ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่คูสค์

พิกัด: 51°43′N 36°11′E / 51.717°N 36.183°E / 51.717; 36.183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการที่เคิสก์)
ยุทธการคูสค์
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

การรุกที่โดดเด่นของฝ่ายเยอรมนีในช่วงการโจมตีที่คูสต์ และการรุกตอบโต้ของฝ่ายโซเวียตในบริเวณตอนเหนือ
วันที่5 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 (1943-07-05) – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1943 (1943-08-23)
(1 เดือน 2 สัปดาห์ 4 วัน)
  • การรุกของเยอรมนี: 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 (1943-07-05) – 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 (1943-07-16)
  • การรุกของโซเวียต: 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 (1943-07-12) – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1943 (1943-08-23)
สถานที่
ผล โซเวียตชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • หลังสงคราม โซเวียตได้ดินแดนเพิ่มพร้อมกับแนวหน้าที่กว้าง 2,000 กิโลเมตร (1,200 ไมล์)[a]
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน  สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • ปฏิบัติการซิทาเดล:
      • ทหาร 780,900 นาย[1]
      • รถถัง 2,928 คัน[1]
      • ปืนใหญ่และปืนครก 9,966 กระบอก[2]
  • ระยะรุกกลับของโซเวียต:
      • ทหาร 940,900 นาย[1]
      • รถถัง 3,253 คัน[1]
      • ปืนใหญ่และปืนครก 9,467 กระบอก[3]
  • อากาศยาน 2,110 ลำ[4]
  • ปฏิบัติการซิทาเดล:
      • ทหาร 1,910,361 นาย (รวมทหารที่สู้รบจริง 1,426,352 นาย)[5]
      • รถถัง 5,128 คัน[5]
      • ปืนใหญ่และปืนครก 25,013 กระบอก[2]
  • ระยะรุกกลับของโซเวียต:
      • ทหาร 2,500,000 นาย[5]
      • รถถัง 7,360 คัน[5]
      • ปืนใหญ่และปืนครก 47,416 กระบอก[3]
  • อากาศยาน 2,792[6][b] ถึง 3,549 ลำ[7][c]
ความสูญเสีย
  • ปฏิบัติการซิทาเดล:[d][8]
      • ทหาร 54,182 นาย[9][e][10]
      • รถถังและปืนใหญ่จู่โจมพังทลาย 252–323 อัน[11][12]
      • รถถังและปืนใหญ่จู่โจมพังทลายเสียหาย 1,612 อัน[13][14]
      • อากาศยาน 159 ลำ[15][16]
      • ปืนประมาณ 500 กระบอก[15]
  • ยุทธการคูสค์:[f]
      • ทหาร 165,314 (54,182 นายในช่วงปฏิบัติการซิทาเดล และ 111,132 นายในช่วงระยะรุกกลับของโซเวียต) [17][g] – 203,000 นาย[18]
      • รถถังและปืนใหญ่จู่โจมพังทลายประมาณ 760[19]-1,200 อัน[20]
      • อากาศยาน 681 ลำ (ในวันที่ 5–31 กรกฎาคม)[21][h]
  • ปฏิบัติการซิทาเดล:[d]
      • ทหาร 177,847 นาย[22][10]
      • รถถังและปืนใหญ่จู่โจมพังทลายหรือเสียหาย 1,614[23]–1,956 อัน[24]
      • อากาศยาน 459[25] ~ 1,000 ลำ[26]
  • ยุทธการคูสค์:[f]
      • ทหารเสียชีวิต หายตัว หรือถูกจับกุม 254,470 นาย
        บาดเจ็บหรือป่วย 608,833 นาย[27][i] (บาดเจ็บ 74% และป่วย 26%[28])
      • รวม 863,303 นาย[29] (บาดเจ็บและเสียชีวิตในสงครามประมาณ 710,000 นาย)
      • รถถังและปืนใหญ่จู่โจมถูกทำลายหรือเสียหายอย่างหนัก 6,064 อัน[30][j][12][31] (ในจำนวนนี้ ถูกทำลายไป 60–65%[32])
      • อากาศยานประมาณ 2,220 ลำ (รวมลำที่บินระยะไกล)[29]
      • ปืนใหญ่ 5,244 กระบอก[25]
ยุทธการที่คูสค์ตั้งอยู่ในรัสเซียฝั่งยุโรป
ยุทธการที่คูสค์
ที่ตั้งในประเทศรัสเซียในปัจจุบัน

ยุทธการที่คูสค์ (อังกฤษ: Battle of Kursk) เกิดขึ้นเมื่อกำลังเยอรมนีและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณย่านชานนครคูสค์ (Kursk) ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ 450 กิโลเมตร ในสหภาพโซเวียต ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ค.ศ. 1943 ยุทธการที่คูสค์เป็นทั้งชุดของการสงครามยานเกราะที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงยุทธการที่โปรโฮรอฟกา และการสงครามทางอากาศวันเดียวราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ ยุทธการนี้นับเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีที่สามารถดำเนินการได้ในทางตะวันออก ชัยชนะเด็ดขาดของโซเวียตที่เป็นผลให้กองทัพแดงมีการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในช่วงที่เหลือของสงคราม

ฝ่ายเยอรมนีหวังจะย่นแนวรบของตนโดยกำจัดส่วนที่ยื่นออกมาที่คูสค์ ซึ่งเป็นผลมาจากความพ่ายแพ้ในยุทธการที่สตาลินกราด คีมตามที่คิดไว้ล่วงหน้าเจาะผ่านปีกด้านเหนือและใต้เพื่อบรรลุการล้อมกำลังกองทัพแดงใหญ่ อย่างไรก็ดี ฝ่ายโซเวียตมีข่าวกรองเจตนาของกองทัพเยอรมัน ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับความล่าช้าของเยอรมนีที่ต้องรออาวุธใหม่ ส่วนใหญ่คือ รถถังทีเกอร์และแพนเธอร์[33][34] ทำให้กองทัพแดงมีเวลาสร้างแนวป้องกันเป็นชุดและเก็บกำลังหนุนขนาดใหญ่เพื่อการตีโต้ตอบทางยุทธศาสตร์[35]

โดยได้รับแจ้งล่วงหน้าหลายเดือนว่าการโจมตีจะเกิดแก่คอของส่วนที่ยื่นออกมาที่คูสค์ ฝ่ายโซเวียตวางแผนที่จะชะลอ หันเห ตลอดจนทำให้หัวหอกแพนเซอร์อันทรงพลังของเยอรมนีอ่อนกำลังและค่อย ๆ ยอมจำนน โดยบีบให้พวกเขาโจมตีผ่านเครือข่ายเขตทุ่นระเบิด เขตยิงปืนใหญ่มองเห็นล่วงหน้า (pre-sighted artillery fire zone) และที่มั่นแข็งแรงต่อสู้รถถังที่อำพรางไว้ ประกอบด้วยแนวป้องกันมีพื้นที่ว่างแปดแนว ลึก 250 กิโลเมตร ซึ่งลึกกว่า 10 เท่าของแนวมากีโน และมีปืนใหญ่ต่อสู้รถถังกว่าอัตรา 1:1 ของยานพาหนะที่จะเข้าตี ซึ่งเชื่อมต่อถึงกันอย่างกว้างขวาง จนถึงปัจจุบันยังเป็นงานการป้องกันที่กว้างขวางที่สุดที่เคยก่อสร้างมา และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีความลึกเกินกว่าสามเท่าของความลึกที่จำเป็นต่อการชะลอขอบเขตไกลที่สุดของการโจมตีฝ่ายเยอรมัน[36]

เมื่อกองทัพเยอรมันหมดกำลังไปกับการป้องกัน ฝ่ายโซเวียตก็สนองด้วยการตีโต้ตอบ ซึ่งทำให้กองทัพแดงยึดโอเรลและเบลโกรอดคืนได้เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม และฮาร์คอฟเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม และผลักดันฝ่ายเยอรมันกลับไปข้ามแนวรบอันกว้างใหญ่

แม้กองทัพแดงจะเคยประสบความสำเร็จในฤดูหนาว แต่ชัยชนะครั้งนี้นับเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ในฤดูร้อนของโซเวียตที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในสงคราม ปฏบัติการยุทธศาสตร์อันเป็นต้นแบบนี้ได้บรรจุในหลักสูตรวิทยาลัยการทัพ[37] ยุทธการคูสค์เป็นยุทธการครั้งแรกซึ่งการรุกบลิทซครีกประสบความล้มเหลวก่อนที่จะสามารถเจาะผ่านการป้องกันของข้าศึกและเข้าไปในความลึกเชิงยุทธศาสตร์ (strategic depth)[38]

แม้ว่ากองทัพเยอรมันจะถูกผลักดันแต่จอมพลเอริค ฟอน มันสไตน์ตั้งใจจะตั้งรับโซเวียตในแนวรบตะวันออกให้ได้แต่ทว่ากลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด เนื่องจากฮิตเลอร์ได้สั่งให้ถอนกำลังยานเกราะแพนเซอร์ไปยังอิตาลี เพราะได้ข่าวว่ากองทัพสัมพันธมิตรได้บุกยึดเกาะซิซิลีแล้ว อิตาลีภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินีกำลังตกอยู่ในอันตราย ดังนั้นฮิตเลอร์ต้องช่วยเหลือด่วน. ฟอน มันสไตน์ได้พยายามคัดค้านแต่กลับไร้ผล เมื่อไร้ยานเกราะแพนเซอร์ กองทัพแดงกลับสามารถรุกได้อย่างรวดเร็วจนกองทัพเยอรมันต้องออกจากดินแดนรัสเซีย. ฟอน มันสไตน์ได้โทษฮิตเลอร์ว่าการวางแผนรบของฮิตเลอร์นั้นไร้สาระ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "With the final destruction of German forces at Kharkov, the Battle of Kursk came to an end. Having won the strategic initiative, the Red Army advanced along a 2,000 กิโลเมตร (1,200 ไมล์) front." (Taylor & Kulish 1974, p. 171).
  2. The breakdown as shown in Bergström (2007, pp. 127–128) is as follows: 1,030 aircraft of 2nd Air Army and 611 of 17th Air Army on the southern sector (Voronezh Front), and 1,151 on the northern sector (Central Front).(Bergström 2007, p. 21).
  3. The breakdown as shown in Zetterling & Frankson (2000, p. 20) is as follows: 1,050 aircraft of 16th Air Army (Central Front), 881 of 2nd Air Army (Voronezh Front), 735 of 17th Air Army (only as a secondary support for Voronezh Front), 563 of the 5th Air Army (Steppe Front) and 320 of Long Range Bomber Command.
  4. 4.0 4.1 ปฏิบัติการซิทาเดล (เยอรมัน: Operation Zitadelle) หมายถึง ช่วงการโจมตีของเยอรมนีตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 16 กรกฎาคม ความสูญเสียของฝ่ายโซเวียตเป็นช่วง 5-23 กรกฎาคม
  5. The breakdown as shown in Frieser (2007, p. 154) is as follows: 9,063 KIA, 43,159 WIA and 1,960 MIA.
  6. 6.0 6.1 ยุทธการคูสค์ทั้งหมดหมายถึงช่วงการโจมตีของเยอรมนีและการตีโต้ตอบของโซเวียตตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคมถึง 23 สิงหาคม
  7. The breakdown as shown in Frieser (2007, pp. 197, 200) is as follows: 86,064, of whom 25,515 dead or missing; Belgorod-Kharkov Offensive Operation 25,068 men, of whom 8,933 dead or missing.
  8. Figures for 5–31 July, as given by the Luftwaffe logistics staff (Generalquartiermeister der Luftwaffe).
  9. The breakdown as shown in Krivosheev (1997, pp. 132–134) is as follows: Kursk-defence: 177,847; Orel-counter: 429,890; Belgorod-counter: 255,566.
  10. The breakdown as shown in Krivosheev (1997, p. 262) is as follows: Kursk-defence; 1,614. Orel-counter; 2,586. Belgorod-counter; 1,864.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Glantz & House 2004, p. 338.
  2. 2.0 2.1 Glantz & House 1995, p. 165.
  3. 3.0 3.1 Frieser 2007, p. 100.
  4. Bergström 2007, pp. 123–125: Figures are from German archives. Bundesarchiv-Militararchiv, Freiburg; Luftfahrtmuseum, Hannover-Laatzen; WASt Deutsche Dienststelle, Berlin.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Glantz & House 2004, p. 337.
  6. Bergström 2007, pp. 127–128, figures are from Russian archives; Russian aviation trust; Russian Central Military Archive TsAMO, Podolsk; Russian State Military Archive RGVA, Moscow; Monino Air Force Museum, Moscow..
  7. Zetterling & Frankson 2000, p. 20.
  8. U.S. Army Concepts Analysis Agency, Kursk Operation Simulation and Validation Exercise – Phase III (KOSAVE II), p. 5-14 through 5–15.
  9. Frieser 2007, pp. 153, 200.
  10. 10.0 10.1 Beevor 2012, p. 485.
  11. Glantz & House 2004, p. 276.
  12. 12.0 12.1 Frieser 2007, p. 200.
  13. Operation Barbarossa: the Complete Organisational and Statistical Analysis, and Military Simulation Volume I
  14. Searle 2017, p. 80.
  15. 15.0 15.1 Frieser 2007, p. 154.
  16. Clark 2012, p. 408.
  17. Frieser 2007, pp. 197, 200.
  18. Zetterling & Frankson 2000, pp. 117, 116, and endnote 18: For all participating armies in the Kursk area, there were 203,000 casualties for July and August.
  19. Frieser 2007, p. 201: Exact numbers are unknown; the entire German eastern front lost 1,331 tanks and assault guns for July and August, so the number of 760 is an estimate.
  20. Töppel 2017, p. 203.
  21. Bergström 2008, p. 120.
  22. Krivosheev 2001, p. Kursk.
  23. Krivosheev 2001, p. Weapons and military equipment. Production and loss.
  24. Frieser 2007, p. 150.
  25. 25.0 25.1 Krivosheev 2001.
  26. Koltunov & Solovyev 1970, p. 366.
  27. Krivosheev 1997, pp. 132–134.
  28. N. Ivanov, A. Georgievsky and O. Lobastov. "Soviet health care and military medicine in the Great Patriotic War of 1941–1945". p. 205
  29. 29.0 29.1 Kursk 1943 The Greatest Battle of the Second World War by Roman Toeppel 2018 p. 207
  30. Krivosheev 1997, p. 262.
  31. Kursk 1943 The Greatest Battle of the Second World War by Roman Toeppel 2018 p. 206
  32. Hill, Alexander (2016-12-24). The Red Army and the Second World War. ISBN 9781107020795.
  33. Dunn 1997, p. p. x.
  34. Kasdorf, p. 16.
  35. Glantz 1989, pp. 149–59.
  36. Keegan 2006.
  37. Glantz 1986.
  38. Glantz & House 1995, p. 167.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

51°43′N 36°11′E / 51.717°N 36.183°E / 51.717; 36.183