พระถังซัมจั๋ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระถังซัมจั๋ง (เสวียนจั้ง)
ภาพของเสวียนจั้ง ของญี่ปุ่นสมัยคามาคุระ (ช่วงศตวรรษที่ 14)
ส่วนบุคคล
เกิด6 เมษายน พ.ศ. 1145
มรณภาพ5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1207 (61 ปี)
Tongchuan, มณฑลส่านซี, ประเทศจีน
ศาสนาพุทธ
สำนักEast Asian Yogācāra
ตำแหน่งชั้นสูง
ศิษย์
พระถังซัมจั๋ง
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน玄奘
Chen Hui[a]
อักษรจีนตัวเต็ม陳褘
อักษรจีนตัวย่อ陈袆
Chen Yi
อักษรจีนตัวเต็ม陳禕
อักษรจีนตัวย่อ陈祎
ชื่อสันสกฤต
สันสกฤตह्यून सान्ग[ต้องการอ้างอิง]

เหี้ยนจึง[1] หรือสำเนียงกลางว่า เสวียนจั้ง (จีน: 玄奘; พินอิน: Xuánzàng; 6 เมษายน พ.ศ. 1145 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1207[2]) หรือที่รู้จักในนิยายไซอิ๋วว่า ถังซัมจั๋ง (จีน: 唐三藏) เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1183 (ค.ศ. 646) มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้" (大唐西游记) แปลว่า "จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" โดยในนั้นเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครอง โดยการเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาและศาสตร์ความรู้ต่างๆที่ทวีปอินเดีย เมื่อเดินทางกลับมาประเทศจีน ได้นำพระสูตรทั้งมหายานและเถรวาทกลับมาด้วยกว่า 600 ม้วน เพื่อกลับมาแปลเป็นภาษาจีน

ประวัติ[แก้]

พระถังซัมจั๋ง มีชื่อเดิมว่า 陈祎 เฉินอี เป็นชาวมณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยได้ติดตามพี่ชายคนที่สอง ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุในเมืองลั่วหยาง และได้รับเลือกให้เป็นนาคหลวง บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี และมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก เมื่อสิ้นราชวงศ์สุย และเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ถังแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย ได้ออกเดินทางเมื่อปี พ.ศ. 1170

พระถังซัมจั๋ง ได้ศึกษาพระธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และจาริกแสวงบุญในอินเดีย นานถึง 11 ปี รวมระยะเวลาไปกลับทั้งสิ้น 19 ปี เป็นระยะทางกว่า 5 หมื่นลี้ ส่งให้จดหมายเหตุชิ้นนี้ของท่านนั้นอุดมไปด้วยข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่แล้วกว่า 138 แว่นแคว้น โดยในจำนวนนี้มี 110 แคว้นที่ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ขณะที่อีก 28 แคว้นนั้นท่านบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้อื่น นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง

พระถังซัมจั๋ง เดินทางกลับจีนพร้อมทั้งนำพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตกลับมาด้วย ท่านเดินทางถึงเมืองหลวงของจีนคือ เมืองฉางอาน ในปี พ.ศ. 1188 ในสมัย พระเจ้าถังไท่จง พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎก จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน และ พระเจ้าถังไท่จงได้ทรงอาราธนาพระถังซัมจั๋งให้เขียนบันทึกการเดินทางไปอินเดีย จึงปรากฏหนังสือเรื่อง ต้าถังซีวีจี้ ในรัชกาลต่อมาพระเจ้าถังเกาจง พระองค์ทรงรับอุปถัมภ์งานแปลพระไตรปิฎกต่อ พระถังซัมจั๋งดำเนินงานต่อไปจนมรณภาพในปี พ.ศ. 1207[3]

พระถังซัมจั๋งในวรรณคดี[แก้]

พระถังซัมจั๋ง ภาคนิยายไซอิ๋ว (西游记) เป็นผู้มีบุญมาเกิด โดยลอยมาตามน้ำ พระภิกษุรูปหนึ่งเก็บได้ และเลี้ยงให้เติบใหญ่ โดยเป็นผู้ที่ใฝ่ในพระธรรมมาตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเติบใหญ่จึงได้บวชเรียน มีชื่อเสียงทางด้านศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งได้รับการอุปถัมภ์จากถังไท่จงฮ่องเต้ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ถัง ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา นับถือเป็นน้องชายบุญธรรม ให้ใช้ชื่อว่า "ถังซัมจั๋ง" และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป อันห่างไกล

ตลอดระยะเวลาการเดินทาง พระถังซัมจั๋ง ต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ เชื่อว่าเนื้อของพระถังซัมจั๋งกินแล้วอายุยืนหมื่นปี พระถังซัมจั๋งจึงมักถูกพวกปีศาจจับตัวบ่อยครั้ง

หมายเหตุ[แก้]

  1. There is some dispute over the Chinese character for Xuanzang's given name at birth. Historical records provide two different Chinese characters, 褘 and 禕, both are similar in writing except that the former has one more stroke than the latter. Their pronunciations in pinyin are also different: the former is pronounced as Huī while the latter is pronounced as . See here and here. (Both sources are in Chinese.)

อ้างอิง[แก้]

  1. คำแปลเรื่อง ไซอิ๋ว ใช้ว่า "เหี้ยนจึง" [พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะศิริ). (2547). ไซอิ๋ว. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา. ISBN 9749207769.]

    "ฝ่ายพระอาจารย์ฮวดเม้ง...เห็นที่ริมฝั่งมีเด็กน้อยนอนอยู่บนแผ่นกระดาน ก็ให้คิดพิศวงประหลาดใจมาก จึงรีบเดินลงไปที่ทารก แก้ผ้าที่รัดเด็กออก จึงเห็นหนังสือฉบับหนึ่งอยู่บนอกเด็ก พระอาจารย์จึงหยิบหนังสือนั้นมาคลี่ออกอ่านดู ก็รู้มูลเหตุของเด็กนั้นทุกประการ จึงอุ้มเด็กนั้นกลับมายังกุฎีโดยความกรุณา ตั้งชื่อให้เรียกว่า กังลิ้ว แปลว่า ลอยคลอง พระอาจารย์จึงเก็บหนังสือฉบับนั้นซ่อนไว้ แล้วจึงสั่งแก่ศิษย์ทั้งหลายให้เลี้ยงเด็ก...ครั้นจำเนียรกาลมา...พระอาจารย์ฮวดเม้งเห็นเด็กกังลิ้วเติบใหญ่ขึ้นแล้ว ก็ให้ปลงผมบวชเป็นหลวงจีน พระอาจารย์ให้นามว่า เหี้ยนจึง..."

  2. Sally Hovey Wriggins. Xuanzang: A Buddhist Pilgrim on the Silk Road. Westview Press, 1996. Revised and updated as The Silk Road Journey With Xuanzang. Westview Press, 2003. ISBN 0-8133-6599-6, pp. 7, 193
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2008-05-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]