ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซีย
ร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซียตามสำมะโน ค.ศ. 2020
ประชากรทั้งหมด
5,620,483 (2010)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ภาษา
ศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวมาเลเซียที่นับถือศาสนาฮินดู

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสองในประเทศมาเลเซีย เป็นรองเพียงอิสลาม โดยมีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 19.8[1][2] ถึงแม้ว่าบางข้อมูลระบุจำนวนที่ร้อยละ 21.6 ซึ่งรวมจำนวนชาวพุทธที่นับถือศาสนาชาวบ้านจีนด้วย[3]

ประวัติ

[แก้]
Mahanavika Buddhagupta ศิลาจารึกศาสนาพุทธในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ที่ปีนัง
พระพุทธรูปปางยืนที่ทำจาก ทองเหลือง พบในเหมืองดีบุกที่เปิงกาลันเปอโกะฮ์ อีโปะฮ์ รัฐเปรักใน ค.ศ. 1931

ศาสนาพุทธเริ่มแผ่ไปยังชาวมลายูและประชากรในคาบสมุทรมลายูเร็วสุดที่ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ข้อมูลภาษาจีนระบุว่ามีรัฐที่แผลงเป็นอินเดีย 30 แห่งที่เจริญรุ่งเรืองและล่มสลายในคาบสมุทรนี้ ศาสนาพุทธเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อพ่อค้าและนักบวชจากอินเดียเดินทางมาทางทะเลและนำแนวคิดศาสนา รัฐบาล และศิลปะอินเดียมาด้วย จากนั้นเป็นเวลาหลายศตวรรษที่ประชากรในภูมิภาคนี้ (โดยเฉพาะราชสำนัก) ผสมแนวคิดพื้นเมืองและอินเดียอย่างศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้าด้วยกัน ซึ่งกำหนดรูปแบบทางการเมืองและวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้[4] อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรเกอดะฮ์ประณามศาสนาอินเดียหลังกษัตริย์แห่งโจฬะจากทมิฬนาฑูโจมตีพื้นที่นี้ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 พระองค์มหาวงศ์ กษัตริย์แห่งเกอดะฮ์ เป็นผู้นำมลายูองค์แรกที่ประณามศาสนาอินเดีย พระองค์หันไปนับถือศาสนาอิสลาม และในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในช่วงยุคทองของรัฐสุลต่านมะละกา ชาวมลายูส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาอิสลาม

วัดพุทธมหาวิหารที่บริกฟีลส์ กัวลาลัมเปอร์

พ.ศ. 1837 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งแผ่อำนาจลงทางคาบสมุทรมลายู และได้นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางอำนาจหัวเมืองมลายูทั้งหลาย แต่เนื่องจากประชาชนในแถบนี้ นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาหลายร้อยปีแล้ว พุทธศาสนาแบบเถรวาทจึงไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเชื่อของคนบริเวณนี้มากนัก ซึ่งจะปรากฏแต่รูปพระโพธิสัตว์ หรือรูปเคารพตามแบบมหายานโดยมาก

ชาวจีน และชาวไทยพุทธ

[แก้]

แต่เนื่องจากมีชาวไทยที่อาศัยอยู่ในสามรัฐทางภาคเหนือของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเกอดะฮ์ รัฐกลันตัน และรัฐปะลิส เป็นเวลายาวนาน จนได้รับรองสถานะเทียบเท่าชาวมลายู แต่ชนชาวไทย จะแสดงถึงความเป็นไทย คือ ความเป็นพุทธเถรวาท ซึ่งมีพิธีกรรม และสถาปัตยกรรมทางศาสนาเหมือนกันกับชาวพุทธในประเทศไทย โดยมีชาวจีนให้ความอุปถัมภ์วัดทางการเงิน และช่วยเหลืองานต่าง ๆ ช่วงเทศกาลงานบุญ แต่ชาวไทยพุทธมีบทบาทในการดูแลศาสนามากกว่า เช่น การบวชของชาวไทยจะยาวนานกว่าชาวจีน จนสามารถแยกได้ว่า กลุ่มใดเป็นกลุ่มชาวไทย และชาวจีนในมาเลเซีย ส่วนวัดวาอารามของชาวสยามจะอยู่แถบชนบท มีสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทย พิธีกรรมเป็นแบบชาวไทย คือเน้นการทำบุญเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่จะบริจาคให้วัดจะเป็นชาวจีนโดยมาก ดังนั้นวัดไทยหลาย ๆ วัดที่มีชาวจีนอุปถัมภ์จะมีรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม หรือเทพเจ้าจีน ไว้เพื่อยึดเหนี่ยวศรัทธาของชาวจีน ในแต่ละชุมชน จะมีสำนักสงฆ์ไว้ เพื่อให้เป็นที่พำนักของพระสงฆ์ ที่หมุนเวียนกันมาจำพรรษาโปรดญาติโยม แต่ที่วัดใหญ่จะมีพระสงฆ์ไม่ต่ำกว่า 5 รูป โดยพระสงฆ์ที่บวชนาน ๆ และพระสงฆ์ที่บวชระยะสั้น ๆ อยู่จำพรรษาในวัดนั้น ๆ ชาวจีนส่วนมาก จะให้ความนับถือพระที่เก่งทางไสยศาสตร์ และสมุนไพร บางครั้งก็นิมนต์ไปประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านของตนที่จำเป็นต้องใช้งาย

สถานะ

[แก้]
วัดพุทธศรีลังกาที่โลรงตีมูร์ เซินตุล กัวลาลัมเปอร์

รายงานจากรัฐธรรมนูญมาเลเซีย มีกำหนดไว้ตามกฎหมายว่าชาวมลายู ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นมุสลิม โดยมีจำนวนร้อยละ 60 ของประเทศ นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวจีนที่ทั่วไปนับถือศาสนาพุทธหรือคริสต์ และชาวอินเดียที่ทั่วไปนับถือศาสนาฮินดู นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยและผู้อพยพ ได้แก่ชาวมาเลเซียเชื้อสายสิงหล, ไทย และยูเรเชีย ชาวพุทธเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง

ใน ค.ศ. 2013 มีวิดีโอกลุ่มผู้นับถือศานาพุทธนิกายวัชรยานจากสิงคโปร์ทำพิธีทางศาสนาในสุเหร่ากลายเป็นไวรัลในเฟซบุ๊ก ตำรวจมาเลเซียได้จับกุมเจ้าของรีสอร์ทหลังจากอนุญาตให้ชาวพุทธ 13 คนใช้ห้องละหมาดมุสลิม (สุเหร่า) ไว้ทำสมาธิที่โกตาติงกี รัฐยะโฮร์[5] เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นร้อนในสื่อสังคม จากนั้นในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2013 หลังพลเมืองโกตาติงกีออกมาประท้วงจำนวนมาก ผู้จัดการรีสอร์ทจึงให้รื้ออาคารละหมาดดังกล่าวภายใน 21 วันนับตั้งแต่วันได้รับใบสั่ง[6][7] เช็ด อะฮ์มัด ซาลิม เจ้าของรีสอร์ทในขณะนั้นกล่าวว่าเขาอนุญาตให้ชาวพุทธใช้สุเหร่าไว้ทำสมาธิเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นความผิด[8]

การกดขี่

[แก้]

กฎหมายอิสลามและมลายูสุดโต่ง

[แก้]

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย รัฐธรรมนูญมาเลเซียระบุว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของชาวมลายูแท้เท่านั้น และกลุ่มชนที่ได้รับการยอมรับ (เช่น ภูมิบุตร) ต้องเป็นมุสลิม[9] รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้คนในประเทศหันมานับถือศาสนาอิสลาม[10] กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่จะแต่งงานกับชาวมุสลิมต้องเข้ารับศาสนาอิสลามก่อน ถ้ามีการละเมิดกฎหมาย การแต่งงานนั้นจะถือเป็นโมฆะโดยพฤตินัย[10] ถ้าพ่อแม่นับถือศาสนาอิสลาม ลูก ๆ ของทั้งสองก็จะกลายเป็นมุสลิมโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากทั้งสอง[11][12]

การทำลายศาสนสถาน

[แก้]

รัฐบาลได้สั่งทำลายวัดบางแห่งโดยอ้างว่าสร้างบนที่ดินสาธารณะ จากนั้นจึงขายที่ดินนี้ให้กับผู้พัฒนาเพื่อก่อให้เกิดการแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น

ใน ค.ศ. 2014 นักพัฒนาเมืองทำลายซากเจดีย์บางส่วนในหุบเขาบูจัง ก่อให้เกิดเสียงเรียกร้องต่อต้านการโจมตีมรดกทางวัฒนธรรมจากนานาชาติ[13]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Taburan Penduduk dan Ciri-ciri Asas Demografi" (PDF). Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2013.
  2. "Population Distribution and Basic Demographic Characteristic Report 2010 (Updated: 05/08/2011)". Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  3. "The World Factbook: Malaysia". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 2007-11-22.
  4. "Early Malay Kingdoms". Sabrizain.org. สืบค้นเมื่อ 2016-04-29.
  5. "S'porean held in Malaysia after Buddhists use Muslim prayer room". YouTube. 2013-08-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-22. สืบค้นเมื่อ 2016-04-29.
  6. "Surau in Kota Tinggi resort demolished". The Star Online. August 28, 2013. สืบค้นเมื่อ August 28, 2013.
  7. "Surau kontroversi diroboh(Malay)". Kosmo!. August 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2015. สืบค้นเมื่อ August 28, 2013.
  8. "One year after surau controversy, normalcy returns to Johor resort". Kosmo!. 23 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 October 2014.
  9. Sophie Lemiere, apostasy & Islamic Civil society in Malaysia, ISIM Review, Vol. 20, Autumn 2007, pp. 46-47
  10. 10.0 10.1 Gill & Gopal, Understanding Indian Religious Practice in Malaysia, J Soc Sci, 25(1-2-3): 135-146 (2010)
  11. 2011 Report on International Religious Freedom - Malaysia U.S. State Department (2012)
  12. Perry Smith (2003), Speak No Evil: Apostasy, Blasphemy, and Heresy in Malaysian Syariah Law, UC Davis Journal Int'l Law & Pol'y, 10, pp. 357-399
  13. "Prehistoric temple ruin site that applied for UNESCO heritage status furtively destroyed" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Lee, Raymond L. M.; Ackerman, Susan Ellen (1997). "In Search of Nirvana", in: Sacred Tensions: Modernity and Religious Transformation in Malaysia. University of South Carolina Press. pp. 57–88. ISBN 978-1-57003-167-0.
  • ปฏิทินพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2548
  • มูฮัมเมด ยูซอฟฟ์ อิสมาอิล, วัดสยามในกลันตัน, วรสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1, หน้า 11
  • ทรงวิทย์ แก้วศรี, พุทธสถานในนานาประเทศ, หน้า 378-379