ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าตาลูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าตาลูน
သာလွန်
อนุสาวรีย์ของพระเจ้าตาลูนที่พระราชวังมัณฑะเลย์
พระเจ้ากรุงหงสาวดี
พระเจ้ากรุงอังวะ
ครองราชย์19 สิงหาคม 2172 – 27 สิงหาคม 2191
ก่อนหน้าพระเจ้ามีนเยเดะบะ
ต่อไปพระเจ้าปีนดะเล
พระราชสมภพ17 มิถุนายน พ.ศ. 2127[1]
สวรรคต27 สิงหาคม พ.ศ. 2191 (64 พรรษา)
อังวะ
ฝังพระศพ29 สิงหาคม พ.ศ. 2191
พระราชวังอังวะ
คู่อภิเษกKhin Myo Sit[2]
Khin Thet Hnin of Mone
Khin Myat Hset of Pinya
พระราชบุตร11 พระโอรส และ 20 พระธิดา รวมถึง: พระเจ้าปีนดะเล
พระเจ้าปเย
พระนามเต็ม
ชื่อพระราชสมภพ: ทาคิน กยี[3]
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาพระเจ้าญองยาน
พระราชมารดาKhin Hpone Myat[4]
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าตาลูน (พม่า: သာလွန်မင်း, ออกเสียง: [θàlʊ̀ɰ̃]; 17 มิถุนายน 2127 – 29 สิงหาคม 2191) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 8 ของ ราชวงศ์ตองอู เป็นพระอนุชาของ พระเจ้าอะเนาะเพะลูน และเป็นพระโอรสของ พระเจ้าสีหสุธรรมราชา หรือ เจ้าญองยาน พระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง กล่าวคือพระองค์เองและพระเชษฐาธิราชต่างก็เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง

พระเจ้าตาลูน ทรงครองราชย์ต่อจาก พระเจ้ามีนเยเดะบะ ผู้เป็นพระภาติยะของพระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องมากองค์หนึ่งของพม่า โดยเฉพาะในด้านศาสนาและการปกครอง ทรงจัดสวัสดิการให้ประชาชน ปรับปรุงระเบียบการปกครอง ฟื้นฟูหลักพระธรรมศาสตร์ในสมัยพุกาม ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องเป็นธรรมราชา

ด้านการทหาร ทรงสามารถเกณฑ์ไพร่พลเพิ่มจาก 20,000 เป็น 400,000 ได้ และต้านทานการรุกรานจากจีนได้ในปี พ.ศ. 2180 อาณาจักรของพระองค์ครอบคลุมพม่าในปัจจุบัน (ยกเว้นยะไข่) และล้านนาทั้งหมด (กล่าวกันว่ารวมถึงล้านช้างด้วย)

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจคือ ที่กล่าวกันว่าพระองค์บำรุงพระศาสนานั้น อันที่จริงก็มีความเกี่ยวพันกับการเกณฑ์ทหารและแรงงาน กล่าวคือปี ค.ศ. 1636 พระองค์จัดสอบเพื่อวัดความรู้พระไตรปิฎกสำหรับพระและเณร ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้พระองค์ต้องการคัดแยกคนที่มาบวชเป็นพระเพียงเพราะต้องการหนีการเกณฑ์ไพร่พลออกไปเสีย เพราะโดยทั่วไปพระสงฆ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปเป็นทหารในระบบ ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าตาลูนมิได้บังคับให้พระต้องสอบวัดความรู้ แต่ยังคงควบคุมกระบวนการเข้าระบบสงฆ์[5]

พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงจากหงสาวดี กลับไปอังวะ ในปี พ.ศ. 2178 ซึ่งเป็นฐานอำนาจเดิมของพระบิดาและพระเชษฐาเนื่องจากหงสาวดีทรุดโทรมมาก จากผลของการศึกสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และถูกพวกยะไข่เผา และต้องการกลับไปยังอังวะซึ่งเป็นเมืองดั้งเดิมของชาวพม่า (หงสาวดีเดิมเป็นเมืองของชาวมอญก่อนถูกพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีแตกและย้ายเมืองหลวงมา) รัชสมัยของพระองค์เน้นการศาสนามาก จนละเลยหัวเมืองมอญ อันส่งผลให้หัวเมืองมอญกบฏในเวลาต่อมา และเมื่อปี พ.ศ. 2191 พระเจ้าตาลูนสิ้นพระชนม์ เหล่าขุนนางเลยอัญเชิญ พระเจ้าปีนดะเล พระราชโอรสของพระองค์ครองราชย์ต่อไป

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hmannan Vol. 3 2003: 247
  2. Hmannan Vol. 3 2003: 249–251
  3. Hmannan Vol. 3 2003: 143
  4. Hmannan Vol. 3 2003: 42
  5. สยาดอว์ ศ.ดร.คำหมาย ธัมมสามิ, ภัทร สุวรรณวัฒนา แปล, อุดมการณ์นิยมและปฏิบัตินิยม: การศึกษาทางพระในพม่าและไทย จากศตวรรษที่สิบเจ็ดถึงปัจจุบัน
  • Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar. 1829.
ก่อนหน้า พระเจ้าตาลูน ถัดไป
พระเจ้าอโนเพตลุน พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 2)

(พ.ศ. 2172 - พ.ศ. 2191)
พระเจ้าพินดาเล