ข้ามไปเนื้อหา

ทีโอที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
Telephone of Thailand Public Company Limited
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

สำนักงานใหญ่ TOT ในกรุงเทพ (2015)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497
ผู้ก่อตั้งรัฐบาลไทย
หน่วยงานก่อนหน้า
  • องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ท.ศ.ท. (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2545)
  • บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
ยุบเลิก7 มกราคม พ.ศ. 2564 (66 ปี)
หน่วยงานสืบทอด
สำนักงานใหญ่89/2 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปีรายได้ 47,869.4
รายจ่าย 55,430.2
ส่วนต่าง(ขาดทุน) 5885
(คิดเป็นหน่วยล้านบาท) (ปีงบประมาณ 2558)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เว็บไซต์www.tot.co.th

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: TOT Public Company Limited) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสื่อสารโทรคมนาคมในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และถือเป็นกิจการโทรศัพท์แห่งชาติของไทย ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสาร แปรรูปมาจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497

ทีโอที ทำหน้าที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมทุกประเภท ทั้งในและระหว่างประเทศ ผ่านบริการต่าง ๆ ทั้งทางสายโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยใบอนุญาตแบบที่ 3 (ที่มีโครงข่ายของตนเองเพื่อให้เช่าใช้) เดิมเป็นองค์กรที่ทั้งควบคุมการให้บริการโทรคมนาคม และเป็นผู้ให้บริการวิทยุสื่อสาร แต่ในปัจจุบันได้โอนหน้าที่กำกับดูแลไปยังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ทีโอทีได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสารมาเป็นระยะเวลา 67 ปี จึงได้มีการควบรวมกิจการกับ กสท โทรคมนาคม เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564

ประวัติ

[แก้]

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ท.ศ.ท.

[แก้]

เดิมเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมไปรษณีย์โทรเลข ใช้ชื่อว่ากองช่างโทรศัพท์ โดยได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ท.ศ.ท. (อังกฤษ: Telephone Organization of Thailand) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ในช่วงแรกรับผิดชอบเฉพาะการวางชุมสายโทรศัพท์ในเขตนครหลวง แต่ในภายหลังได้ดูแลกิจการโทรศัพท์ทั่วราชอาณาจักร โดยรับโอนความรับผิดชอบมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข

บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

[แก้]

วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด แต่ยังคงสถานะรัฐวิสาหกิจ ใช้ชื่อว่า บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: TOT Corporation Public Company Limited) เมื่อมีการปรับปรุงโครงสร้างทางราชการ บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่น ได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

[แก้]

ชื่อเดิม ทศท คอร์ปอเรชั่น ได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ใช้ชื่อว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: TOT Public Company Limited) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 นับว่าเพื่อให้เป็นชื่อที่ตรงกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมเปลี่ยนตราสัญลักษณ์เหลือเพียงเครื่องหมาย ทีโอที

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 
บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 

ควบรวมกิจการกับ กสท โทรคมนาคม

[แก้]

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563 อนุมัติให้ทีโอทีควบรวมกิจการกับ กสท โทรคมนาคม เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ และให้บริษัทแห่งใหม่มีพันธกิจในการสนับสนุนนโยบายของรัฐในการพัฒนาระบบดิจิทัลต่อไป โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด 100% ตามเดิม[1] และได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564[2][3]

อดีตเกมส์ในเครือ

[แก้]
  1. เกมเทลส์รันเนอร์ (ยุติการในบริการในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 23.59 น. และโอนย้ายข้อมูลทั้งหมดไปยังค่ายเอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น และเปิดให้บริการอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น (1 พฤษภาคม))
  2. เกมวีแดนซิงออนไลน์
  3. เกมทอยวอร์ส
  4. เกมคลาวด์ไนน์
  5. เกมวาเลียนท์ออนไลน์

บริษัทคู่ค้าและคู่กรณี

[แก้]
  1. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชื่อเดิม เทเลคอมเอเชีย (ทีเอ) รับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ในเขตนครหลวง แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับทีโอที มีมูลค่ามากที่สุดถึง 23,065 ล้านบาท [ต้องการอ้างอิง] โดยคดีความที่มีปัญหามากที่สุดคือ ทรูตีความว่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการเสริมของโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งแตกต่างจากการตีความของสหพันธ์โทรคมนาคมนานาชาติ (International Telecommunications Union) ซึ่งเป็นหน่วยงานสากลเช่นเดียวกับสหประชาชาติ [ต้องการอ้างอิง]
  2. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ชื่อเดิม ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเกชั่น (ทีทีแอนด์ที) รับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ในเขตภูมิภาค แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับทีโอทีเช่นเดียวกัน มีมูลค่า 28,753 ล้านบาท [ต้องการอ้างอิง] ทีทีแอนด์ที ได้ละเมิดทรัพย์สินของทีโอที ให้บริษัทลูก (ทริปเปิ้ลทรี บรอดแบนด์) ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่ได้รับอนุญาต [ต้องการอ้างอิง]
  3. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส รับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ GSM 900 จนถึงปัจจุบันเป็นบริษัทที่มีความร่วมมือกันในการให้บริการต่าง ๆ ด้วยดีตลอดมา นับเป็นบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับทีโอที

กิจการร่วมค้า ไทย-โมบาย

[แก้]

จากนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นที่ต้องการให้ หน่วยงานของรัฐให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แข่งกับเอกชนเพื่อลดราคา จึงได้ให้รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) โดย ทีโอที กสท และ บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ชื่อบริษัทมาจากอักษรตัวแรกของทั้ง 3 หน่วยงาน ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบ GSM1900 ภายใต้ชื่อ THAImobile ต่อมา บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้ถอนหุ้นไปในปัจจุบัน คงเหลือเพียง ทีโอที และ กสท ที่ยังคงดำรงหุ้นในอัตราส่วน 58 : 42 ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 ทีโอทีได้ซื้อหุ้นในส่วนของ กสท เพื่อมาบริหารทั้งหมด พร้อมทั้งได้สิทธิ์การให้บริการสามจี และสิทธิ์การใช้คลื่นความถี่วิทยุ 1900 MHz แต่เพียงผู้เดียว เพื่อเตรียมนำไปให้บริการสามจี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สนุก.คอม (14 มกราคม 2563). "ครม.ไฟเขียว ควบรวม "CAT-TOT" เป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติภายใน 6 เดือน". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "7ม.ค.64 จดทะเบียนจัดตั้ง บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ". ฐานเศรษฐกิจ. 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "รมว.ดีอีเอสจุดพลุควบรวมตั้ง'NT'รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ของไทยสำเร็จ". ไทยโพสต์. 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]