หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
เลขาธิการพระราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) |
ถัดไป | ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา |
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ถัดไป | พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2444 |
เสียชีวิต | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (69 ปี) |
บิดา | หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ |
มารดา | หม่อมเฉื่อย ทวีวงศ์ ณ อยุธยา |
พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) เดิมชื่อ หม่อมราชวงศ์ภิรมย์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ เป็นโอรสของหม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์) กับหม่อมเฉื่อย ทวีวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม จารุจินดา) เป็นอดีตองคมนตรี ,ราชองครักษ์พิเศษ ,นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ,เลขาธิการพระราชวัง และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ประวัติ[แก้]
หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2444 ณ วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ตำบลแพร่งภูธร (สำราญราษฎร์) จังหวัดพระนคร
เมื่ออายุ 10 ปี บิดาได้นำขึ้นเฝ้าถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯให้หม่อมราชวงศ์ภิรมย์เฉลิมลาภเข้าศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
เมื่ออายุราว 13-14 ปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดให้เข้าไปเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นมหาดเล็กรับใช้ [1] รุ่นแรก คนที่ 5 รับราชการสนองพระเดชพระคุณ และโปรดเกล้าฯ ให้ตัดคำว่า "ภิรมย์" นำหน้าชื่อออก ด้วยทรงพระราชดำริว่าชื่อยาวเกินไป แต่นั้นมาจึงมีชื่อว่า หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ ไปศึกษาเล่าเรียน ณ ประเทศอังกฤษ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
พ.ศ. 2467 ได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปริญญาตรี บี.เอ. เกียรตินิยมทางรัฐศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้มอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เอ็ม.เอ.) ให้อีกวาระหนึ่ง
การรับราชการ[แก้]
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ ได้กลับมารับราชการในตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงมหาดไทย อาทิ
- ดำรงตำแหน่ง เลขานุการมณฑลภูเก็ต
- 15 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ดำรงตำแหน่ง ผู้รั้งตำแหน่งปลัดจังหวัดภูเก็ต[2]
- 7 มีนาคม พ.ศ. 2472 ดำรงตำแหน่ง ปลัดจังหวัดภูเก็ต[3]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ดำรงตำแหน่ง มหาดไทยมณฑลภูเก็ต[4]
- 7 เมษายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่ง ปลัดกรมการเมือง[5]
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่ง มหาดไทยมณฑลนครศรีธรรมราช[6]
พ.ศ. 2477 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงตรวจการกรมมหาดไทย
- 16 เมษายน พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ประจวบคีรีขันธ์[7]
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัดนราธิวาส[8]
- 1 มีนาคม พ.ศ. 2482 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัดสงขลา[9]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัด ประจำกระทรวง[10]
- 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัดพระตะบอง[11]
- พ.ศ. 2486 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าที่ปรึกษาประจำกองข้าหลวงใหญ่ 4 รัฐมาลัย
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2489 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมมหาดไทย[12]
- 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์[13]
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 โอนไปรับราชการทางสำนักพระราชวัง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง[14]
- 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อีกตำแหน่งหนึ่ง[15]
- 14 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ราชองครักษ์พิเศษ และนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์[16]
- 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี[17]
รับพระราชทานบรรดาศักดิ์[แก้]
หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หม่อมราชนิกุล เป็นหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 [18]
พระราชทานยศพลเรือนและยศทหาร[แก้]
- 25 มีนาคม พ.ศ. 2472 รองอำมาตย์โท[19]
- 21 ตุลาคม พ.ศ. 2484 ร้อยเอก เหล่าทหารราบ และนายทหารพิเศษประจำกองทัพบก[20]
- 27 มิถุนายน พ.ศ. 2495 พันตรี[21]
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พลจัตวา[22]
- 11 กันยายน พ.ศ. 2507 พลตรี[23]
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
ในปีพ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทานแก่หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์กับหม่อมราชวงศ์ทิพยวดี ชยางกูร ธิดา หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร และ หม่อมเนื่อง ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ นคร) มีธิดา 2 คน
- หม่อมหลวงถวัลย์วดี ทวีวงศ์ สมรสกับนายพูนผล เตวิทย์ มีบุตร ธิดา 2 คน คือ นางนันทนี เตวิทย์ และนายณพาวุธ เตวิทย์
- หม่อมหลวงนราวดี ทวีวงศ์ (ท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน) สมรสกับนายสันชัย ชัยเฉนียน มี ธิดา 2 คน คือ นางจุฑาพร เตชะไพบูลย์ และ นางสาวหนึ่งนุช ชัยเฉนียน
ภายหลังจากที่หม่อมราชวงศ์ทิพยวดี ถึงแก่กรรมแล้ว ได้สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พรพรรณ ชยางกูร (ท่านผู้หญิงพรพรรณ ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์) ธิดา หม่อมเจ้าสฤษดิเดช และ หม่อมเนื่อง ชยางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2491
ถึงแก่อสัญกรรม[แก้]
พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 สิริรวมอายุได้ 69 ปี 81 วัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับการศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานหลายครั้ง ในวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เวลา 17.00 น. ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส [24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2506 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2502 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2497 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[27]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[28]
- พ.ศ. 2509 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[29]
- พ.ศ. 2459 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 5 (ว.ป.ร.5)[30]
- พ.ศ. 2471 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 5 (ป.ป.ร.5)[31]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[32]
- พ.ศ. 2511 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[33]
- พ.ศ. 2458 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[34]
- พ.ศ. 2508 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[35]
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
ลาว:
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระบรมรูป ชั้นที่ 1[36]
เยอรมนี:
- พ.ศ. 2506 –
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[37]
- พ.ศ. 2506 –
กรีซ:
- พ.ศ. 2506 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1[38]
- พ.ศ. 2506 –
ลำดับสาแหรก[แก้]
ลำดับสาแหรกของหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศตั้งนักเรียนมหาดเล็กหลวงเป็นมหาดเล็กรับใช้
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและบรรจุตำแหน่งมหาดไทยมณฑล
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าหลวงประจำจังหวัด
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและโอนข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมมหาดไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเลขาธิการพระราชวัง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ และนายทหารพิเศษ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม ๔๖ หน้า ๒๘๙๕ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๒๙, ๒๙ ตุลาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๗๔, ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๘, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๐๑, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๓๐, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๔, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๗, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
ดูเพิ่ม[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2444
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2513
- หม่อมราชวงศ์
- ราชสกุลทวีวงศ์
- หม่อมราชนิกุล
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- เลขาธิการพระราชวัง
- ข้าราชการในพระองค์ชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- สมาชิกกองเสือป่า