ศาสนาพุทธตามประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัตราร้อยละของพุทธศาสนิกชนแบ่งตามประเทศ จากสำนักวิจัยพิว

รายชื่อ ศาสนาพุทธตามประเทศ นี้แสดงถึงการกระจายตัวของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งในคริสต์ทศวรรษ 2010 มีจำนวนประมาณ 500 ล้านคน[4] และเป็นตัวแทนประชากรโลกรวมร้อยละ 7 ถึง 8

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือส่วนใหญ่ในประเทศภูฏาน, พม่า, กัมพูชา, ฮ่องกง,[5] ญี่ปุ่น,[6] ทิเบต, ลาว, มาเก๊า,[7] มองโกเลีย, สิงคโปร์,[8] ศรีลังกา, ไทย และเวียดนาม[9] ประชากรชาวพุทธจำนวนมากอาศัยอยู่ในประเทศจีน, ไต้หวัน, เกาหลีเหนือ, เนปาล และเกาหลีใต้ ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุด โดยมีผู้นับถือประมาณ 244 ล้านคน หรือร้อยละ 18.2 ของประชากรทั้งประเทศ[1]

มากกว่าครึ่งหนึ่งของพุทธศาสนิกชนในโลก โดยเฉพาะในบริเวณเอเชียตะวันออก นับถือนิกายมหายาน[1] รองลงมาคือนิกายเถรวาท ซึ่งมีผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] อันดับที่ 3 คือนิกายวัชรยาน ที่มีผู้นับถือส่วนใหญ่ในประเทศทิเบต, ภูมิภาคหิมาลัย, ประเทศมองโกเลีย และบางส่วนของประเทศรัสเซีย[1] แต่ก็มีผู้นับถือกระจายอยู่ทั่วโลก นิกายที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 4 คือนวยาน ซึ่งมีผู้นับถือส่วนใหญ่ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย[10][11]

ตามข้อมูลจากปีเตอร์ ฮาร์วีย์ นักวิชาการชาวสหราชอาณาจักร จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธแบบตะวันออก (มหายาน) มี 360 ล้านคน ศาสนาพุทธแบบใต้ (เถรวาท) มี 150 ล้านคน และศาสนาพุทธแบบเหนือ (วัชรยาน) มี 18.2 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีชาวพุทธอีก 7 ล้านคนอาศัยอยู่นอกทวีปเอเชีย[3]

ตามภูมิภาค[แก้]

ศาสนาพุทธตามภูมิภาคใน ค.ศ. 2010[1]
ภูมิภาค ประชากรรวมโดยประมาณ พุทธศาสนิกชนโดยประมาณ ร้อยละ
เอเชียแปซิฟิก 4,054,990,000 481,290,000 11.9%
อเมริกาเหนือ 344,530,000 3,860,000 1.1%
ยุโรป 742,550,000 1,330,000 0.2%
ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ 341,020,000 500,000 0.1%
ลาตินอเมริกา-แคริบเบียน 590,080,000 410,000 <0.1%
รวม 6,895,890,000 487,540,000 7.1%

ประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุด 10 ประเทศแรก[แก้]

ประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุดใน ค.ศ. 2010 ตามรายงานจากสำนักวิจัยพิว[1]
ประเทศ พุทธศาสนิกชนโดยประมาณ ร้อยละของประชากรทั้งหมดในประเทศ ร้อยละของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
จีน 244,130,000 18.2% 50.1%
ไทย 64,420,000 93.2% 13.2%
ลาว 66.0%
ญี่ปุ่น 45,820,000 36.2% 9.4%
พม่า 38,410,000 87.90% 7.9%
ศรีลังกา 14,450,000 69.3% 3.0%
เวียดนาม 14,380,000 16.4% 2.9%
กัมพูชา 13,690,000 96.9% 2.8%
เกาหลีใต้ 11,050,000 22.9% 2.3%
อินเดีย 9,250,000 0.8% 1.9%
มาเลเซีย 5,010,000 19.8% 1.0%
ผลรวมย่อยจาก 11 ประเทศ 460,620,000 (ร้อยละของประชากรรวม 10 ประเทศ) 15.3% 94.5%
ผลรวมย่อยจากส่วนอื่นของโลก 26,920,000 (ร้อยละของประชากรในส่วนอื่นของโลก) 0.4% 5.5%
รวมทั่วโลก 487,540,000 7.1% 100%

ดูเพิ่ม[แก้]

ศาสนาอื่น ๆ:

ทั่วไป:

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Global Religious Landscape: Buddhists". Pew Research Center. December 18, 2012.
  2. Johnson, Todd M.; Grim, Brian J. (2013). The World's Religions in Figures: An Introduction to International Religious Demography (PDF). Hoboken, NJ: Wiley-Blackwell. pp. 34–37. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2013.
  3. 3.0 3.1 Harvey, Peter (2013). An Introduction to Buddhism: Teachings, History and Practices (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 5. ISBN 9780521676748. สืบค้นเมื่อ 2 September 2013.
  4. ค่าประมาณ ได้แก่: 488 ล้านคน (Pew 2012),[1] 495 ล้านคน (Johnson & Grim 2013),[2] และ 535 ล้านคน (Harvey 2013)[3]
  5. Planet, Lonely. "Religion & Belief in Hong Kong, China". Lonely Planet (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  6. "ASIA SOCIETY: THE COLLECTION IN CONTEXT". www.asiasocietymuseum.org. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  7. "Religion in Macau - Festivals and Places of Worship - Holidify". www.holidify.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  8. Kuah, Khun Eng (1991). "State and Religion: Buddhism and NationalBuilding in Singapore". Pacific Viewpoint (ภาษาอังกฤษ). 32 (1): 24–42. doi:10.1111/apv.321002. ISSN 2638-4825.
  9. "Vietnam Buddhism".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Manu Moudgil, Dalits Are Still Converting to Buddhism, but at a Dwindling Rate, The Quint, 17.06.17". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
  11. Moudgil, Manu. "Conversion To Buddhism Has Brought Literacy, Gender Equality And Well-Being To Dalits – IndiaSpend-Journalism India -Data Journalism India-Investigative Journalism-IndiaSpend". www.indiaspend.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-15. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.