พระภูมิ
พระภูมิเจ้าที่ | |
---|---|
เทวดาผู้พิทักษ์สถานที่ | |
เจว็ดพระเทเพน หรือ พระเยาวะแผ้ว ศิลปะต้นรัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร | |
เป็นที่บูชาใน | ศาสนาผี ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูแบบไทย |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทพารักษ์ รุกขเทวดา ครามเทวตา พระเสื้อเมือง |
อาวุธ | พระขรรค์และอาวุธ ตามประติมานวิทยาแต่ละองค์ |
พาหนะ | ช้าง ม้า วัว ควาย |
เป็นที่นับถือใน | ไทย กัมพูชา ลาว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ชายา/พระภูมิสตรีทั้งเก้า |
บิดา-มารดา |
|
พระภูมิ หรือ พระภูมิเจ้าที่ (บาลี: ภุมฺมเทว) เป็นเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ต่าง ๆ[1] ซึ่งไม่รวมรุกขเทวดาอื่น ๆ[2] หากสิงสถิตอยู่หรือเป็นเจ้าของหรือเป็นใหญ่ในที่ใด ก็จะเรียกเป็น เจ้าที่, เจ้าท่า, เจ้าป่า หรือเจ้าเขา เป็นต้น[2] หน้าที่ของพระภูมิ คือเพื่อปกปักรักษา ปกป้องดูแล บ้านเรือน เคหสถาน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งเรือกสวนไร่นา[2] ตามความเชื่อของคนไทยในทุกภาคของประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณและยึดถือปฏิบัติบูชาสืบต่อกันมาช้านานจวบจนปัจจุบัน โดยมีศาลพระภูมิ ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญและสักการะ หรือบุคคลสำคัญทางศาสนา[3]
ความเชื่อของพระภูมิมาจากศาสนาผี อันเป็นประเพณีธรรมเนียมพื้นเมืองแบบวิญญาณนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนการเข้ามาของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู เมื่อพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูเข้ามาได้มีการผสมผสานในความเชื่อดั้งเดิม
เชื่อว่าพระภูมิมีอยู่ 9 องค์ ซึ่งแต่ละองค์มีบทบาทและหน้าที่รักษาสถานที่ต่างกันไป โดยประมุขของพระภูมิเจ้าที่นั้นคือเจ้ากรุงพาลี ซึ่งเป็นเทวดาในศาสนาฮินดู[4][5][6]
รายนามพระภูมิทั้ง 9
[แก้]ลักษณะของพระภูมิในประติมานวิทยาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จะทรงฉลองพระองค์อย่างพระมหากษัตริย์ไทย ทรงสวมชฎา สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล, ปั้นเหน่ง และพาหุรัด สวมฉลองฉลองพระบาทเชิงงอนอันแสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยและความสูงศักดิ์[7][8][9]
นามพระภูมิบุรุษ | นามชายาพระภูมิ หรือ พระภูมิสตรี | เทพอาวุธสัญญาลักษณ์พระภูมิบุรุษ | เทพอาวุธสัญญาลักษณ์ชายาพระภูมิ หรือ พระภูมิสตรี | บทบาทและสถานที่รักษา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พระชัยมงคล | นางภูมไชยา หรือ ภูมชายา | หัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน หัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ซ้ายทรงดอกบัวตูม หัตถ์ขวาทรงไถ้ (ถุงมีสายหิ้งมีฝาปิด) (พระภูมิสตรี) | ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่าง ๆ | นิยมบูชาตามบ้านเรือนและพระราชวังทั่วไป. |
พระนครราช หรือ พระธรรมโหรา | นางภูมมาลา | หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพุ่มกอไม้ หรือ ช่อดอกไม้ (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาทรงปุษษะมาลา (พวงมาลัย) หัตถ์ซ้ายทรงไม้พลองห้อยลง (พระภูมิสตรี) | ดูแลปกครองป้อม, ค่าย, ประตูเมือง, หอรบและบันไดต่าง ๆ | ได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งในเทพารักษ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
พระเทเพน หรือ พระเยาวะแผ้ว | นางทิพมาลี | หัตถ์ขวาทรงหอกสั้น หรือ พระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงคัมภีร์ (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาทรงปาศะ (เชือก) หัตถ์ซ้ายทรงกำหญ้า (พระภูมิสตรี) | ดูแลฟาร์ม, ไร่และคอกสัตว์ต่าง ๆ | |
พระชัยศพณ์ หรือ พระสัพพคนธรรพ์ | นางศรีประภา | หัตถ์ขวาทรงแสงหอกยาว หัตถ์ซ้ายทรงวางไว้ข้างองค์ (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาทรงคะนาน หัตถ์ซ้ายทรงย่าม (พระภูมิสตรี) | ปกครองดูแลเสบียง, คลังและยุ้งฉางต่าง ๆ | มีหน้าที่ลักษณะเดียวกับพระไพรศพณ์และแม่พระโพสพ |
พระคนธรรพ์ | นางสุปริยา | หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงหม้อกุมภะ (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาทรงหม้อกุมภะ หัตถ์ซ้ายทรงช่อดอกกุหลาบ (พระภูมิสตรี) | โรงพิธีงาน โรงพิธีแต่งงาน เรือนหอ สถานที่จัดงานมงคล | |
พระธรรมโหรา หรือ พระนาคราช | นางขวัญข้าวกร้า | หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงรวงข้าว (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาทรงเคียว หัตถ์ซ้ายทรงรวงข้าว (พระภูมิสตรี) | เรือกสวนไร่นา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ | |
พระเทวเถร หรือ พระวัยทัต | นางดอกไม้ทอง | หัตถ์ขวาทรงปฏัก หัตถ์ซ้ายทรงวางไว้ข้างองค์ (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาทรงดอกพุทธรักษาเคียว หัตถ์ซ้ายทรงธูปเทียน (พระภูมิสตรี) | ครองวัดวาอาราม ปูชนียสถาน พระเจดีย์ พระพุทธรูปสำคัญ | |
พระพระธรรมิกราช | นางพุ่มไม้ไพร | หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงปุษษะมาลา (พวงมาลัย) (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาทรงหวีกล้วย หัตถ์ซ้ายทรงดอกแคและดอกตูม (พระภูมิสตรี) | พืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ | |
พระทาษธารา หรือ พระธาตุธาร, ทาสธารา | นางรินระรื่น | หัตถ์ขวาถือหอกสั้น หัตถ์ซ้ายวางไว้ข้างองค์ (พระภูมิบุรุษ) |
หัตถ์ขวาถือดอกบัวบาน หัตถ์ซ้ายถือหอยยอด หรือหอยสังข์ (พระภูมิสตรี) | ปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง, คลอง และลำธารต่าง ๆ ตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า แม่น้ำทะเล |
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 581
- ↑ 2.0 2.1 2.2 เสฐียรโกเศศ. ผีสางเทวดา. กรุงเทพฯ:เอเธนส์บุ๊คส์. 1997, หน้า 9
- ↑ Riffard, Pierre A. (2008). Nouveau dictionnaire de l'ésotérisme. Paris, FR: Payot. pp. 114–115, 136–137.
- ↑ William Henry Scott (1994). Barangay: Sixteenth Century Philippine Culture and Society. Quezon City: Ateneo de Manila University Press. ISBN 9715501354.
- ↑ A. L. Kroeber (1918). "The History of Philippine Civilization as Reflected in Religious Nomenclature". Anthropological Papers of the American Museum of Natural History. XXI (Part II): 35–37.
- ↑ Fay-Cooper Cole & Albert Gale (1922). "The Tinguian; Social, Religious, and Economic life of a Philippine tribe". Field Museum of Natural History: Anthropological Series. 14 (2): 235–493.
- ↑ รู้จักกับ-“พระภูมิทั้ง-9”-คู่บ้าน-คู่เมืองชาวสยาม!-เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา-บูชาตามประเพณี-คุ้มครองป้องภัย-พลิกร้ายกลายดี
- ↑ ศาลพระภูมิ / อาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู
- ↑ "รายนามพระภูมิทั้ง 9" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2022-06-04.