นวยาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปและรูปเคารพของภีมราว รามชี อามเพฑกร ณ ไจติยภูมิสถูป เมืองมุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย

นวยาน (เทวนาครี: नवयान, Navayāna) แปลว่า "ยาน (พาหนะ) ใหม่" เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ที่เกิดขึ้นจากการตีความศาสนาขึ้นใหม่ของภีมราว รามชี อามเพฑกร (Bhimrao Ramji Ambedkar)[1][2] ผู้มีชาติกำเนิดมาจากชนชั้นทลิต (Dalit, "มิควรข้องแวะ") ในยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคม เขาได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ กระทั่งในปี พ.ศ. 2478 เขามีความประสงค์เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือศาสนาพุทธ[3] อามเพฑกรได้ศึกษาคติและหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเช่นจตุราริยสัจและอนัตตา ซึ่งเขาปฏิเสธความเชื่อเรื่องดังกล่าว แต่ได้นำคำสอนทางศาสนาไปตีความใหม่เรียกว่า นวยาน หรือ "ยานใหม่" แห่งพุทธศาสนา[4] บางแห่งก็เรียกนิกายนี้ว่า ภีมยาน (Bhimayāna) ตามชื่อต้นของอามเพฑกรคือ "ภีมราว"[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อามเพฑกรได้ประกาศละจากนิกายหีนยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู[5][6] ทว่าเขาก็เสียชีวิตลงหลังการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือนวยานได้เพียงหกสัปดาห์[1][4][5]

ด้านขบวนการพุทธศาสนิกชนทลิต (Dalit Buddhist movement) ของประเทศอินเดีย ได้ประกาศให้นวยานเป็นนิกายใหม่ ที่มีหลักธรรมต่างออกไปจากหีนยาน, มหายาน และวัชรยาน[7] โดยนิกายนวยานไม่ต้องบำเพ็ญตนหรือรักษาศีล ปฏิเสธสมณเพศ ไม่เชื่อเรื่องกรรม, สังสารวัฏ, วิปัสสนา, นิพพาน และอริยสัจ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานของพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ[8] ถือเป็นการตีความศาสนาพุทธใหม่[9] แต่จะนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาต่อสู้กับปัญหาเรื่องชนชั้นวรรณะและความเสมอภาคในสังคม[4][10][11]

อามเพฑกรเรียกนิกายนวยานว่า ศาสนาพุทธใหม่ (Neo-Buddhism)[12] และหนังสือ พระพุทธเจ้าและธรรมะของพระองค์ (The Buddha and His Dhamma) ซึ่งเขียนโดยอามเพฑกร ถือเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของชาวนวยาน[13]

จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรอินเดีย พ.ศ. 2554 พบว่ามีพุทธศาสนิกชนชาวอินเดียจำนวน 8.4 ล้านคน ในจำนวนนี้นับถือนิกายนวยานจำนวน 7.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 87 ของจำนวนพุทธศาสนิกชนทั้งหมดในประเทศ และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐมหาราษฏระจำนวน 6.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 จากจำนวนผู้นับถือนิกายนวยานทั้งหมดในประเทศ[14][15] พุทธศาสนิกชนนิกายนวยานส่วนใหญ่มีทั้งชาวทลิตและคนที่ร่ำรวย มีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 81.29 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศคือร้อยละ 72.98[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Gary Tartakov (2003). Rowena Robinson (บ.ก.). Religious Conversion in India: Modes, Motivations, and Meanings. Oxford University Press. pp. 192–213. ISBN 978-0-19-566329-7.
  2. Christopher Queen (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 524–525. ISBN 978-1-119-14466-3.
  3. Nicholas B. Dirks (2011). Castes of Mind: Colonialism and the Making of Modern India. Princeton University Press. pp. 267–274. ISBN 1-4008-4094-5.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Eleanor Zelliot (2015). Knut A. Jacobsen (บ.ก.). Routledge Handbook of Contemporary India. Taylor & Francis. pp. 13, 361–370. ISBN 978-1-317-40357-9.
  5. 5.0 5.1 Christopher Queen (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 524–529. ISBN 978-1-119-14466-3.
  6. Skaria, A (2015). "Ambedkar, Marx and the Buddhist Question". Journal of South Asian Studies. Taylor & Francis. 38 (3): 450–452. doi:10.1080/00856401.2015.1049726., Quote: "Here [Navayana Buddhism] there is not only a criticism of religion (most of all, Hinduism, but also prior traditions of Buddhism), but also of secularism, and that criticism is articulated moreover as a religion."
  7. Omvedt, Gail. Buddhism in India : Challenging Brahmanism and Caste. 3rd ed. London/New Delhi/Thousand Oaks: Sage, 2003. pages: 2, 3–7, 8, 14–15, 19, 240, 266, 271
  8. Damien Keown; Charles S. Prebish (2013). Encyclopedia of Buddhism. Routledge. p. 25. ISBN 978-1-136-98588-1., Quote: "(...)The Buddhism upon which he settled and about which he wrote in The Buddha and His Dhamma was, in many respects, unlike any form of Buddhism that had hitherto arisen within the tradition. Gone, for instance, were the doctrines of karma and rebirth, the traditional emphasis on renunciation of the world, the practice of meditation, and the experience of enlightenment. Gone too were any teachings that implied the existence of a trans-empirical realm (...). Most jarring, perhaps, especially among more traditional Buddhists, was the absence of the Four Noble Truths, which Ambedkar regarded as the invention of wrong-headed monks".
  9. Bruce Rich (2008). To Uphold the World. Penguin Books. p. 204. ISBN 978-0-670-99946-0., Quote: Ambedkar's interpretation of Buddhism was a radical one; it took a revisionist approach to a number of widely accepted traditional Buddhist teachings".
  10. Damien Keown; Charles S. Prebish (2013). Encyclopedia of Buddhism. Routledge. pp. 24–26. ISBN 978-1-136-98588-1.
  11. Anne M. Blackburn (1993), Religion, Kinship and Buddhism: Ambedkar's Vision of a Moral Community, The Journal of the International Association of Buddhist Studies 16 (1), 1–22
  12. Christopher S. Queen (2000). Engaged Buddhism in the West. Wisdom Publications. p. 23. ISBN 978-0-86171-159-8.
  13. Christopher Queen (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 524–531. ISBN 978-1-119-14466-3.
  14. 14.0 14.1 Moudgil, Manu. "Conversion To Buddhism Has Brought Literacy, Gender Equality And Well-Being To Dalits – IndiaSpend-Journalism India -Data Journalism India-Investigative Journalism-IndiaSpend". www.indiaspend.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-10.
  15. "Dalits Are Still Converting to Buddhism, but at a Dwindling Rate". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29. สืบค้นเมื่อ 2018-10-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นวยาน