ข้ามไปเนื้อหา

การทัพกัวดัลคะแนล

พิกัด: 9°26′44″S 160°01′13″E / 9.44556°S 160.02028°E / -9.44556; 160.02028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การทัพกัวดานาแนล)
การทัพกัวดัลคะแนล
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก ใน สงครามโลกครั้งที่สอง
United States Marines rest in the field during the Guadalcanal campaign
นาวิกโยธินสหรัฐกำลังพักผ่อนที่ฐานขณะปฏิบัติการกัวดัลคะแนล
วันที่7 สิงหาคม ค.ศ.1942 – 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1943
(6 เดือน 2 วัน)
สถานที่
กัวดัลคะแนล ในหมู่เกาะโซโลมอน
ผล

สัมพันธมิตรได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด

  • จุดเริ่มต้นการรุกของสัมพันธมิตรในแปซิฟิก
คู่สงคราม
 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โรเบิร์ต แอล. อร์มลีย์
วิลเลียม ฮอลซี จูเนียร์
ริชมอนด์ เค. เทอร์เนอร์
อเล็กซานเดอร์ แวนดกริฟ์
อเล็กซานเดอร์ แพตช์
แฟรงก์ แจ็ค เฟล็ตเชอร์
อิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ
ฮิโรอากิ อะเบะ
โนบูตาเกะ คนโด
Nishizo Tsukahara
ทาเกโอะ คูริตะ
Jinichi Kusaka
โชจิ นิชิมูระ
Gunichi Mikawa
Raizō Tanaka
Hitoshi Imamura
Harukichi Hyakutake
กำลัง
60,000 คน (บนบก)[4] 36,200 คน (บนบก)[5]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 7,100 คน
บาดเจ็บประมาณ 7,789+ คน[6]
ถูกจับ 4 คน
เรือรบ 29 ลำ
เครื่องบิน 615 ลำ[7]

เสียชีวิต 19,200 คน

  • ประมาณ 8,500+ คน เสียชีวิตในการรบ[8]
ถูกจับ 1,000 คน
เรือรบ 38 ลำ
เครื่องบิน 683–880 ลำ[9]

การทัพกัวดัลคะแนล (อังกฤษ: Guadalcanal campaign) หรือเรียก ยุทธการที่กัวดัลคะแนล และมีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการวอชทาวเวอร์ (อังกฤษ: Operation Watchtower) เดิมใช้เฉพาะกับปฏิบัติการชิงเกาะทูลากิ (Tulagi) โดยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นการทัพที่ต่อสู้ระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 บนและรอบเกาะกัวดัลคะแนลในเขตสงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการรุกสำคัญครั้งแรกของกองทัพสัมพันธมิตรต่อจักรวรรดิญี่ปุ่น

วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1942 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยนาวิกโยธินสหรัฐเป็นหลัก ขึ้นบกบนเกาะกัวดัลคะแนล ทูลากิและฟลอริดาในหมู่เกาะโซโลมอนตอนใต้ โดยมีวัตถุประสงค์มิให้ฝ่ายญี่ปุ่นใช้เพื่อคุกคามเส้นทางการส่งกำลังและคมนาคมระหว่างสหรัฐ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ฝ่ายสัมพันธมิตรยังตั้งใจใช้กัวดัลคะแนลและทูลากิเป็นฐานสนับสนุนการทัพเพื่อยึดหรือทำลายฐานญี่ปุ่นหลักที่ราบาอูล (Rabaul) บนเกาะนิวบริเตนต่อไป ฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนเหนือกว่าฝ่ายป้องกันญี่ปุ่นมาก ซึ่งยึดครองหมู่เกาะนี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 และยึดทูลากิและฟลอริดา ตลอดจนสนามบิน (ต่อมาได้ชื่อว่า เฮนเดอร์สันฟีลด์) ซึ่งกำลังก่อสร้างบนกัวดัลคะแนล ทัพเรือสหรัฐที่ทรงพลังสนับสนุนการขึ้นบก

ฝ่ายญี่ปุ่นประหลาดใจกับการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน พยายามยึดเฮนเดอร์สันฟีลด์คืน มียุทธการทางบกใหญ่สามครั้ง ยุทธการทางเรือขนาดใหญ่เจ็ดครั้ง (การปฏิบัติผิวน้ำยามกลางคืนห้าครั้งและการยุทธ์ของเรือบรรทุกเครื่องบินสองครั้ง) และการยุทธ์ทางอากาศต่อเนื่องแทบทุกวันในยุทธนาวีที่กัวดัลคะแนลที่เด็ดขาดในต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของญี่ปุ่นในการระดมยิงเฮนเดอร์สันฟีลด์จากทางทะเลและทางบกพร้อมด้วยกำลังพลมากพอยึดคืนแต่ปราชัย ในเดือนธันวาคม ญี่ปุ่นทิ้งความพยายามยึดกัวดัลคะแนลคืนและอพยพกำลังที่เหลืออยู่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 เมื่อเผชิญกับการรุกโดยกองทัพน้อยที่ 14 ของกองทัพบกสหรัฐ

การทัพกัวดัลคะแนลเป็นชัยชนะการรบผสมเหล่า (combined arms) ทางยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรต่อญี่ปุ่นในเขตสงครามแปซิฟิก ญี่ปุ่นถึงจุดสูงสุดในการพิชิตในมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว ชัยชนะที่มิลเนเบย์ (Milne Bay) บูนา-โกนา (Buna-Gona) และกัวดัลคะแนลเป็นสัญลักษณ์การเปลี่ยนของฝ่ายสัมพันธมิตรจากปฏิบัติการตั้งรับเป็นการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในเขตสงครามนั้น นำไปสู่ปฏิบัติการรุก เช่น การทัพหมู่เกาะโซโลมอน นิวกินีและมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ซึ่งผลให้ในบั้นปลายญี่ปุ่นยอมจำนนและสงครามโลกครั้งที่สองยุติ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

9°26′44″S 160°01′13″E / 9.44556°S 160.02028°E / -9.44556; 160.02028

  1. Zimmerman, pp. 173–175 documents the participation by native Solomon Islanders in the campaign [1].
  2. Jersey, pp. 356–358. Assisting the Americans in the latter stages of campaign were Fijiian commandos led by officers and non-commissioned officers from the New Zealand Expeditionary Force.
  3. Garamone, Jim (9 November 2010). "Mullen Thanks Tonga for Steadfast Support". U.S. Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-23. สืบค้นเมื่อ 19 August 2016.
  4. Frank, pp. 57, 619–621; and Rottman, p. 64. Approximately 20,000 U.S. Marines and 40,000 U.S. Army troops were deployed on Guadalcanal at different times during the campaign.
  5. Rottman, p. 65. 31,400 men Imperial Japanese Army and 4,800 men Imperial Japanese Navy troops were deployed to Guadalcanal during the campaign. Jersey claims that 50,000 total Japanese army and navy troops were sent to Guadalcanal and that most of the original naval garrison of 1,000–2,000 men was successfully evacuated in November and December 1942 by Tokyo Express warships (Jersey, pp. 348–350).
  6. The USMC History Division เก็บถาวร 2016-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน states that the US ground forces (Army and Marine Corps) suffered 4,709 total wounded. Marine air units add another 127 to this figure. Frank pg. 644 notes that the Bureau of Personnel, World War II Casualty List, Books 2 and 3, Naval Historical Center, Washington, D.C. lists US Navy wounded over the course of the campaign as 2,953, but this number appears to be an understatement.
  7. Frank, pp. 598–618; and Lundstrom, p. 456. 85 Australians were killed in the Battle of Savo Island. Total Solomon Islander deaths are unknown. Most of the rest, if not all, of those killed were American. Numbers include personnel killed by all causes including combat, disease, and accidents. Losses include 1,768 dead (ground), 4,911 dead (naval), and 420 dead (aircrew). Four U.S. aircrew were captured by the Japanese during the Battle of the Santa Cruz Islands and survived their captivity. An unknown number of other U.S. ground, naval, and aircrew personnel were, according to Japanese records, captured by Japanese forces during the campaign but did not survive their captivity and the dates and manners of most of their deaths are unknown (Jersey, pp. 346, 449). Captured Japanese documents revealed that two captured Marine scouts had been tied to trees and then vivisected while still alive and conscious by an army surgeon as a medical demonstration (Clemens, p. 295). Ships sunk includes both warships and "large" auxiliaries. Aircraft destroyed includes both combat and operational losses.
  8. Cowdrey (1994) pg. 71, "Of the 19,200 dead, only 8,500 were 'killed in actual combat,' the majority perishing by malnutrition, malaria, diarrhea, and beriberi." Naval personnel deaths both on land and at sea are not factored into this total.
  9. Frank, pp. 598–618, Shaw, p. 52, and Rottman, p. 65. Numbers include personnel killed by all causes including combat, disease, and accidents. Losses include 24,600–25,600 dead (ground), 3,543 dead (naval), and 2,300 dead (aircrew). Most of the captured personnel were Korean slave laborers assigned to Japanese naval construction units. Ships sunk includes warships and "large" auxiliaries. Aircraft destroyed includes both combat and operational losses.