.
  9. Laura Amazzone 2012, pp. 3–5.
  10. David R Kinsley 1989, pp. 3–5.
  11. Laura Amazzone 2011, pp. 71–73.
  12. Donald J LaRocca 1996, pp. 5–6.
  13. Lynn Foulston & Stuart Abbott 2009, pp. 9–17.
  14. June McDaniel 2004, pp. 215–216.
  15. David Kinsley 1998, pp. 101–102.
  16. Laura Amazzone 2012, p. xi.
  17. Flood 1996, pp. 17, 153.
  18. "Panch Dev Puja Worship". ABP (ภาษาฮินดี). 17 November 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 17 July 2022.
  19. James G Lochtefeld 2002, p. 208.
  20. Constance Jones & James D Ryan 2006, pp. 139–140, 308–309.

บรรณานุกรม[แก้]