ศาสนาพุทธในประเทศสิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสนาพุทธในประเทศสิงคโปร์ เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุด โดยมีจำนวนผู้นับถือประมาณ 31.1% ของประชากรใน ค.ศ. 2020[1] ใน ค.ศ. 2015 จากผลโพลชาวสิงคโปร์ 3,276,190 คน มี 1,087,995 คน (33.21%) ที่ระบุตนเองว่านับถือศาสนาพุทธ[2]

พระพุทธศาสนาเริ่มต้นในประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย แต่ต่อมาชาวมลายูมุสลิมได้มาตั้งรกรากอยู่ และต่อมาก็มีชาวจีนโพ้นทะเลได้มาตั้งรกรากอยู่ที่สิงคโปร์ ได้นำพระพุทธศาสนาแบบมหายานมาเผยแผ่ด้วย และเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากในประเทศนี้

วัดศากยมุนีคยา

ประวัติ[แก้]

ในอดีตประเทศสิงคโปร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย การแผ่ขยายของพุทธศาสนาจึงจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับประเทศมาเลเซีย และส่วนใหญ่ชาวสิงคโปร์จะเป็นชาวจีนโพ้นทะเล พุทธศาสนาแบบมหายานจึงเจริญรุ่งเรืองและได้รับการประดิษฐานอย่างมั่นคง

สถานภาพและการจัดตั้งองค์กรยุวพุทธ[แก้]

สถานภาพของพุทธศาสนา แบบมหายานในสิงคโปร์ถือว่าดีมาก มีการปฏิบัติศาสนกิจ และการเผยแผ่อย่างจริงจัง โดยการแปลตำรา และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างๆ จัดตั้งโรงเรียนอบรมศาสนาจารย์ และมีโรงเรียนสอนพุทธศาสนาว่า "มหาโพธิ์" เพื่อจัดการเรียนการสอนพุทธศาสนาทุกระดับชั้น

มีการก่อตั้งองค์กรยุวพุทธแห่งสิงคโปร์ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมบรรยายธรรมภาษาต่างๆ จัดกิจกรรมการสวดมนต์ การสมาธิ การสนทนาธรรม และกิจกรรมอื่นๆ อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และความศรัทธาทางศาสนาของชาวสิงคโปร์

พุทธศาสนาในปัจจุบัน[แก้]

ชาวจีนที่มาตั้งรกรากอยู่ที่สิงคโปร์ ได้นำพระพุทธศาสนาแบบมหายานมาเผยแผ่ด้วย และเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากในประเทศนี้ มีวัดมหายานอยู่หลายแห่ง รวมทั้งสมาคมทางศาสนา ซึ่งทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนา ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ นอกจากวัดพระพุทธศาสนาแบบมหายานแล้ว ในสิงคโปร์มีวัดพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ซึ่งได้แก่ วัดไทย และวัดลังกา รวมอยู่ด้วย วัดไทยที่สำคัญมี ๒ วัดคือวัดอนันทเมตยาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 และทำการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 อีกวัดหนึ่ง ชื่อ วัดป่าเลไลยก์ สิงคโปร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506

อ้างอิง[แก้]

  1. "Census of Population 2020: Religion" (PDF). Department of Statistics Singapore. 16 June 2021. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
  2. "General Household Survey 2015 - Content Page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-12. สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Chia, Jack Meng Tat (2009). "Buddhism in Singapore: A State of the Field Review." Asian Culture 33, 81-93.
  • Kuah, Khun Eng. State, Society and Religious Engineering: Towards a Reformist Buddhism in Singapore. Singapore: Eastern Universities Press, 2003.
  • Ong, Y.D. Buddhism in Singapore: A Short Narrative History. Singapore: Skylark Publications, 2005.
  • Shi Chuanfa 释传发. Xinjiapo Fojiao Fazhan Shi 新加坡佛教发展史 [A History of the Development of Buddhism in Singapore]. Singapore: Xinjiapo fojiao jushilin, 1997.
  • Wee, Vivienne. “Buddhism in Singapore.” In Understanding Singapore Society, eds. Ong Jin Hui, Tong Chee Kiong and Tan Ern Ser, pp. 130–162. Singapore: Times Academic Press, 1997.