บารมี
ส่วนหนึ่งของ |
บารมี |
---|
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
บารมี (บาลี: pāramī, पारमी; สันสกฤต: pāramitā, पारमिता) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง มีความหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด และประการต่อมาหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น[1]
เถรวาท
[แก้]ในนิกายเถรวาทมี 10 อย่าง จึงเรียกว่า ทศบารมี หรือ บารมี ๑๐ คือ กำลังใจที่ต้องทำให้เต็ม ไม่พร่อง
- ทาน การให้
- ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
- เนกขัมมะ การออกจากกาม
- ปัญญา ความรู้
- วิริยะ ความเพียร
- ขันติ ความอดทนอดกลั้น
- สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
- อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
- เมตตา ความรักด้วยความปรานี
- อุเบกขา ความวางเฉย
สามารถแยกออกเป็นหมวด ได้ 3 หมวดและจัดออกเป็นคู่ๆที่สนับสนุนกันในเวลาที่บำเพ็ญบารมี ได้แก่
ศีล มี 4 ได้แก่ ทาน คู่กับ เมตตา ศีล คู่กับ เนกขัมมะ
สมาธิ มี 4 ได้แก่ วิริยะ คู่กับ ขันติ สัจจะ คู่กับ อธิษฐาน และ
ปัญญา มี 2 ได้แก่ ปัญญา คู่กับ อุเบกขา
ทานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ศีลบารมี (ทานที่ให้โดยผู้มีศีลย่อมสมบูรณ์ยิ่ง)
ศีลบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เนกขัมมะบารมี (ศีลสมบูรณ์ได้ด้วยการการสำรวมอินทรีย์ทั้ง6จากกามคุณ)
เนกขัมมะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ปัญญาบารมี (การสำรวมในกาม สมบูรณ์ด้วยการพิจารณาตามจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่งาม)
ปัญญาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย วิริยะบารมี (ปัญญาจะฉลาดลึกซึ้งกว้างขวางก็ด้วยการหมั่นพิจารณาหมั่นตั้งคำถามหมั่นศึกษาในธรรม)
วิริยะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ขันติบารมี (ความเพียรพยายามจะต่อเนื่องยาวนานได้เพราะอาศัยความอดทน)
ขันติบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย สัจจะบารมี (ความอดทนจะมั่นคงได้ด้วยความตั้งใจจริง)
สัจจะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย อธิฏฐานบารมี (ความตั้งใจจริงมุ่งมั่นอยู่ได้ด้วยการมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน)
อธิฏฐานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เมตตาบารมี (ทุกๆเป้าหมายในชีวิตต้องประกอบด้วยเมตตาธรรม ไม่สร้างความเดือนร้อนแก่ผู้ใด ดุจดังพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ปรารถนาจะช่วยให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์จากสังสารวัฏ)
เมตตาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย อุเบกขาบารมี (ความมีเมตตาต้องมีการให้อภัยละวางความอิจฉาปราศจากอคติยอมรับผลแห่งเหตุ)
อุเบกขาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ทานบารมี (ความมีอุเบกขามิใช่ความวางเฉยแบบไม่สนใจแต่ต้องรู้จักเสียสละ)
ในแนวคิดบารมีของเถรวาท ผู้บารมีทั้ง10ประการ บารมีแต่ล่ะอย่างย่อมส่งเสริมเพิ่มอำนาจให้กันและกัน จนทวีคูณจนหาประมาณมิได้ สามารถทำปุถุชนคนธรรมดาให้กลายเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มหายาน
[แก้]พระสูตรมหายาน เช่น ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นต้น ถือว่าบารมีมี 6 ประการได้แก่
แต่ในคัมภีร์ทศภูมิกสูตร ได้เพิ่มอีก 4 ข้อ รวมเป็นบารมี 10 4 ข้อนั้นได้แก่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), บารมี 10 หรือ ทศบารมี, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม