โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

พิกัด: 13°54′09″N 100°44′27″E / 13.902638°N 100.740860°E / 13.902638; 100.740860
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนสตรีวิทยา 4)
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
สตรีวิทยา 2
Nawamintrachinuthit Satriwittaya 2 School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นนมร.สว.๒
ประเภทสหศึกษาของรัฐบาล สังกัด สพฐ.
คำขวัญเรียนเด่น เล่นดี มีวินัย
สถาปนา10 สิงหาคม พ.ศ. 2535
ผู้อำนวยการดร.สมศักดิ์ แสวงการ
สี███ แดง
███ ขาว
เว็บไซต์http://www.nmrsw2.ac.th

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 หรือ โรงเรียนสตรีวิทยา 4 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 บนที่ดินซึ่งนางทองสุข สุขทุม และนายเกษม คงสามสี คหบดีสองพี่น้อง มอบให้แก่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 10 เมษายน ปีนั้น เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนในย่านมีนบุรีและคลองสามวาโดยเฉพาะ ซึ่งภายหลังสถาปนาอาคารต่าง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสหศึกษา ชื่อ "โรงเรียนสตรีวิทยา 4" สังกัดกรมสามัญศึกษา โดยมอบให้โรงเรียนสตรีวิทยา 2 เป็นพี่เลี้ยง และให้นางสาวสมภาพ คมสัน ผู้อำนวยโรงเรียนสตรีวิทยา 2 รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยโรงเรียนไปพลางก่อน

ต่อมา วันที่ 10 สิงหาคม ปีเดียวกัน กรมสามัญศึกษาประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต และเพื่อให้สอดคล้องกับโรงเรียนพี่เลี้ยง เป็น "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 มีนบุรี" อักษรย่อว่า "นมร.ส.ว.2" และวันที่ 15 มิถุนายน ปีนั้นเอง กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นางวิลาวัณย์ สิทธิ์วงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยโรงเรียนสตรีวิทยา 2 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน นมร.ส.ว.2 พร้อมได้อนุมัติงบประมาณ 95.3 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น 3 อาคารติดต่อกัน และอาคารอเนกประสงค์อีก 1 หลัง ใช้เวลาก่อสร้าง 680 วันจึงแล้วเสร็จ

ครั้นปีการศึกษา 2539 กรุงเทพมหานครได้แบ่งเขตการปกครองใหม่ โดยได้แบ่งเขตมีนบุรีออกเป็น 2 เขต คือ เขตมีนบุรี และเขตคลองสามวา ซึ่งเดิมที่ตั้งของโรงเรียนเดิมอยู่ในเขตมีนบุรีจึงได้ชื่อ "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 มีนบุรี" แต่เมื่อแบ่งเขตใหม่แล้ว ไปอยู่ในเขตคลองสามวาแทน จึงได้ชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2"

ปัจจุบัน อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขตที่ 2

สัญลักษณ์[แก้]

อักษรประดิษฐ์ นมร. ตราประจำโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียน "นวมินทราชินูทิศ"
  • ตรา รูปพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ประดับมงกุฏขัตติยราชนารี
  • คำขวัญ ลูกนมร.สว.2 จิตใจงาม ความรู้ดี
  • ปรัชญา มีคุณธรรม เลิศล้ำปัญญา ใฝ่หาอาชีพสุจริต
  • เพลงประจำสถาบัน มาร์ชพิกุลแก้ว
  • สี ขาว แดง
  • ต้นไม้ พิกุล
  • ธง สีแดงและขาว มีตราโรงเรียนประดับกลาง
  • พระพุทธรูป พระพุทธรัชมงคลปัญญา
  • ผู้มีพระคุณ
    • 1.นางทองสุข สุขทุม
    • 2.นายเกษม คงสามสี

สิ่งสักการะ[แก้]

พระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประทับ ณ หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงประทับนั่งบนพระเก้าอี้พระพักตร์ทรงหันไปด้านซ้าย ฉลองพระองค์ชุดผ้าไหมไทยประยุกต์ ลักษณะพระบรมฉายาลักษณ์ติดกับแท่นสำหรับถวายพระพรซึ่งได้แก่ แท่นวางกรวยถวายพระพร และพานพุ่ม ด้านบนประดับพระนามาภิไธยย่อ สก
มงกุฎขัตติยราชนารี
ประทับ ณ หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ เป็นมงกุฎประจำองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งโรงเรียนได้รับพระราชทานพร้อมกับตราโรงเรียน ลักษณะองค์มงกุฎประกอบด้วยกรรเจียกจร ,พระเกี้ยว 3 ชั้น และยี่กาด้านขวา ประกอบแท่นวางพระมงกุฎผ้าพื้นสีฟ้า ประดับตราพระนามาภิไธยย่อ สก บนผ้า ประทับบนหมอนสีทองสี่มุม แต่ละมุมมีพู่สีทองห้อยอยู่ และอยู่บนพานหนึ่งชั้น

ผู้บริหาร[แก้]

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นางสาวสมภาพ คมสัน พ.ศ. 2535
2. นางวิลาวัณย์ สิทธิวงศ์ พ.ศ. 2535พ.ศ. 2540
3. นางอนันต์ เธียรรักษ์วิชา พ.ศ. 2540พ.ศ. 2546
4. นายบัณทิต เกตุช้าง พ.ศ. 2546พ.ศ. 2551
5. นางพรพิมล พรชนะรักษ์ พ.ศ. 2551พ.ศ. 2556
6.นายบรรลือชัย ผิวสานต์ พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561
7.ว่าที่ร้อยตรีณรงค์ ประจวบวัน พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2564
8.นายประทีป ไชยเมือง พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2566
9.ดร.สมศักดิ์ แสวงการ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

รัตนวดี วงศ์ทอง นักแสดงภาพยนตร์เรื่อง ธี่หยด

โรงเรียนที่เกี่ยวข้อง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°54′09″N 100°44′27″E / 13.902638°N 100.740860°E / 13.902638; 100.740860