พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์
สันสกฤตMahāsthāmaprāpta
(มหาสฺถามปฺราปฺต)
จีน大勢至 (ไต้ซือจู้)
勢至 (ซือจู้)
ญี่ปุ่น大勢至 (ไดเซชิ)
勢至 (เซชิ)
ทิเบตམཐུ་ཆེན་ཐོབ (Thu-ch´en-Thob)
เวียดนามĐại Thế Chí Bồ tát
ข้อมูล
นับถือในมหายาน, วัชรยาน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภพุทธะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์

ลักษณะ[แก้]

รูปลักษณ์ของท่านอยู่ในท่ายืน จะทรงถือดอกปัทมาในพระหัตถ์บางครั้งจะทรงประณมหัตถ์ไว้ที่พระอุระ บางครั้งจะทรงถึงวัชระ บางตำราบอกว่ามือซ้ายอยู่ในท่าประทาน มือขวาอยู่ในท่าคิด บางครั้งมือทั้งสองจะประสานกันในท่าไขว้

ความเชื่อ[แก้]

นิกายสุขาวดีกำหนดให้ท่านเป็นผู้คุ้มครองดวงจิตของผู้ที่จะไปอุบัติในแดนสุขาวดี ในอีกแนวหนึ่งเชื่อว่าพระมหาสถามปราปต์พัฒนามาจากพระอินทร์ของศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากลักษณะในยุคแรกของท่านถือวัชระเช่นเดียวกับพระอินทร์ ต่อมามีการสร้างพระโพธิสัตว์องค์ใหม่ เรียกว่าพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ แยกออกมาจากพระมหาสถามปราปต์ ความนิยมนับถือพระมหาสถามปราปต์จึงลดลง ความหมายต่าง ๆ ของท่านได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆไปในมหาไวโรจนะสูตรมี[1]พระหฤทัยประจำพระองค์​ โอม​ สัม​ ชัม​ ชัม​ สะห์สวาหา


อ้างอิง[แก้]

  1. 《大毘盧遮那成佛神變加持經》CBETA 電子版No. 848 入真言門 ...buddhism.lib.ntu.edu.tw › sutra › chi_pdf › sutra10