พระราชวังบักกิงแฮม
พระราชวังบักกิงแฮม (อังกฤษ: Buckingham Palace)[1][2] เป็นที่ประทับในลอนดอนของราชวงศ์อังกฤษและศูนย์กลางการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร[3] ตั้งอยู่ใจกลางนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน พระราชวังนี้มักเป็นศูนย์กลางของงานพระราชพิธีและการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของราชวงศ์ นอกจากนี้ยังเป็นจุดรวมใจของชาวอังกฤษในช่วงเวลาแห่งความยินดีและความเศร้าโศกของชาติอีกด้วย
เดิมทีเรียกว่า บักกิงแฮมเฮาส์ อาคารแกนหลักของพระราชวังในปัจจุบันนั้นคือบ้านแถวขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับดยุกแห่งบักกิงแฮมในปี ค.ศ. 1703 บนที่ดินผืนหนึ่งซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลมายาวนานกว่า 150 ปี มันถูกซื้อมาโดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในปี ค.ศ. 1761 เพื่อเป็นที่ประทับส่วนพระองค์สำหรับสมเด็จพระราชินีชาร์ล็อท และต่อมาเป็นที่รู้จักในนามเดอะควีนส์เฮาส์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 พระราชวังนี้ได้รับต่อเติมโดยสถาปนิกจอห์น แนช และเอ็ดเวิร์ด บลอร์ ซึ่งได้ก่อสร้างปีกอาคารสามปีกล้อมรอบลานกลาง พระราชวังบักกิงแฮมกลายเป็นที่ประทับในกรุงลอนดอนของพระมหากษัตริย์อังกฤษเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1837
การต่อเติมทางสถาปัตยกรรมครั้งสำคัญล่าสุดมีขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 รวมถึงอีสต์ฟรอนต์ที่ซึ่งมีระเบียงอันเลื่องชื่อที่พระราชวงศ์อังกฤษจะเสด็จออกพบปะพสกนิกรตามธรรมเนียม การวางระเบิดโดยเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองส่งผลให้โบสถ์น้อยของพระราชวังถูกทำลายไป ต่อมาจึงมีการสร้างคิงส์แกเลอรีขึ้นแทนที่ตรงตำแหน่งนั้นและได้สู่สาธารณะในปี ค.ศ. 1962 โดยจัดแสดงงานศิลปะของสะสมหลวง
การตกแต่งภายในดั้งเดิมจากต้นศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่ยังเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการประดับประดาด้วยสกาลิโอลาสีสันสดใสและแลพิสแลซูลีสีน้ำเงินและชมพูอย่างกว้างขวางตามคำแนะนำของเซอร์ ชาลส์ ลอง สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ทรงกำกับการตกแต่งใหม่บางส่วนให้เป็นโทนสีแบบยุคสวยงาม สีครีมและทอง ห้องรับรองขนาดเล็กจำนวนมากนั้นตกแต่งด้วยรูปแบบรีเจนซีแบบจีน ด้วยเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่นำมาจากรอยอลพาวิลเลียน ที่ไบรตัน และจากคาร์ลตันเฮาส์ในลอนดอน พระราชวังบักกิงแฮมมีห้องรวมทั้งหมด 775 ห้อง และมีสวนซึ่งเป็นสวนส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน ท้องพระโรงซึ่งใช้ในงานบันเทิงของรัฐและพิธีทางการเปิดให้สาธารณชนเข้าชมในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน และบางวันในฤดูหนาวและใบไม้ผลิ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ที่ตั้ง
[แก้]ในยุคกลาง ที่ตั้งของพระราชวังบักกิงแฮมในปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมเนอร์ออฟเอบรี ที่ดินมีพื้นดินที่เปียกแฉะจากแม่น้ำไทเบิร์น ที่ซึ่งในปัจจุบันยังคงไหลอยู่ใต้ลานและที่ปีกทิศใต้ของวัง[4] จุดที่แม่น้ำข้ามได้ (ที่คาวเฟิร์ด) มีการตั้งรกรากและเติบโตของหมู่บ้านอายครอสส์ ความเป็นเจ้าของของพื้นที่นี้มีการเปลี่ยนมีเจ้าของอยู่หลายครั้งด้วยกัน เช่น เอดเวิร์ดผู้สารภาพ และพระอัครมเหสี เอดิธแห่งเวสเซกซ์ในสมัยแซกซอนตอนปลาย ปละต่อมาภายหลังการยึดครองของนอร์มัน พื้นที่นี้เป็นของวิลเลียมผู้พิชิต วิลเลียม ต่อมาได้มอบที่ดินนี้ให้กับเจฟฟรีเดอมันดะวิลล์ ผู้ซึ่งต่อมาก็ได้ยกเป็นพินัยกรรมให้แก่นักบวชแห่งเวสท์มินสเตอร์แอบบี[a]
ในปี 1531 พระเจ้าเฮนรีที่แปดได้ยึดครองโรงพยาบาลเซนต์เจมส์ต่อจากวิทยาลัยอีทัน ที่ซึ่งต่อมากลายเป็นพระราชวังเซนต์เจมส์[5] และต่อมาในปี 1536 เขาได้ยึดครองเมเนอร์แห่งเอบรีมาจากเวสท์มินสเตอร์แอบบี[6] การถ่ายโอนที่ดินเหล่านี้ทำให้ที่ตั้งของพระราชวังเวสท์มินสเตอร์กลับมาสู่พระราชอำนาจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัชสมัยของวิลเลียมผู้พิชิตผู้ส่งต่อที่ดินนี้ให้แก่ผู้อื่นไปเมื่อเกือบ 500 ปีก่อน[7]
อาคารดั้งเดิม
[แก้]กอริงเฮาส์
[แก้]บ้านหลังแรกที่เป็นไปได้ว่าสร้างขึ้นในที่ดินของพระราชวังบักกิงแฮมในปัจจุบันเป็นของเซอร์วิลเลียม เบลก ในปี 1624[8] ตามด้วยเจ้าของคนถัดมา ลอร์ดกอริง นับตั้งแต่ปี 1633 และได้ขยายพื้นที่รวมถึงสร้างสวนขึ้นที่ซึ่งส่วนใหญ่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ในขณะนั้นเป็นที่รู้จักในชื่อสวนใหญ่กอริง[9][10] อย่างไรก็ตาม กอริงไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างอิสระในการครอบครองสวนมัลเบอร์รี ในปี 1640 เอกสาร "ไม่ได้รับตราประทับหลวงก่อนชาลส์ที่หนึ่งจะหนีออกจากลอนดอน ตราประทับนี้จำเป็นในทางกฎหมาย" แต่กอริงไม่ทราบว่าเอกสารนั้นไม่ผ่านตราประทับ[11] นี่เป็นข้อยกเว้นส่วนสำคัญที่ในต่อมาราชสำนักอังกฤษสามารถทวงคืนกรรมสิทธิ์กลับมาภายใต้จอร์จที่สามได้[12]
อาร์ลิงทันเฮาส๋
[แก้]ในขณะที่กอริงผู้ซึ่งเลินเล่อผิดสัญญาไม่จ่ายค่าเช่าที่ดิน[13] เฮนรี เบนเนท เอร์ลที่หนึ่งแห่งอาริงทันจึงสามารถซื้อสัญญาเซ่าของกอริงเฮาส์และเข้าอยู่อาศัยขณะที่บ้านถูกเผาลงในปี 1674[10] ที่ซึ่งต่อมาเขาได้สร้างอาร์ลิงทันเฮาส์ขึ้นแทนที่ในปีต่อมา ตรงพื้นที่ที่ปัจจุบันคือปีกอาคารส่วนใต้ของพระราชวัง[10] ในปี 1698, จอห์น เชฟฟีลด์ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นดยุกแห่งบักกิงแฮมและนอร์มันบีได้เข้าถือครองกรรมสิทธิ์การเช่าที่ดิน[14]
บักกิงแฮมเฮาส์
[แก้]อาคารหลังที่เป็นหลักกลางทางสถาปัตยกรรมของพระราชวังหลังปัจจุบันนั้นเป็นที่พักอาศัยที่สร้างขึ้นให้กับดยุกแห่งบักกิงแฮมและนอร์มันบี ในปี 1703 ตามผลงานออกแบบของวิลเลียม วินด์ ซึ่งประกอบด้วยท่อนหลักของอาคารสูงสามชั้น และมีปีกเซอร์วิสขนาดเล็กกว่าขำนวนสองอันประกบ[15] ท้ายที่สุด บักกิงแฮมเฮาส์ได้ถูกขายโดยบุตรนอกกฎหมายของบักกิงแฮม เซอร์ชาลส์ เชฟฟีลด์ ในปี 1761[16] ให้กับจอร์จที่สามด้วยจำนวนเงิน £21,000[17][b] Sheffield's leasehold on the mulberry garden site, the freehold of which was still owned by the royal family, was due to expire in 1774.[18]
จากควีนส์เฮาส์สู่พระราชวัง
[แก้]ภายใต้ความเป็นเจ้าของใหม่ของราชสำนัก อาคารนี้แรกเริ่มตั้งใจจะใบ้เป็นที่พักผ่อนส่วนพระองค์ของพระราชินีในพระเจ้าจอร์จที่สาม จึงทำให้ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ เดอะควีนส์เฮาส์ (The Queen's House) โดยใช้การออกแบบใหม่จากโครงสร้างเดิม เริ่มต้นในปี 1762[19] ในปี 1775 พระราชบัญญัติรัฐสภาได้กำหนดทรัพย์สินนี้เป็นของพระราชินีชาร์ลอท เพื่อแลกกับพระราชสิทธิ์ในซัมเมอร์เซทเฮาส์[20][c] and 14 of her 15 children were born there. Some furnishings were transferred from Carlton House, and others had been bought in France after the French Revolution[21] ในปี 1789 ในขณะที่พระราชวังเซนต์เจมส์ยังคงเป็นที่ประทับทางการและทางพิธีการของราชวงศ์[20] คำว่า "พระราชวังบักกิงแฮม" ก็ปรากฏใช้มาตั้งแต่อย่างน้อยในปี 1791 เป็นต้นมา[22]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ The topography of the site and its ownership are dealt with in Wright, chapters 1–4.
- ↑ The purchase price is given by Wright p. 142 as £28,000.
- ↑ The tradition persists of foreign ambassadors being formally accredited to "the Court of St James's", even though it is at Buckingham Palace that they present their credentials and staff to the Monarch upon their appointment.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Buckingham". Collins Dictionary. n.d. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
- ↑ "Palace". Collins Dictionary. n.d. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
- ↑ Royal Household (12 November 2015). "Buckingham Palace". Royal Family website. สืบค้นเมื่อ 21 April 2016.
- ↑ Goring, p. 15.
- ↑ Goring, p. 28.
- ↑ Goring, p. 18.
- ↑ "Chapter 1: The Acquisition of the Estate". The Grosvenor Estate in Mayfair. Survey of London. Vol. 39. London County Council. 1977. pp. 1–5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-13. สืบค้นเมื่อ 3 February 2009.
- ↑ Wright, p. 83.
- ↑ Goring, Chapter V
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Harris, p. 21.
- ↑ Wright, p. 96.
- ↑ Goring, p. 62.
- ↑ Goring, p. 58.
- ↑ "Who built Buckingham Palace?". Royal Collection Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2017. สืบค้นเมื่อ 8 March 2016.
- ↑ Harris, p. 22.
- ↑ Robinson, p. 14.
- ↑ Mackenzie, p. 12 and Nash, p. 18.
- ↑ Mackenzie, p. 12
- ↑ Harris, p. 24.
- ↑ 20.0 20.1 Old and New London. Vol. 4. Cassell, Petter & Galpin. 1878. pp. 61–74. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.
- ↑ Jones, p. 42.
- ↑ Burke, Edmund, บ.ก. (1791). The Annual Register. p. 8. สืบค้นเมื่อ 25 September 2016.
Buckingham-palace was the dwelling house of the king.
อ้างอิง
[แก้]- Allison, Ronald; Riddell, Sarah (1991). The Royal Encyclopedia. London: Macmillan. ISBN 0-333-53810-2
- Blaikie, Thomas (2002). You Look Awfully Like the Queen: Wit and Wisdom from the House of Windsor. London: Harper Collins. ISBN 0-00-714874-7.
- Goring, O. G. (1937). From Goring House to Buckingham Palace. London: Ivor Nicholson & Watson.
- Harris, John; de Bellaigue, Geoffrey; & Miller, Oliver (1968). Buckingham Palace. London: Nelson. ISBN 0-17-141011-4.
- Healey, Edma (1997). The Queen's House: A Social History of Buckingham Palace. London: Penguin Group. ISBN 0-7181-4089-3.
- Hedley, Olwen (1971) The Pictorial History of Buckingham Palace. Pitkin, ISBN 0-85372-086-X.
- Jones, Nigel R. (2005). Architecture of England, Scotland, and Wales. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-31850-4.
- King, Greg (2007). Twilight of Splendor: The Court of Queen Victoria During Her Diamond Jubilee Year. John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-04439-1.
- Mackenzie, Compton (1953). The Queen's House. London: Hutchinson.
- Nash, Roy (1980). Buckingham Palace: The Place and the People. London: Macdonald Futura. ISBN 0-354-04529-6.
- Peacocke, M. D. (1951). The Story of Buckingham Palace. London: Odhams Press.
- Rappaport, Helen (2003). Queen Victoria: A Biographical Companion. ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-355-7.
- Robinson, John Martin (1999). Buckingham Palace. Published by The Royal Collection, St James's Palace, London ISBN 1-902163-36-2.
- Williams, Neville (1971). Royal Homes. The Lutterworth Press. ISBN 0-7188-0803-7.
- Woodham-Smith, Cecil (1973). Queen Victoria (vol 1) Hamish Hamilton Ltd.
- Wright, Patricia (1999; first published 1996). The Strange History of Buckingham Palace. Stroud, Gloucs.: Sutton Publishing Ltd. ISBN 0-7509-1283-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Buckingham Palace at the Royal Family website
- Account of Buckingham Palace, with prints of Arlington House and Buckingham House เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Old and New London (1878)
- Account of the acquisition of the Manor of Ebury เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Survey of London (1977)
- The State Rooms, Buckingham Palace at the Royal Collection Trust
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ พระราชวังบักกิงแฮม ที่โอเพินสตรีตแมป
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2246
- ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในอังกฤษ
- ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในสหราชอาณาจักร
- สถาปัตยกรรมเอ็ดเวิร์ด
- สิ่งก่อสร้างแบบฟื้นฟูคลาสสิก
- พระราชวังในอังกฤษ
- พระราชวังในสหราชอาณาจักร
- สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 18
- สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1700
- สิ่งก่อสร้างในนครเวสต์มินสเตอร์
- บทความเกี่ยวกับ วัง ที่ยังไม่สมบูรณ์