ข้ามไปเนื้อหา

ประเทือง วิจารณ์ปรีชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทือง วิจารณ์ปรีชา
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 (89 ปี)
อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศสยาม

ประเทือง วิจารณ์ปรีชา (เกิด 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2478) ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกพรรคชาติไทย[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี รวม 8 สมัย

ประวัติ

[แก้]

ประเทือง เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เป็นบุตรของนายสุย นางโดม วิจารณ์ปรีชา จบการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จาก วิทยาลัยอุเทนถวาย [2]

งานการเมือง

[แก้]

ประเทือง ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 8 ครั้ง

ประเทือง เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งโฆษกพรรคชาติประชาธิปไตย[3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร (ครม.48) [4]

ประเทือง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[5]

ก่อนที่ต่อมาจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2544 โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายพายัพ ปั้นเกตุ จากพรรคไทยรักไทย

ปี พ.ศ. 2555 ประเทืองได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ประเทือง วิจารณ์ปรีชา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522)พรรคสยามประชาธิปไตย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดพรรคชาติไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕