พระพาย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() | |
จำพวก | เทวะ |
---|---|
อาวุธ |
ธงสีขาว แขนง แตร |
สัตว์พาหนะ |
กวาง แอนทิโลป |
บุตร |
หนุมาน (บุตรชาย) ภีมะ (บุตรชาย) |
พระพาย (เทวนาครี: वायु; "วายุ") เป็นเทพเจ้าแห่งลมและพายุ รวมถึงท้องฟ้า ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพแห่งธรรมชาติ เช่นเดียวกับพระพิรุณ (ฝน), พระอัคนี (ไฟ), พระแม่คงคา (น้ำ), พระแม่ธรณี (พื้นดิน)
พระพายเป็นบุตรของพระกัศยปเทพบิดร และนางทิติ มีหน้าที่ให้ลมแก่สามโลก ในวรรณคดีมหาภารตะ พระพายเป็น บิดาของภีมะ และในวรรณคดีรามเกียรติ์พระพายเป็นบิดาของ หนุมานและยังเป็นปู่ของมัจฉานุกับอสูรผัด
ตามคำภีร์วิษณุปุราณะว่า พระพายเป็นกษัตริย์แห่งคนธรรพ์ สำหรับรูปร่างลักษณะของพระพาย มีแตกต่าง หลากหลายออกไป ในคัมภีร์ไตรเทพระบุว่า พระพาย มีกายสีขาวลักษณะงดงามยิ่งนัก ทรงสัตว์พาหนะจำพวกแอนทิโลปหรือกวาง บางปกรณัมก็ว่าทรงเสือสีน้ำเงิน[1]
นอกจากนี้แล้ว พระพายยังถือเป็นเทพประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) โดยคำว่า "พายัพ" เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า "วายวฺย" เมื่อถอดความแล้วจะหมายถึง "ทิศของวายุ" [2]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: พระพาย |
อ้างอิง[แก้]
|
|