พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ มังฆ้อง (แก้ความกำกวม)
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
กษัตริย์แห่ง อาณาจักรอังวะ
ครองราชย์25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1400 – ประมาณ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1422
ก่อนหน้าพระเจ้าตราพระยาแห่งอังวะ
ถัดไปพระเจ้าฝรั่งมังศรี
พระราชบิดาพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา
ประสูติ13 กันยายน ค.ศ. 1373
กันบะลู, อาณาจักรอังวะ
สวรรคตประมาณ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1422 (48 พรรษา)
อังวะ, อาณาจักรอังวะ
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง (พม่า: ဘုရင်မင်းခေါင်) หรือภาษาพม่าว่า ปฐมมิงกอง (พม่า: ပထမ မင်းခေါင် [pətʰəma̰ mɪ́ɴɡàʊɴ] แปลว่า พระเจ้ามังฆ้องที่ 1 แห่งอังวะ; ค.ศ. 1373 (พ.ศ. 1916) – ประมาณ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1422 (พ.ศ. 1965) หรือ พระเจ้ามนเทียรทอง เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอังวะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1400 (พ.ศ. 1943) ถึงปี ค.ศ. 1422 (พ.ศ. 1965) เป็นที่รู้จักในพงศาวดารพม่าเกี่ยวกับการทำสงครามกับพระเจ้าราชาธิราช (Razadarit) แห่งราชอาณาจักรหงสาวดีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1385 ถึงปี ค.ศ. 1424 ซึ่งเรียก "สงครามสี่สิบปี" (Forty Years' War) และในฐานะที่เป็นพระบิดาของมังรายกะยอชวา (Minyekyawswa)

พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเสด็จสู่ราชสมบัติหลังจากพระเจ้าพี่ยาเธอถูกปลงพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1400 (พ.ศ. 1943) ในช่วงแรกหลังเสวยราชย์ คือ ระหว่างปี ค.ศ. 1400 ถึงปี ค.ศ. 1406 พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงเผชิญความวุ่นวายทั้งภายในและภายนอก เกิดการกระด้างกระเดื่องไปทั่ว มีการรุกรานจากไทใหญ่ด้านทิศเหนือ ยะไข่ทางด้านตะวันตก พร้อมด้วยสงครามกับพระเจ้าราชาธิราชกษัตริย์มอญจากทางใต้ ครั้นปี ค.ศ. 1406 พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงกุมสถานการณ์ทั้งหมดและทรงสามารถตีต้านได้ ในปีนั้นเองทรงมีชัยเหนือไทใหญ่ ครั้นปี ค.ศ. 1404 ถึง ค.ศ. 1414 กองทัพอาณาจักรอังวะและอาณาจักรหงสาวดีสู้กันอย่างดุเดือดในพม่าตอนใต้ พม่าตอนเหนือ และรัฐยะไข่ ขณะที่ราชวงศ์หมิงก็คอยยุยงให้ไทใหญ่ส่งการก่อกวนเข้าประสมโรงเป็นระยะ ๆ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1413[1] พอปี ค.ศ. 1417 มังรายกะยอชวาพระโอรสเกือบมีชัยชนะเหนืออาณาจักรหงสาวดีในพม่าตอนใต้ได้ทั้งหมด แต่ต้องศัสตราวุธถึงแก่พระชนม์ในที่รบเสียก่อน มอญและพม่ายังคงรบรากันต่อไปจนปี ค.ศ. 1418 ก็เบื่อหน่ายสงครามและเลิกรากันไปในที่สุด[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Phayre 1883: 58–60
  2. Htin Aung 1967: 90–93
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.