ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ
เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
ดำรงพระยศประมาณ พ.ศ. 2329 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ก่อนหน้าเจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย (อาณาจักรอยุธยา)
ถัดไปสิ้นสุดตำแหน่ง
ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2323 – 2325
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ก่อนหน้าเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)
ถัดไปพระยานครราชสีมา (เที่ยง ณ ราชสีมา)
ประสูติ28 มีนาคม พ.ศ. 2289
อาณาจักรอยุธยา
ทองอิน
ทิวงคต20 ธันวาคม พ.ศ. 2349 (60 ปี)[1]
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
บรรจุพระอัฐิหอพระนาก
พระชายาพระชายาทองอยู่
หม่อมหม่อมบุนนาค
พระราชบุตร35 พระองค์
วัดประจำรัชกาล
วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระอินทรรักษา (เสม)
พระราชมารดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี
ศาสนาเถรวาท

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ พระนามเดิม ทองอิน (28 มีนาคม พ.ศ. 2289 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระองค์สุดท้าย ดำรงพระยศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

พระราชประวัติ

[แก้]

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มีพระนามเดิมว่าทองอิน เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี และพระอินทรรักษา (เสม) ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2289[2] มีพระอนุชาและพระขนิษฐา คือ

  1. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์
  2. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ
  3. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ

นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระอนุชาต่างมารดาชื่อ พระองค์เจ้าขุนเณร ผู้เป็นนักรบคู่พระทัยของพระองค์ในการทำศึกตลอดมา พระองค์ผนวช 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา และผนวชอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2335 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระองค์ทรงเริ่มรับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นที่หลวงฤทธิ์นายเวร จนกระทั่ง พ.ศ. 2323 ได้เลื่อนเป็นพระยาสุริยอภัย ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามจลาจลในช่วงปลายรัชกาล เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2325 โปรดให้สถาปนาพระองค์เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ พระราชทานเครื่องสูง 3 ชั้น คันประดับมุก และเรือดั้งแห่คู่ 1 เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศโดยความชอบยิ่งกว่าพระราชภาคิไนยพระองค์อื่น ตั้งวังอยู่ที่สวนลิ้นจี่ ในเมืองเดิมฟากตะวันตกริมคลองบางกอกน้อย[3]

หลังเสร็จสงครามเก้าทัพแล้ว ทรงได้รับเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ดำรงพระเกียรติยศในที่กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข รับพระบัญชาตามแบบกรมพระราชวังหลังแต่ก่อนมา[4]

ทิวงคต

[แก้]

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงพระประชวรมาตั้งแต่เดือน 10 และเสด็จทิวงคตเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนอ้าย เวลาบ่าย 4 โมง[5] ตรงกับวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349 สิริพระชนมายุ 61 พรรษา[2]

ถึงวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2350 จึงเชิญพระศพเข้าสู่พระเมรุท้องสนามหลวง มีการมหรสพสมโภช 3 วัน แล้วจึงพระราชทานเพลิงพระศพในวันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม ในการนี้จักรพรรดิซา ล็อง ได้จัดของเข้ามาสดับปกรณ์ด้วย[6] พระอัฐิของพระองค์ถูกนำไปประดิษฐานที่หอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนพระสรีรางคารถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์ฐานพระประธานภายในอุโบสถ วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร[7]

พระโอรสและพระธิดา

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
การทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เษกสมรสกับพระชายาทองอยู่ (อาจเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[7]) มีพระโอรสและพระธิดารวม 6 พระองค์ ได้รับการยกฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า "พระสัมพันธวงศ์เธอ " คือ

นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระโอรสและพระธิดาที่ประสูติแต่หม่อมห้าม เป็นหม่อมเจ้าชาย 13 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 พระองค์ คือ

  • หม่อมเจ้าชายจัน (หม่อมเจ้าจันทร์นุเรศร์) (ประสูติ พ.ศ. 2332)
  • หม่อมเจ้าหญิงรัศมี (พ.ศ. 2334 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2417)
  • หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ (พ.ศ. 2341 - 21 สิงหาคม พ.ศ. 2420)
  • หม่อมเจ้าหญิงพิกุล (พ.ศ. 2342 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2417)
  • หม่อมเจ้าหญิงธิดา
  • หม่อมเจ้าหญิงเรไร
  • หม่อมเจ้าชายหมี
  • หม่อมเจ้าหญิงปิ่น
  • หม่อมเจ้าชายสุวรรณ
  • หม่อมเจ้าหญิงยี่สุ่น
  • หม่อมเจ้าหญิงอำพา
  • หม่อมเจ้าหญิงนุช (หม่อมเจ้าวรนุช)
  • หม่อมเจ้าชายกำพร้า
  • หม่อมเจ้าชายสุดชาติ (หม่อมเจ้าสุด)
  • หม่อมเจ้าชายกุหลาบ
  • หม่อมเจ้าชายใย
  • หม่อมเจ้าชายน้อย (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2434)
  • หม่อมเจ้าชายเณร
  • หม่อมเจ้าชายละมั่ง
  • หม่อมเจ้าหญิงอะงุ่น
  • หม่อมเจ้าชายสุทัศน์
  • หม่อมเจ้าชายนิล
  • หม่อมเจ้าหญิงพลับจีน
  • หม่อมเจ้าหญิงป้อม
  • หม่อมเจ้าหญิงเล็ก
  • หม่อมเจ้าหญิงกลาง
  • หม่อมเจ้าหญิงนกเขา
  • หม่อมเจ้าหญิงเรศร์
  • หม่อมเจ้าชายฟัก

ในบรรดาหม่อมห้ามของพระองค์ ปรากฏนามอยู่ท่านหนึ่งคือ หม่อมบุนนาค[8]

ราชสกุลในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขมี 2 ราชสกุลคือ ปาลกะวงศ์ และ เสนีวงศ์ หม่อมเจ้าพระองค์อื่นที่มิใช่สายพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ จะใช้ราชสกุลปาลกะวงศ์[9]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ได้แก่

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
  2. 2.0 2.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 4-5
  3. ประดิษฐานพระราชวงศ์
  4. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ตั้งกรมพระราชวังหลัง
  5. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : กรมพระราชวังหลังทิวงคต
  6. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
  7. 7.0 7.1 วชิราวุธานุสรณ์สาร, กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (กรมพระราชวังหลัง) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เก็บถาวร 2009-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มูลนิธิพระบรมราชนุสรณ์พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่ ๒๖, ฉบับที่ ๑, ๑ มกราคม ๒๕๕๐
  8. มารดาเจ้าคราวพระวังหลังครรไล. จากเว็บเรื่อนไทย. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556
  9. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 38. ISBN 974-221-818-8
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ถัดไป
เจ้าฟ้าพร
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
(ราชวงศ์จักรี)

(พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2349)
สิ้นสุดพระอิสริยยศ