พระวัชรปาณีโพธิสัตว์
วัชรปาณี | |
---|---|
เทวรูปพระวัชรปาณีที่สังฆารามเดรปุงในทิเบต | |
สันสกฤต | वज्रपाणि
Vajrapāṇi |
บาลี | वजिरपाणि
Vajirapāṇi |
จีน | 金剛手菩薩 (Pinyin: Jīngāngshǒu Púsà) |
ญี่ปุ่น | 金剛手菩薩 (romaji: Kongōshu Bosatsu) |
เขมร | វជ្របាណិ (vach-cheak-baa) |
เกาหลี | 금강수보살 (RR: Geumgangsu Bosal) |
ไทย | พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ |
ทิเบต | ཕྱག་ན་རྡོ་རྗེ་ Wylie: phyag na rdo rje THL: chak na dorje |
เวียดนาม | Kim Cương Thủ Bồ Tát |
ข้อมูล | |
นับถือใน | เถรวาท, มหายาน, วัชรยาน |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พระโพธิสัตว์วัชรปาณี หรือ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ (สันสกฤตและบาลี: Vajirapāṇi, แปลว่า "[ผู้มี]วัชระ[ใน]มือ") เป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในธรรมเนียมมหายาน เชื่อว่าเป็นผู้ปกป้องและผู้นำทางของพระโคตมพุทธเจ้า
ปรากฏพระวัชรปาณีมากในประติมานวิทยาพุทธเป็นหนึ่งในสามเทวดาหรือพระโพธิสัตว์ผู้ปกป้องหรือรายล้อมพระพุทธเจ้าที่ปรากฏทั่วไปและเก่าแก่ที่สุด โดยแต่ละองค์เป็นตัวแทนของอำนาจของพระพุทธเจ้าที่ต่างกัน คือ พระมัญชุศรีแทนปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งปวง, พระอวโลกิเตศวรแทนเมตตาของพระพุทธเจ้าทั้งปวง และพระวัชรปาณีปกป้องและแทนพลังอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้งปวง[1] และปัญจตถาคต[2]
พระวัชรปาณีเป็นหนึ่งในธรรมปาละ (ธรรมบาล) ตามคติมหายาน รวมถึงปรากฏเป็นเทวดาในพระไตรปิฎกภาษาบาลีตามคติเถรวาท นอกจากนี้ยังปรากฏการบูชาในสังฆารามเส้าหลิน, พุทธแบบทิเบต และนิกายสุขาวดี โดยทั่วไปมักพบพระวัชรปาณีในฐานะผู้พิทักษ์ธรรม (ธรรมบาล) ในสังฆารามของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ประดิษฐานตามประตูทางเข้าออกของวัด นอกจากนี้ยังปรากฏการเกี่ยวข้องกับพระอจละ ในฐานะผู้ถือวัชระ[3]
ศัพทมูล
[แก้]"วัชรปาณี" เป็นคำภาษาสันสกฤต โดย 'วัชร' แปลว่าเพชร (หรือนิยมตีความในฐานะสายฟ้า) และ 'ปาณิ' แปลว่า "[ซึ่งอยู่]ในมือ"[4]
ปางต่าง ๆ
[แก้]พระวัชรปาณีในรูปมนุษย์มักแสดงในรูปถือวัชระในมือขวา บางครั้งปรากฏเรียกว่าพระฌานิโพธิสัตว์ ซึ่งเทียบเท่าพระอักโษกภัย พระฌานิพุทธะองค์ที่สอง ส่วนปางปรากฏในรูปพระอาจารย-วัชรปาณี (Acharya-Vajrapani) เป็นปางหลัก ซึ่งเป็นพระวัชรปาณีในฐานะธรรมบาล (ผู้ปกป้องธรรม) โดยทั่วไปปางนี้มักแสดงดวงตาที่สาม, ฆัณฏา (กระดิ่ง) และ ปาศ (บ่วง) บางครั้งปรากฏในรูปพระนิลัมพร-วัชรปาณี (Nilambara-Vajrapani) ในรูปยิดัม หนึ่งศีรษะและสี่มือ ถือวัชระ และย่ำบนตัวบุคคลที่นอนบนงู ส่วนพระมหาจักร-วัชรปาณี (Mahacakra-Vajrapani) มักแสดงในรูปยิดัมเช่นกัน แต่มีสามศีรษะและหกแขน ถือวัชระและงูในขณะที่ย่ำบนพระพรหม และ พระศิวะ หากปรากฏร่วมกับรูปสตรีจะปรากฏในรูปของยับ-ยุม พระอจละ-วัชรปาณี (Acala-Vajrapani) ปรากฏเป็นรูปมีสี่ศีรษะ สี่แขน และสี่ขา ถือดาบ บ่วง และวัชระ ย่ำอยู่บนปิศาจ นอกจากนี้ยังปรากฏรูปปางที่คล้ายกับครุฑ[5]
อารมณ์แสดงของพระวัชรปาณีมักออกมาในรูปของความเกรี้ยวกราด และมักถูกแทนเชิงสัญลักษณ์เป็นยักษ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "ความกลัวในปัจเจกเพื่อสลายความหยิ่งยโสในตัว"[6] มือขวาที่ยื่นออกไปกวัดแกว่งวัชระเป็นสัญลักษณ์แทน "ความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว (ญาณวัชระ) ซึ่งจะทำลายความโลภ"[7] นอกจากนี้ยังอาจพบปรากฏสวมมงกุฎกะโหลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักพบสวมมงกุฎโพธิสัตว์ห้ายอด เป็นสัญลักษณ์แทนพลังอำนาจของพระฌานิพุทธะทั้งห้าองค์[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Santangelo (2013), pp. 217–218 footnotes.
- ↑ Linrothe (1999), p. 157.
- ↑ Getty (1928), p. 34.
- ↑ Santangelo (2013), p. 217 footnotes.
- ↑ Getty (1988), p. 50.
- ↑ Kalupahana (1992), p. 220.
- ↑ Kalupahana (1992), p. 219.
- ↑ Leviton (2012), p. 232.
บรรณานุกรม
[แก้]- Jerry H. Bentley, "Old World Encounters. Cross-cultural contacts and exchanges in pre-modern times" (Oxford University Press, 1993) ISBN 0-19-507639-7
- John Boardman, "The Diffusion of Classical Art in Antiquity" (Princeton University Press, 1994) ISBN 0-691-03680-2
- Osmund Bopearachchi, Christine Sachs, "De l'Indus à l'Oxus, Archéologie de l'Asie Centrale", ISBN 2-9516679-2-2
- Brancaccio, Pia (17 December 2010). The Buddhist Caves at Aurangabad: Transformations in Art and Religion. BRILL. ISBN 90-04-18525-9.
- Davidson, Ronald M. (2012). Indian Esoteric Buddhism: A Social History of the Tantric Movement. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-50102-6.
- DeCaroli, Robert (2004). Haunting the Buddha : Indian Popular Religions and the Formation of Buddhism: Indian Popular Religions and the Formation of Buddhism. Oxford University Press, USA. ISBN 978-0-19-803765-1.
- Richard Foltz, Religions of the Silk Road, 2nd edition (Palgrave Macmilla, 2010) ISBN 978-0-230-62125-1
- Getty, Alice (1928). The Gods of Northern Buddhism: Their History and Iconography. Courier Corporation. ISBN 978-0-486-25575-0.
- Getty, Alice (1988). The Gods of Northern Buddhism: Their History and Iconography. Courier Corporation. ISBN 978-0-486-25575-0.
- Kalupahana, David (1992). A History of Buddhist Philosophy: Continuities and Discontinuities. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1402-1.
- Leviton, Richard (August 2012). My Pal, Blaise: Notes on a 60-Billion-Year Friendship. iUniverse. ISBN 978-1-4759-4809-7.
- Linrothe, Robert N. (1999). Ruthless Compassion: Wrathful Deities in Early Indo-Tibetan Esoteric Buddhist Art. Serindia Publications, Inc. ISBN 978-0-906026-51-9.
- Power, Richard (20 September 2013). The Lost Teachings of Lama Govinda: Living Wisdom from a Modern Tibetan Master. Quest Books. pp. harv. ISBN 978-0-8356-3064-1.
- Santangelo, Paolo (9 July 2013). Zibuyu, “What The Master Would Not Discuss”, according to Yuan Mei (1716 - 1798): A Collection of Supernatural Stories (2 vols). BRILL. ISBN 978-90-04-21628-0.
- Shahar, Meir (2008). The Shaolin Monastery: History, Religion, and the Chinese Martial Arts. Honolulu, HI: University of Hawai'i Press. ISBN 978-1-4356-6648-1. OCLC 259735411.
- "Alexander the Great: East-West Cultural contacts from Greece to Japan" (NHK and Tokyo National Museum, 2003)
- Tarn, William Woodthorpe (1966). The Greeks in Bactria and India. Cambridge University Press. ISBN 978-1-108-00941-6.
- Vessantara (1993). Meeting the Buddhas: A Guide to Buddhas, Bodhisattvas, and Tantric Deities. Windhorse. ISBN 978-0-904766-53-0.
- "The Crossroads of Asia, Transformation in image and symbols", 1992, ISBN 0-9518399-1-8