ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (13 ปี)
สำนักงานใหญ่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณต่อปี488.1105 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ศาตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ, ประธานกรรมการบริหาร
  • ชัยชนะ มิตรพันธ์, ผู้อำนวยการ
  • ชาติชาย สุทธาเวศ, รองผู้อำนวยการ
  • มีธรรม ณ ระนอง, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เว็บไซต์www.etda.or.th

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ย่อว่า สพธอ.; อังกฤษ: Electronic Transactions Development Agency, ETDA [เอ็ตด้า]) เป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เดิมมีสถานะเป็นองค์การมหาชน เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุน การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศให้เป็นไปตามความต้องการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการมีมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ[2][3]

การดำเนินงาน

[แก้]

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยโอนภารกิจ บุคลากร และทรัพย์สิน ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบรรดาภารกิจที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่สนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 ส่งผลให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น โดยมีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนของรัฐด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ระบบ งานเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ

อ้างอิง

[แก้]

นายนรินทร์​แสงศรี​