อนุสสติ
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม โปรดอภิปรายปัญหาดังกล่าวในหน้าอภิปราย หากบทความนี้เข้ากันได้กับโครงการพี่น้อง โปรดทำการแจ้งย้ายแทน |
อนุสสติ 10 หมายถึง กรรมฐานเป็นเครื่องระลึกถึง มี 10 อย่าง ได้แก่
- พุทธานุสสติ การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า (พุทธะ+อนุสสติ=พุทธานุสสติ)
- ธัมมานุสสติ การระลึกถึงพระคุณของพระธรรม
- สังฆานุสสติ การระลึกถึงพระคุณของพระสงฆ์
- สีลานุสสติ การระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
- จาคานุสสติ การระลึกถึงทาน ความดีที่ตนสร้างไว้
- เทวตานุสสติ การระลึกถึงคุณที่ทำให้คนเป็นเทวดา เช่น หิริ โอตตัปปะ และพระคุณของพ่อแม่ที่เป็นเทวดาของบุตรธิดา เทวดาหรือบุคลที่เคารพนับถือ
- อุปสมานุสติ การระลึกถึงพระคุณของพระนิพพาน
- มรณสติ[1][2] การระลึกถึงความตายที่สัตว์โลกย่อมประสบ
- อานาปานสติ การระลึกถึงลมหายใจเข้าออก (อานาปาน + อนุสสติ = อานาปานุสสติ)
- กายคตาสติ การระลึกถึงความไม่งามปฏิกูลของอาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง (ปัญจตจกรรมฐาน)
เป็น 10 กรรมฐานในกรรมฐาน 40 กองได้แก่ กสิน 10, อนุสสติ 10, อสุภะ 10, พรหมวิหาร 4, อรูปฌาน 4 จตุธาตุววัตถาน1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
วิสุทธิมรรคระบุว่า พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสติ มรณานุสสติ เป็นอารมณ์นิมิตรทำสมาธิได้สูงสุดที่ระดับอุปจาระสมาธิ กายคตานุสสติเป็นอารมณ์นิมิตรทำสมาธิได้สูงสุดที่ระดับปฐมฌาน(ฌาน1) และอานาปานุสสติเป็นอารมณ์นิมิตรทำสมาธิได้สูงสุดที่ระดับจตุตถฌาน(ฌาน4)
![]() |
บทความเกี่ยวกับศาสนานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา |
อ้างอิง:
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓
[1]
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
[2]