พระวัชรสัตว์
พระวัขรสัตว์ | |
---|---|
สันสกฤต | वज्रसत्त्व
Vajrasatva |
จีน | 金剛薩埵菩薩
(Pinyin: Jīngāng Sàduǒ Púsà) |
ญี่ปุ่น | 金剛薩埵菩薩
(romaji: Kongōsatta Bosatsu) |
เขมร | វជ្រសត្វ (vach-cha-sat) |
เกาหลี | 금강살타보살
(RR: Geumgang Salta Bosal) |
มองโกเลีย | Доржсэмбэ |
ไทย | พระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ |
ทิเบต | རྡོ་རྗེ་སེམས་དཔའ་ Wylie: rdo rje sems dpa' THL: Dorje Sempa རྡོར་སེམས་ THL: Dorsem |
เวียดนาม | Kim Cang Tát Đỏa Bồ Tát |
ข้อมูล | |
นับถือใน | มหายาน, วัชรยาน |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัชรสัตว์ (สันสกฤต: वज्रसत्त्व, Tibetan: རྡོ་རྗེ་སེམས་དཔའ། Dorje Sempa, รูปย่อ: རྡོར་སེམས། Dorsem)[1] เป็นพระโพธิสัตว์ในคติศาสนาพุทธมหายานและวัชรยาน ที่ปรากฏในวรรณกรรมพุทธมากมาย ในประเด็นหลักของพระสูตรเช่น ไวโรจนาภิสัมโพธิสูตร, วัชรเศขรสูตร และ นวยูหสูตร ในพระไตรปิฎกญิงมา และในวรรณกรรมซ็อกเซ็นมากมาย เช่น กุลยราชตันตระ และ พระสูตรกระจกหทัยพระวัชรสัตว์
ในศาสนาพุทธแบบจีนและชินกง ตามธรรมเนียมมองว่าพระวัชรสัตว์เป็นพระสังฆาจารย์ลำดับที่สอง รองจากพระไวโรจนพุทธเจ้าตามตำนานของคุไคเล่าเรื่องอ้างบันทึกของพระอโมฆวัชระว่า พระนาคารชุนพบพระวัชรสัตย์ในเสาเหล็กแห่งหนึ่งในอินเดียใต้ และประกอบพิธีอภิเษกให้พร้อมส่งมอบคำสอนที่เรียนรู้จากพระไวโรจนะในพระมหาไวโรจนสูตร กระนั้นคุไคไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดใดเกี่ยวกับพระวัชรสัตว์อีก[2]
มนตร์สำคัญขอบพระวัชรสัตว์คือมนตร์ร้อยพยางค์ (หรือ พระคาถาร้อยคำ) ซึ่งปรากฏใน สรวตถาคต-ตัตตวสังครห์[3] ซึ่งปรากฏหลักฐานเก่าแก่ที่สุดในรูปของบทรวมมนตร์แปลภาษาจีนของพระวัชรโพธิ (ประมาณปี 671–741) จากปี 722[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rangjung Yeshe Dictionary Page". Rywiki.tsadra.org. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
- ↑ Abe, Ryuichi (1999). The Weaving of Mantra: Kukai and the Construction of Esoteric Buddhist Discourse. Columbia University Press. ISBN 0-231-11286-6.
- ↑ Jayarava (2011). Visible Mantra: Visualising & Writing Buddhist Mantras, p. 85. Lulu.com.
- ↑ "Jayarava's Raves: Canonical Sources for the Vajrasattva Mantra". Jayarava's Raves. 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ 2023-04-07.