มหากาฬ
พระมหากาฬ | |
---|---|
เทพแห่งกาลเวลา, มายา, การสร้าง, ทำลายล้าง และอำนาจ | |
![]() จิตรกรรม พระมหากาฬ ศิลปะทิเบต. | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | महाकाल |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Mahākāla |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ธรรมบาล ยิดัม เจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ พระกาฬ. |
วิมาน | สุสาน เชิงตะกอน ป่าช้า (มีหลายรายงาน) |
อาวุธ | ขัฑคะ ตรีศูล กปาละ ค้อน (ในแบบญี่ปุ่น) |
พาหนะ | สุนัข(ในคติศาสนาฮินดูโบราณ) |
พระมหากาฬ
|
พระมหากาฬ เป็นองค์เดียวกับพระกาฬซึ่งเป็นเทวดาในศาสนาฮินดู[1]โดยพระองค์คือยิดัมและธรรมบาลตามความเชื่อของชาวพุทธในทิเบต สังกัดรัตนโคตรของพระรัตนสัมภวะพุทธะ มีลักษณะคล้ายเหรุกะ ภาคดุร้ายมี 16 แขน มือถือหัวกะโหลกและกริช มีเปลวไฟพวยพุ่งรอบกาย สวมมงกุฏกระโหลก มีมาลัยร้อยด้วยศีรษะมนุษย์ มีงูพันรอบกาย. , ในคติศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน , เซน , พุทธศาสนาแบบจีนและพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น พระองค์คือไดโกกุ หนึ่งในเจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ.
บางท้องที่เชื่อว่าท่านเป็นเจ้าแห่งนาค ปกครองนาคที่ดูแลทรัพย์สมบัติเบื้องล่าง จึงถือเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งองค์หนึ่ง ในจีนและญี่ปุ่นถือเป็นเทพเจ้าแห่งโชค บางแห่งถือว่าท่านเป็นเทพแห่งการพักแรม ในอินเดียถือว่าท่านเป็นเทพองค์เดียวกับท้าวกุเวร
อ้างอิง[แก้]
- สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม. ศูนย์ไทยธิเบต.2547
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มหากาฬ |
- http://www.khandro.net/deity_Mahakala.htm
- The Many Forms of Mahakala, Protector of Buddhist Monasteries by Sri Nitin Kumar.
- ↑ Bryson (2017), p. 42.