พระเจ้าพุกาม
พระเจ้าพุกาม ပုဂံမင်း | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าฟ้าแห่งพุกาม | |||||
พระมหากษัตริย์พม่า | |||||
ครองราชย์ | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2396 | ||||
ราชาภิเษก | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390[1] | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าแสรกแมง | ||||
ถัดไป | พระเจ้ามินดง | ||||
พระราชสมภพ | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2354 อมรปุระ Maung Htin | ||||
สวรรคต | 14 มีนาคม พ.ศ. 2423 (68 ปี) มัณฑะเลย์ | ||||
ฝังพระศพ | มัณฑะเลย์ | ||||
ชายา | มี่นชเวจู พระราชินี 18 พระองค์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โก้นบอง | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าแสรกแมง | ||||
พระราชมารดา | Me Myat Shwe เจ้าหญิงแห่งตองอู | ||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระเจ้าพุกาม (พม่า: ပုဂံမင်း ปะกานมี่น) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 ของราชวงศ์โก้นบอง พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2354 พระองค์ยึดอำนาจจากพระราชบิดาคือพระเจ้าแสรกแมงที่มีพระอาการสติฟั่นเฟือน เมื่อ พ.ศ. 2388 จนกระทั่งพระเจ้าแสรกแมงสวรรคตใน พ.ศ. 2389 พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389 พระอิสริยยศเดิมคือ สมเด็จพระราชาธิบดี "ศรีบวรวิชัยนันทจัตตามหาธรรมราชาธิราช พุกามมิน ตะยาจี"
ในรัชกาลของพระองค์ ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างพ่อค้าอังกฤษกับขุนนางพม่าขึ้นเสมอในพะโค จนลุกลามเป็นสงครามระหว่าง พ.ศ. 2394 ซึ่งเมาโอ๊กเมียนหวุ่นประจำพะโคได้กล่าวหากัปตันและลูกเรือชาวอังกฤษ 2 คนว่าทำผิดระเบียบเมืองท่าของพม่าและเป็นฆาตกร จึงนำตัวขึ้นศาลและสั่งปรับเป็นเงิน 1,000 รูปี ฝ่ายอังกฤษเห็นว่าเป็นการลบหลู่เกียรติจึงประท้วง เมื่อการเจรจาไม่ได้ผล อังกฤษจึงประกาศปิดอ่าวเมาะตะมะในเดือนมกราคม พ.ศ. 2394 และเข้ายึดเรือของกษัตริย์พม่าในวันที่ 22 มกราคม และทำลายเรือรบพม่าหลายลำ
อังกฤษเรียกร้องให้พม่าจ่ายค่าเสียหายและทำหนังสือขอโทษภายในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2395 เมื่อพม่าไม่ทำตาม อังกฤษจึงเข้าโจมตีพม่า ยึดเมาะตะมะ ย่างกุ้ง พะสิม แปร และพะโคไปตามลำดับ อังกฤษประกาศผนวกมณฑลพะโคในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2395 ในครั้งแรกอังกฤษเตรียมวางแผนจะโจมตีต่อไปถึงเมืองอมรปุระ แต่ทางพม่าได้เกิดกบฏขึ้น เจ้าชายมินดง พระเชษฐาของพระเจ้าพุกามแมงซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามกับอังกฤษตั้งแต่ต้น ได้ก่อกบฏขึ้นและปลดพระองค์ออกจากราชสมบัติเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2396 แต่ยังให้พระองค์คงพระชนม์ชีพอยู่ต่อไป พระองค์สวรรคตเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2423
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]มีนักแสดงผู้รับบท พระเจ้าจักกายแมง ได้แก่
- ทองขาว ภัทรโชคชัย จากละครเรื่อง เพลิงพระนาง (2539)
- วินัย ไกรบุตร จากละครเรื่อง เพลิงพระนาง (2560)
นอกจากนี้ยังมีการนำพระนามพระเจ้าพุกามตั้งเป็นตัวละครหลักในเกม ฟาร์คราย 4
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (Maung Maung Tin Vol. 2 2004: 56): วันเสาร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนดะบ้อง 1208 ME = 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847
บรรณานุกรม
[แก้]- Charney, Michael W. (2006). Powerful Learning: Buddhist Literati and the Throne in Burma's Last Dynasty, 1752–1885. Ann Arbor: University of Michigan.
- Richard Cobden (1853). How wars are got up in India: The origin of the Burmese War. University of Michigan Libraries.
- Maung Maung Tin, U (2004) [1905]. Konbaung Set Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3. Yangon: Department of Universities History Research, University of Yangon.
- วิไลเลขา ถาวรธนสาร. "สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 2." ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A–B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2539, หน้า 163–166.
ก่อนหน้า | พระเจ้าพุกาม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าแสรกแมง | พระมหากษัตริย์พม่า (อาณาจักรพม่ายุคที่ 3) (พ.ศ. 2389–2396) |
พระเจ้ามินดง |