ข้ามไปเนื้อหา

เปาต้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปาต้าน (ฟู่ กู่)
傅嘏
ผู้กำกับกิจการสำนักราชเลขาธิการ
(錄尚書事 ลู่ช่างชูชื่อ)
(ภายใต้มหาขุนพล)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 255 (255) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจฮอง
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจฮอง
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 209[a]
เขตเย่าโจว นครถงชฺวาน มณฑลฉ่านซี
เสียชีวิตค.ศ. 255 (46 ปี)[a]
บุตรฟู่ จือ
บุพการี
  • ฟู่ ชง (บิดา)
ญาติ
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองหลานฉือ (蘭石) /
เจาเซียน (昭先)
สมัญญานามยฺเหวียนโหว (元侯)
บรรดาศักดิ์หยางเซียงโหว (陽鄉侯)

เปาต้าน[b] หรือเหาตวน[c] (ค.ศ. 209–255)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ฟู่ กู่ (จีน: 傅嘏; พินอิน: Fù Gǔ) ชื่อรอง หลานฉือ (จีน: 蘭石; พินอิน: Lánshí) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ

[แก้]

ปู่ของเปาต้านคือฟู่ รุ่ย (傅睿) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองไตกุ๋น (代郡 ไต้จฺวิ้น) ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[4] บิดาของเปาต้านคือฟู่ ชง (傅充) รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่สำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง)[5] เปาต้านมีบุตรชายคือฟู่ จือ (傅祗) มีหลานชายคือฟู่ เซฺวียน (傅宣) และฟู่ ช่าง (傅暢) เปาต้านมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยอยู่ในวัยยี่สิบปี เปาต้านได้รับการเสนอชื่อจากตันกุ๋นให้รับราชการกับราชสำนักวุยก๊กและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการระดับล่าง[6]

ในช่วงเวลานั้น ขุนนางที่มีชื่อเสียงที่สุดในวุยก๊กคือโฮอั๋น, เตงเหยียง และแฮเฮาเหียน เปาต้านไม่ชอบทั้งสามคนนี้ ตีตัวออกห่างจากพวกเขา และเลือกคบหากับสฺวิน ช่าน (荀粲) แทน แม้ว่าลิฮองเป็นชาวมณฑลเดียวกันกับเปาต้าน แต่เปาต้านไม่ถูกกันกับลิฮองและเปาต้านคาดการณ์ว่าในที่สุดลิฮองจะทำลายชื่อเสียงของตนเอง[7]

ในปี ค.ศ. 240 เปาต้านได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) และขุนนางสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง)[8]

ในช่วงเวลานั้น โจซองแต่งตั้งให้โฮอั๋นเป็นราชเลขาธิการกรมบุคลากร (吏部尚書 ลี่ปู้ช่างชู) และมอบหมายให้โฮอั๋นรับผิดชอบในการคัดเลือกบุคลากร เปาต้านแนะนำโจอี้ (曹羲 เฉา ซี) น้องชายของโจซองว่าไม่อาจไว้วางใจโฮอั๋นในความรับผิดชอบสำคัญได้[9] แต่หลังจากนั้นไม่นาน คำแนะนำที่เปาต้านเสนอกับโจอี้ก็รู้ไปถึงโฮอั๋น เปาต้านจึงถูกปลดจากตำแหน่ง[10] หลังจากนั้นเปาต้านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเอ๊งหยง (滎陽 สิงหยาง) แต่เปาต้านปฏิเสธการแต่งตั้ง[11] ภายหลังเปาต้านได้รับคำเชิญจากสุมาอี้ให้มารับราชการเป็นขุนนางผู้ช่วย (從事中郎 ฉงชื่อจงหลาง)[12] หลังจากโจซองสิ้นอำนาจ เปาต้านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) และราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)[13]

ในปี ค.ศ. 252 หลังการสวรรคตของซุนกวนจักรพรรดิแห่งง่อก๊ก ขุนพลวุยก๊กในแนวหน้าอย่างอ้าวจุ๋น, อองซอง และบู๊ขิวเขียมตั้งใจจะใช้โอกาสนี้โจมตีง่อก๊กที่เป็นรัฐอริ เมื่อมีการถามความเห็นของเปาต้าน เปาต้านคัดค้านการทำศึกกับง่อก๊ก แม้ว่าท้ายที่สุดก็มีการรบเกิดขึ้น ทัพวุยก๊กนำโดยอ้าวจุ๋นและจูกัดเอี๋ยนพ่ายแพ้ในยุทธการที่ตังหินในปี ค.ศ. 253 ต่อทัพง่อก๊กที่นำโดยจูกัดเก๊ก[14][15] ภายหลังเปาต้นได้รับบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)[16]

ในปี ค.ศ. 254 สุมาสูปลดโจฮองจักรพรรดิแห่งวุยก๊กและตั้งโจมอขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน เปาต้านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นอู่เซียงถิงโหว (武鄉亭侯)[17]

ในปี ค.ศ. 255 บู๊ขิวเขียมและบุนขิมไม่พอใจผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สุมาสูที่ปลดจักรพรรดิโจฮอง ทั้งคู่จึงก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณอำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ต่อต้านสุมาสู เวลานั้นสุมาสูป่วยด้วยโรคตา เหล่าขุนนางเสนอให้ตั้งสุมาหูเป็นผู้นำทัพหลวงไปปราบปรามกบฏ แต่เปาต้าน, อองซก และจงโฮยแนะนำให้สุมาสูนำทัพด้วยตนเองแทน สุมาสูทำตามคำแนะนำของทั้งสาม[18] เปาต้านเข้าร่วมในการทัพในตำแหน่งรองหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書僕射 ช่างชูผูเช่อ) สุมาเจียวน้องชายของสุมาสูก็ได้เข้าร่วมในการทัพด้วย เปาต้านมีส่วนร่วมในการปราบกบฏ[19] ในระหว่างการทัพ อาการป่วยที่ตาของสุมาสูแย่ลงและทำให้สุมาสูเสียชีวิตในอีกหลายวันต่อมา

หลังสุมาสูเสียชีวิตในฮูโต๋ สุมาเจียวเข้าดำรงตำแหน่งแทนพี่ชายในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก โจมอจักรพรรดิแห่งวุยก๊กทรงพยายามจะป้องกันการถ่ายโอนอำนาจจากสุมาสูมายังสุมาเจียว จึงทรงมีรับสั่งให้สุมาเจียวยังคงอยู่ที่ฮูโต๋และให้เปาต้านนำทัพกลับมานครหลวงลกเอี๋ยง แต่เปาต้านและจงโฮยเข้าพบสุมาเจียวและเสนอให้สุมาเจียวไม่ทำตามรับสั่ง และกลับไปนครหลวงด้วยกัน[20][21]

ภายหลังเปาต้านได้รับบรรดาศักดิ์หยางเซียงโหว (陽鄉侯)[22] เปาต้านเสียชีวิตในปีเดียวกันนั้นขณะอายุ 47 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[23]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติเปาต้านในสามก๊กจี่บันทึกว่าเปาต้านเสียชีวิตในศักราชเจงหงวน (正元 เจิ้ง-ยฺเหวียน; ค.ศ. 254-256) ในรัชสมัยของโจมอ เปาต้านเสียชีวิตขณะอายุ 47 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของของเปาต้านควรเป็นปี ค.ศ. 209
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 81[2]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ([正元二年] ... 是歲薨,時年四十七, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  2. ("เปาต้านจึงว่า บู๊ขิวเขียมล่าทัพถอยไปครั้งนี้ ด้วยกลัวทัพเมืองกังตั๋งจะวกหลังไปตีเมืองชิวฉุน เห็นทีจะถอยทัพไปอยู่เมืองฮางเสีย แล้วจะแบ่งปันทหารไปรักษาเมืองชิวฉุน ขอให้ท่านเกณฑ์ทหารยกไปเปนสามกอง ไปตีเมืองงักแกเสียเมืองฮางเสียเมืองชิวฉุน ข้าพเจ้าเห็นว่าทหารเมืองห้วยหลำก็จะถอยทัพไปเอง ท่านจงให้มีหนังสือไปถึงเตงงายเจ้าเมืองกุนจิ๋ว เปนคนมีสติปัญญาความคิด ให้ยกไปช่วยตีเมืองงักแกเสียได้แล้ว เห็นจะปราบศัตรูได้โดยง่าย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
  3. ("เหาตวนที่ปรึกษาจึงว่ายังหาเห็นทีที่จะได้ไม่ ด้วยเมืองกังตั๋งนี้มีแม่น้ำกั้นอยู่เปนที่คับขัน ข้าศึกที่จะไปทำการยากนัก กษัตริย์แต่ก่อนหลายพระองค์มาแล้วยกกองทัพไปตีก็หาได้ไม่ ซึ่งจะยกทัพไปทำการครั้งนี้ข้าพเจ้าหาเห็นด้วยไม่ บ้านเมืองของใคร ๆ ก็รักษาอยู่เห็นจะเปนสุขกว่า ถ้าได้ทีแล้วยกไปตีจึงจะมีชัยชนะ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
  4. (嘏祖父睿,代郡太守。) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  5. (父充,黃門侍郎。) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  6. (嘏弱冠知名,司空陳羣辟為掾。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  7. (是時何晏以材辯顯於貴戚之間,鄧颺好變通,合徒黨,鬻聲名於閭閻,而夏侯玄以貴臣子少有重名,為之宗主,求交於嘏而不納也。嘏友人荀粲,有清識遠心,然猶怪之。謂嘏曰:「夏侯泰初一時之傑,虛心交子,合則好成,不合則怨至。二賢不睦,非國之利,此藺相如所以下廉頗也。」嘏荅之曰:「泰初志大其量,能合虛聲而無實才。何平叔言遠而情近,好辯而無誠,所謂利口覆邦國之人也。鄧玄茂有為而無終,外要名利,內無關鑰,貴同惡異,多言而妬前;多言多釁,妬前無親。以吾觀此三人,皆敗德也。遠之猶恐禍及,況昵之乎?」) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  8. (正始初,除尚書郎,遷黃門侍郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  9. (時曹爽秉政,何晏為吏部尚書,嘏謂爽弟羲曰:「何平叔外靜而內銛巧,好利,不念務本。吾恐必先惑子兄弟,仁人將遠,而朝政廢矣。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  10. (晏等遂與嘏不平,因微事以免嘏官。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  11. (起家拜熒陽太守,不行。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  12. (太傅司馬宣王請為從事中郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  13. (曹爽誅,為河南尹,遷尚書。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  14. (時論者議欲自伐吳,三征獻策各不同。詔以訪嘏,嘏對曰:「昔夫差陵齊勝晉,威行中國,終禍姑蘇;齊閔兼土拓境,闢地千里,身蹈顛覆。有始不必善終,古之明效也。孫權自破關羽并荊州之後,志盈欲滿,凶宄以極,是以宣文侯深建宏圖大舉之策。今權以死,託孤於諸葛恪。若矯權苛暴,蠲其虐政,民免酷烈,偷安新惠,外內齊慮,有同舟之懼,雖不能終自保完,猶足以延期挺命於深江之外矣。而議者或欲汎舟徑濟,橫行江表;或欲四道並進,攻其城壘;或欲大佃疆埸,觀釁而動:誠皆取賊之常計也。然自治兵以來,出入三載,非掩襲之軍也。賊之為寇,幾六十年矣,君臣偽立,吉凶共患,又喪其元帥,上下憂危,設令列船津要,堅城據險,橫行之計,其殆難捷。惟進軍大佃,最差完牢。兵出民表,寇鈔不犯;坐食積穀,不煩運士;乘釁討襲,無遠勞費:此軍之急務也。昔樊噲願以十萬之衆,橫行匈奴,季布面折其短。今欲越長江,涉虜庭,亦向時之喻也。未若明法練士,錯計於全勝之地,振長策以禦敵之餘燼,斯必然之數也。」 後吳大將諸葛恪新破東關,乘勝揚聲欲向青、徐,朝廷將為之備。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  15. (嘉平四年四月,孫權死。征南大將軍王昶、征東將軍胡遵、鎮南將軍毌丘儉等表請征吳。朝廷以三征計異,詔訪尚書傅嘏,嘏對曰:「昔夫差勝齊陵晉,威行中國,不能以免姑蘇之禍;齊閔辟土兼國,開地千里,不足以救顛覆之敗:有始不必善終,古事之明效也。孫權自破蜀兼平荊州之後,志盈欲滿,罪戮忠良,殊及胤嗣,元凶已極。相國宣文侯先識取亂侮亡之義,深建宏圖大舉之策。今權已死,託孤於諸葛恪。若矯權苛暴,蠲其虐政,民免酷烈,偷安新惠,外內齊慮,有同舟之懼,雖不能終自保完,猶足以延期挺命於深江之表矣。昶等或欲汎舟徑渡,橫行江表,收民略地,因糧於寇;或欲四道並進,臨之以武,誘間攜貳,待其崩壞;或欲進軍大佃,偪其項領,積穀觀釁,相時而動:凡此三者,皆取賊之常計也。然施之當機,則功成名立,苟不應節,必貽後患。自治兵已來,出入三載,非掩襲之軍也。賊喪元帥,利存退守,若撰飾舟楫,羅船津要,堅城清野,以防卒攻,橫行之計,殆難必施。賊之為寇,幾六十年,君臣偽立,吉凶同患,若恪蠲其弊,天去其疾,崩潰之應,不可卒待。今邊壤之守,與賊相遠,賊設羅落,又持重密,間諜不行,耳目無聞。夫軍無耳目,校察未詳,而舉大衆以臨巨險,此為希幸徼功,先戰而後求勝,非全軍之長策也。唯有進軍大佃,最差完牢。可詔昶、遵等擇地居險,審所錯置,及令三方一時前守。奪其肥壤,使還耕塉土,一也;兵出民表,寇鈔不犯,二也;招懷近路,降附日至,三也;羅落遠設,間構不來,四也;賊退其守,羅落必淺,佃作易之,五也;坐食積穀,士不運輸,六也;釁隙時聞,討襲速決,七也:凡此七者,軍事之急務也。不據則賊擅便資,據之則利歸於國,不可不察也。夫屯壘相偪,形勢已交,智勇得陳,巧拙得用,策之而知得失之計,角之而知有餘不足,虜之情偽,將焉所逃?夫以小敵大,則役煩力竭,以貧敵富,則斂重財匱。故『敵逸能勞之,飽能飢之』,此之謂也。然後盛衆厲兵以震之,參惠倍賞以招之,多方廣似以疑之。由不虞之道,以間其不戒;比及三年,左提右挈,虜必冰散瓦解,安受其弊,可坐筭而得也。昔漢氏歷世常患匈奴,朝臣謀士早朝晏罷,介冑之將則陳征伐,搢紳之徒咸言和親,勇奮之士思展搏噬。故樊噲願以十萬之衆橫行匈奴,季布面折其短。李信求以二十萬獨舉楚人,而果辱秦軍。今諸將有陳越江陵險,獨步虜庭,即亦向時之類也。以陛下聖德,輔相忠賢,法明士練,錯計於全勝之地,振長策以禦之,虜之崩潰,必然之數。故兵法曰:『屈人之兵,而非戰也;拔人之城,而非攻也。』若釋廟勝必然之理,而行萬一不必全之路,誠愚臣之所慮也。故謂大佃而偪之計最長。」時不從嘏言。其年十一月,詔昶等征吳。五年正月,諸葛恪拒戰,大破衆軍於東關。) อรรถาธาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  16. (嘉平末,賜爵關內侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  17. (高貴鄉公即尊位,進封武鄉亭侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  18. (正元二年春,毌丘儉、文欽作亂。或以司馬景王不宜自行,可遣太尉孚往,惟嘏及王肅勸之。景王遂行。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  19. (以嘏守尚書僕射,俱東。儉、欽破敗,嘏有謀焉。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  20. (及景王薨,嘏與司馬文王徑還洛陽,文王遂以輔政。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  21. (毌丘儉作亂,大將軍司馬景王東征,會從,典知密事,衞將軍司馬文王為大軍後繼。景王薨於許昌,文王緫統六軍,會謀謨帷幄。時中詔勑尚書傅嘏,以東南新定,權留衞將軍屯許昌為內外之援,令嘏率諸軍還。會與嘏謀,使嘏表上,輒與衞將軍俱發,還到雒水南屯住。於是朝廷拜文王為大將軍、輔政,會遷黃門侍郎,封東武亭侯,邑三百戶。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  22. (嘏以功進封陽鄉侯,增邑六百戶,并前千二百戶。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
  23. (是歲薨,時年四十七,追贈太常,謚曰元侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.

บรรณานุกรม

[แก้]