คุยเรื่องแม่แบบ:ศาสนาพุทธ
เพิ่มหัวข้อ
|
[แก้]
มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งความว่า ผู้ใดได้ยินได้ฟังคำว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ผู้นั้นชื่อว่า ได้ยินได้ฟังทั้งหมดในพุทธศาสนา (ท่านพุทธทาสมักใช้คำนี้เสมอในการอธิบายใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา)
คำนี้จึงนับได้ว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ดังนั้น นิพพาน จึงเป็นเป็นไวพจน์ของ การไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วย
อีกประการหนึ่ง การดับที่สุดซึ่งทุกข์ (นิพพาน) เป็นผลของเหตุคือ การไม่ยึดมั่นถือมั่น ผมจึงทำลิงก์ไปที่ นิพพาน อันเป็นผล
เพราะการใช้คำว่า จุดหมายของพระพุทธศาสนาคือนิพพาน อาจจะเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไป
การเปลี่ยนมาใช้พุทธพจน์บทเดียว ที่กินความคลุมทั้งพระไตรปิฎกทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ น่าจะทำให้สาธุชนเข้าใจจุดหมายของพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าครับ
-- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 11:41, 28 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
- ช่วยยกพุทธพจน์เต็มๆของ"สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"ให้หน่อยสิครับ--Bpitk 00:29, 23 มีนาคม 2551 (ICT)
- แฟน ๆ ขอมา tmd จัดให้คร้าบ
อันว่า บทพุทธพจน์บาลี "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" "ธรรมทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ที่ท่านพุทธทาสชอบใช้นั้น มีปรากฏอยู่หลายแห่งด้วยกันครับทั้งอวิชชาสูตร จูฬตัณหาสังขยสูตร ขอยกตัดตอนพระบาลีจำเพาะ จูฬตัณหาสังขยสูตร อันโด่งดัง ก็แล้วกันครับ
จูฬตณฺหาสงฺขยสุตฺต
[๔๓๓] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ฯ อถ โข สกฺโก เทวานมินฺโท เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ เอกมนฺต ิโต โข สกฺโก เทวานมินฺโท ภควนฺต เอตทโวจ กิตฺตาวตา นุ โข ภนฺเต ภิกฺขุ สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ อจฺจนฺตนิฏฺโ อจฺจนฺตโยคกฺเขมี อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี อจฺจนฺตปริโยสาโน เสฏฺโ เทวมนุสฺสานนฺติ ฯ
[๔๓๔] อิธ เทวานมินฺท ภิกฺขุโน สุต โหติ สพฺเพ ธมฺมา นาล อภินิเวสายาติ เอวฺเจ ต เทวานมินฺท ภิกฺขุโน สุต โหติ สพฺเพ ธมฺมา นาล อภินิเวสายาติ โส สพฺพ ธมฺม อภิชานาติ สพฺพ ธมฺม อภิฺาย สพฺพ ธมฺม ปริชานาติ สพฺพ ธมฺม ปริฺาย ยงฺกิฺจิ เวทน เวเทติ สุข วา ทุกฺข วา อทุกฺขมสุข วา โส ตาสุ เวทนาสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรติ วิราคานุปสฺสี วิหรติ นิโรธานุปสฺสี วิหรติ ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี วิหรติ โส ตาสุ เวทนาสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรนฺโต วิราคานุปสฺสี วิหรนฺโต นิโรธานุปสฺสี วิหรนฺโต ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี วิหรนฺโต น กิฺจิ โลเก อุปาทิยติ อนุปาทิย น ปริตสฺสติ อปริตสฺส ปจฺจตฺตฺเว ปรินิพฺพายติ ขีณา ชาติ วุสิต พฺรหฺมจริย กต กรณีย นาปร อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ เอตฺตาวตา โข เทวานมินฺท ภิกฺขุ สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ อจฺจนฺตนิฏฺโ อจฺจนฺตโยคกฺเขมี อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี อจฺจนฺตปริโยสาโน เสฏฺโ เทวมนุสฺสานนฺติ ฯ อถ โข สกฺโก เทวานมินฺโท ภควโต ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายิ ฯ
อ้างอิง: พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬตัณหาสังขยสูตร
พึ่งสังเกต แม่แบบ:พุทธ วันนี้ครับ เห็นด้วยกับท่านอย่างยิ่ง! กับท่านBpitk ที่ใส่ว่าจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคือ พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ เข้าใจง่ายดีครับ ^_^ -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 22:43, 1 เมษายน 2551 (ICT)
- ยินดีครับ ที่คุณเห็นตรงกันว่า จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคือ พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ ว่าแต่ว่า ทำไมจึงใช้ สิ่งทั้งหลายทั้งปวง แทน สพฺเพ ธมฺมา ล่ะครับ ผมเลยค้นไม่เจอ เลยทีแรก หรือว่า ทั้ง จิต เจตสิก รูป นิพพาน และทั้งบัญญัติต่างๆ มีอากาส เป็นต้น รวมอยู่ใน สพฺเพ ธมฺมา --Bpitk 23:21, 8 เมษายน 2551 (ICT)
- บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่าธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบไว้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้. --Bpitk 23:21, 8 เมษายน 2551 (ICT)
- ท่านพุทธทาสบอกว่าทุกสิ่งแม้กระทั่งนิพพาน หากยังยึดว่า กู นิพพาน แล้วมันจะนิพพานอย่างไร? (ขออภัยจำไม่ได้ว่าหนังสือของท่านเล่มไหน) สรุปคือ ท่านหมายเอาจุดหมายของพุทธะว่า เมื่อใด ปราศจากที่ยึด ปราศจากผู้ยึด เมื่อปราศจากผู้ยึด แล้วใครจะทุกข์ (นิพพาน)-- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 23:29, 8 เมษายน 2551 (ICT)
- ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำ ผมเพียงแต่มักจะงงเรื่อง สพฺเพ ธมฺมา ทีแรกคิดว่า หมายถึงเฉพาะ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ตลอดจนวิปัสสนาภูมิต่างๆ --Bpitk 23:40, 8 เมษายน 2551 (ICT)
ครับ บางทีตำรามันก็ "บัง" อะไร ๆ ไว้ได้มากเหมือนกัน อย่างที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ครับ อิอิ -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 23:56, 8 เมษายน 2551 (ICT)