พระอรหันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (อะระหัน/ออระหัน; บาลี: อรหนฺต; สันสกฤต: अर्हत् อรฺหตฺ) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด[1] สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ

ประเภท[แก้]

แบ่งตามสถานะ มี 3 ประเภท[2]
  1. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้วได้ก่อตั้งศาสนาพุทธ สามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ตามได้
  2. พระปัจเจกพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้ว แต่ไม่ประกาศศาสนา ไม่มีสาวก เกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่โลกไม่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น
  3. พระอรหันตสาวก คือสาวกผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จากการปฏิบัติตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า
พระอรหันต์ 2 คือ[3][4]
  1. สุกขวิปัสสกะ (สุกข - แห้งแล้ง) ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ปฐมฌานเมื่อบรรลุอรหัตตผล เรียกอีกอย่างว่าวิปัสสนายานิก
  2. สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน ผู้เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนบรรลุอรหัตตผล เรียกอีกอย่างว่า อุภโตภาควิมุต
พระอรหันต์ 4 คือ
  1. สุกขวิปัสสกะ ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน
  2. เตวิชชะ ผู้ได้วิชชา 3
  3. ฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา 6
  4. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระอรหันต์ 5 คือ
  1. ปัญญาวิมุต
  2. อุภโตภาควิมุต
  3. เตวิชชะ
  4. ฉฬภิญญะ
  5. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ

พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ 5 นัย คือ

  1. ไกลจากกิเลส
  2. กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
  3. เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
  4. เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
  5. ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 1,378. ISBN 978-616-7073-56-9
  2. พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (ประเสริฐ มนฺตเสวี), พระนิพพาน, 2556, หน้า 29
  3. พรรณนาคาถาว่า เย ปุคฺคลา, อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ พรรณนารัตนสูตร
  4. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 18, กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต), 2553. หน้า 79-80. ISBN 974-8357-89-9