ข้ามไปเนื้อหา

พระพรหม (ศาสนาพุทธ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหม
เทวรูปท้าวมหาพรหม (Pinyin: Fàntiān) ศิลปะสมัยราชวงศ์หมิง ในฐานะอารักษ์ผู้รักษาอาราม ณ วัดจื้อฮว่า (Zhihua Temple: 智化寺) ปักกิ่ง, ประเทศจีน
สันสกฤตब्रह्मा
Brahmā
บาลีब्रह्मा
Brahmā
พม่าဗြဟ္မာ
(Bya-mar)
จีน梵天
(Pinyin: Fàntiān)
ญี่ปุ่น梵天ぼんてん
(romaji: Bonten)
เขมรព្រះព្រហ្ម
(Preah Prom)
เกาหลี범천
(RR: Beom Cheon)
สิงหลබ්‍රහ්මයා
Brahmayā
ไทยพระพรหม
Phra Phrom
ทิเบตཚངས་པ་
Wylie: tshangs pa
THL: tsangpa
เวียดนามPhạm Thiên
ข้อมูล
นับถือในเถรวาท, มหายาน, วัชรยาน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ในศาสนาพุทธ พระพรหม เป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงกว่าเทวดาในฉกามาพจร และยังเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าพรหมภูมิ (หรือพรหมโลก)

พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม

ในคติเถรวาท

[แก้]

ตามคติเถรวาท พระพรหมไม่มีเพศ ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่ายคูตรมูถ สถิตย์เสวยสุขพรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน

ในคติมหายาน

[แก้]

ในมหายาน นับถือพระพรหมในฐานะธรรมบาล ซึ่งปรากฏอยู่ในพระสูตรต่าง ๆ ที่สำคัญ และถือเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง

พระพรหมที่สำคัญ

[แก้]
พระนาม บทบาทที่สำคัญและเกี่ยวข้องในคติพระพุทธศาสนาและความเชื่อของไทย
ท้าวมหาพรหม คำเรียกรวมสำหรับพระพรหมทั้งหมดในคติพระพุทธศาสนาหรือเรียกประมุขของชาวสวรรค์ชั้นพรหมภูมิ
ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นอธิบดีของโลกและเป็นผู้อาธนาธรรมหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาบัวสามเหล่า และเป็นต้นกำเนิดของคำอาธนาธรรม
พระพรหมา เป็นคำเรียกพระพรหมในศาสนาฮินดู ซึ่งนับถือว่าเป็นพระผู้สร้างโลกและจักรวาล และมีเพียงพระองค์เดียว
ท้าวพกพรหม พระพรหมผู้ที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จไปปราบความคึดอันเป็นมิจฉาทิฏฐิและเป็นที่มาของพระคาถาพาหุงบทที่แปด
ท้าวกบิลพรหม พระพรหมผู้เป็นที่มาของเทศกาลสงกรานต์ ในชาดกท้องถิ่นของประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชาเป็นผู้พนันธรรมกุมารและเป็นพระบิดาของนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดองค์
ท้าวมหาพรหมเอราวัณ

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]