ยมานตกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้นยมานตกะที่พิพิธภัณฑ์ในอังกฤษ

ยมานตกะ (สันสกฤต: यमान्तक Yamāntaka, ภาษาทิเบต: གཤིན་རྗེ་གཤེད་ Gshin-rje-gshed, ภาษาจีน: 大威德明王 ต้าเวย์เต๋อหมิงหวัง, ภาษาญี่ปุ่น: ไดอิโตกุเมียวโอ) เป็นเทพยิดัมหรือผู้ปกป้องธรรมในภาคดุร้ายองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธในทิเบต แปลว่า ที่ตายของพระยม หรือผู้ทำให้พระยมเกรงกลัว เชื่อกันว่าเป็นภาคดุของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เพื่อปราบพระยม และอาจสร้างขึ้นเพื่อลดทอนอำนาจของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะไศวนิกาย

รูปลักษณ์[แก้]

ภาพทังกาของยมานตกะ

มีศีรษะเป็นวัว กายสีน้ำเงินเข้ม มีหลายแบบ ประจำอยู่ทิศใต้ของพุทธมณฑล ผมสีน้ำตาล ตกแต่งร่างกายด้วยพวงมาลัยหัวกะโหลก ถือหัวกะโหลกบรรจุเลือดและไม้เท้าที่เสียบศีรษะอยู่ เท้าเหยียบบนร่างของมนุษย์ อสูร และยักษ์ ศักติคือปษุธารี (ผู้ถือห่วง) ซึ่งมีศีราะเป็นสุกรตัวเมีย

รูปลักษณ์อื่นของยมานตกะมีอีกหลายแบบ ตัวอย่างเช่น วัชรไภรวะ (สายฟ้าผู้น่ากลัว) ซึ่งมีเก้าหัว สามสิบสี่แขนและสิบหกเท้า ลักษณะดังกล่าวนี้คล้ายคลึงกับยิดัมอีก 2 องค์คือ เหรุกะ และมหากาฬ

อ้างอิง[แก้]

  • สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม. ศูนย์ไทยธิเบต. 2547

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]