ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรมยีนไซ่ง์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรมยีนไซง์)
อาณาจักรมยีนไซ่ง์

မြင်စိုင်းပြည်
ค.ศ. 1297–1313
มยีนไซ่ง์ราว ค.ศ. 1310
มยีนไซ่ง์ราว ค.ศ. 1310
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงมยีนไซ่ง์, แมะคะยา, ปีนแล
ภาษาทั่วไปพม่า, ไทใหญ่, มอญ
ศาสนา
พุทธเถรวาท, พุทธมหายาน, วิญญาณนิยม
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 1297–1310
อะทินคะยา, ราซะทินจาน, พระเจ้าสีหตู
• ค.ศ. 1310–1312/1313
ราซะทินจาน, พระเจ้าสีหตู
• ค.ศ. 1313
พระเจ้าสีหตู
ยุคประวัติศาสตร์รณรัฐ
ค.ศ. 1277–1287
17 ธันวาคม ค.ศ. 1297
8 พฤษภาคม ค.ศ. 1299
ค.ศ. 1300–01
• ขับมองโกลออก
4 เมษายน ค.ศ. 1303
• สีหตูสถาปนาเป็นกษัตริย์
20 ตุลาคม ค.ศ. 1309
7 กุมภาพันธ์ 1313
15 พฤษภาคม ค.ศ. 1315
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรพุกาม
อาณาจักรปี้นยะ

อาณาจักรมยีนไซ่ง์ (พม่า: မြင်စိုင်းပြည် [mjɪ̀ɰ̃záɪɰ̃ kʰɪʔ]) คืออาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนกลางระหว่าง ค.ศ. 1297–1313 สถาปนาโดยเจ้าชายสามพี่น้องแห่งมยีนไซ่ง์ (อะทินคะยา, ราซะทินจาน และพระเจ้าสีหตู)[1] เป็นหนึ่งในอาณาจักรเล็ก ๆ ที่ประกาศตัวเป็นอิสระหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกามเมื่อ ค.ศ. 1287 อาณาจักรมยีนไซ่ง์ประสบความสำเร็จในการต้านทานการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลครั้งที่สองช่วง ค.ศ. 1300–1301 นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมพม่าตอนกลางให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ โดยเริ่มจากตะก้องทางตอนเหนือ ถึงแปรทางตอนใต้ อาณาจักรมยีนไซ่ง์และการปกครองร่วมกันของเจ้าชายสามพี่น้องสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1310 ถึงปี ค.ศ. 1313 จากการสวรรคตของพระเชษฐาสองพระองค์ของพระเจ้าสีหตู พระเจ้าสีหตูจึงได้สถาปนาอาณาจักรใหม่คือ อาณาจักรปี้นยะ ขณะเดียวกันพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าสีหตูได้แยกตัวเป็นอิสระจากพระราชบิดาและสถาปนาอาณาจักรซะไกง์ ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1315 ทำให้พม่าตอนกลางแบ่งเป็น 2 อาณาจักรแยกจากกัน กระทั่งมีการสถาปนาอาณาจักรอังวะในอีก 5 ทศวรรษต่อมา

ประวัติ

[แก้]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

[แก้]

ความแตกต่างตามพงศาวดาร

[แก้]

ราชพงศาวดารหลายเล่มรายงานภาพรวมเหตุการณ์โดยทั่วไปคล้ายกัน แต่ก็ยังมีบางส่วนที่แตกต่างกัน จารึกร่วมสมัยแสดงให้เห็นว่าลำดับการพระราชสมภพและลำดับการสวรรคตของบรรดาพี่น้องที่ปรากฏในพงศาวดาร มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ ล้วนถูกต้อง ในขณะที่พงศาวดารอื่น ๆ มีข้อผิดพลาด

หัวข้อ Zatadawbon Yazawin (1680) มหาราชวงศ์ (1724) มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ (1798) มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (1832) ทางวิชาการ
ชื่อราชวงศ์ ปี้นยะ[2] มยีนไซ่ง์[3] มยีนไซ่ง์[4] มยีนไซ่ง์–ปี้นยะ[5] มยีนไซ่ง์ หรือ มยีนไซ่ง์–ปี้นยะ
ลำดับพระราชสมภพ ราซะทินจาน[2]
อะทินคะยา
พระเจ้าสีหตู
ราซะทินจาน[6]
อะทินคะยา
พระเจ้าสีหตู
อะทินคะยา[7]
ราซะทินจาน
พระเจ้าสีหตู
อะทินคะยา[8]
ราซะทินจาน
พระเจ้าสีหตู
อะทินคะยา
ราซะทินจาน
พระเจ้าสีหตู
เริ่มต้นราชวงศ์ 1300[2] 1300[9] 1298[10] 1298[8] 17 ธันวาคม 1297[11]
สงครามกับจักรวรรดิมองโกล 1304–05[2] 1302–03[3][note 1] 1300–01[7] 1300–01[8] มกราคม 1300 – 6 เมษายน 1301[12]
อะทินคะยาสวรรคต 1305/06[2] 1305/06[3] 1306/07[7] 1310/11[8] 13 เมษายน 1310[12]
ราซะทินจานสวรรคต 1312/13[2] 1312/13[9] 1312/13[7] 1303/04[8] ระหว่าง 13 เมษายน 1310 ถึง 7 กุมภาพันธ์ 1313

ความเป็นวิชาการสมัยอาณานิคม

[แก้]

รายงานจากข้อมูลสมัยอาณานิคมอังกฤษ นี่คือยุคของสามพี่น้องไทใหญ่ (ရှမ်းညီနောင်သုံးဦးခေတ်) ซึ่งดัดแปลงคำจากพงศาวดาร (မင်းညီနောင်သုံးဦးခေတ်, แปลว่า "ยุคของสามพี่น้องเชื้อพระวงศ์") ข้อมูลสมัยอาณานิคมระบุเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยไทใหญ่ในพม่าตอนบนที่จะยังคงอยู่จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 การประเมินความเป็นชาติพันธุ์ของพี่น้องทั้งสามเป็นชาวไทใหญ่นั้นระบุครั้งแรกโดย Arthur Purves Phayre นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และคำยืนยันของเขาถูกเผยแพร่โดยนักประวัติศาสตร์พม่าในเวลาต่อมา[13] Phayre ถือว่า Theinkha Bo พระราชบิดาของพี่น้องทั้งสาม มีเชื้อสายไทใหญ่ เนื่องจากพงศาวดารต่าง ๆ ระบุว่าพระองค์เป็นพระโอรสในเจ้าฟ้าแห่งเบนนะกะ แต่ Michael Aung-Thwin นักประวัติศาสตร์ ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างนั้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใด ๆ ที่สนับสนุนข้อกล่าวอ้างดังกล่าว[note 2]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Maha Yazawin เหมือนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถอนทัพของพวกมองโกลจากภาคเหนือของพม่ากับการล่าถอยจากมยีนไซ่ง์ (Maha Yazawin Vol. 1 2006: 258) ระบุว่าพวกมองโกลตั้งทัพล้อมเมืองมยีนไซ่ง์ในปี 664 ME (29 มีนาคม ค.ศ. 1302 ถึง 28 มีนาคม ค.ศ. 1303) และล่าถอยในปี 665 ME (29 มีนาคม ค.ศ. 1303 ถึง 27 มีนาคม ค.ศ. 1304) ตามฝั่งวิชาการระบุว่า (Than Tun 1959: 122) พวกมองโกลถอยทัพจากมยีนไซ่ง์ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1301 และถอนทัพออกจากพม่าตอนเหนือทั้งหมดในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1303
  2. (Aung-Thwin 1996: 884–885): Arthur Phayre was the first one to make the assertion, based purely on the chronicles' use of sawbwa, equating the office with ethnicity. GE Harvey (Harvey 1925: 76) inserted the word "Shan", in what he claimed was the direct quote from Hmannan, which says no such thing. In all, no historical evidence of any kind (in Burmese, Shan or anything else) that indicates the ethnicity of their father or the three brothers exists.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Coedès 1968: 209
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Zata 1960: 43
  3. 3.0 3.1 3.2 Maha Yazawin Vol. 1 2006: 258
  4. Yazawin Thit Vol. 1 2012: 154
  5. Hmannan Vol. 1 2003: 370
  6. Maha Yazawin Vol. 1 2006: 258–259
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Yazawin Thit Vol. 1 2012: 156–157
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Hmannan Vol. 1 2003: 369
  9. 9.0 9.1 Maha Yazawin Vol. 1 2006: 259
  10. Yazawin Thit Vol. 1 2012: 151
  11. Than Tun 1959: 119–120
  12. 12.0 12.1 Than Tun 1959: 122
  13. Aung-Thwin 1998: 881

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Aung-Thwin, Michael A. (November 1996). "The Myth of the "Three Shan Brothers" and the Ava Period in Burmese History". The Journal of Asian Studies. Cambridge: Cambridge University Press. 55 (4): 881–901. doi:10.2307/2646527. JSTOR 2646527.
  • Aung-Thwin, Michael A. (2017). Myanmar in the Fifteenth Century. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-6783-6.
  • Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  • Duroiselle, Charles (1920). Report of the Superintendent, Archaeological Survey of Burma for the Year Ending 31st March 1920. Rangoon: Office of the Superintendent, Government Printing, Burma.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Kala, U (2006) [1724]. Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Maha Sithu (2012) [1798]. Kyaw Win; Thein Hlaing (บ.ก.). Yazawin Thit (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2nd printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Nyein Maung, บ.ก. (1972–1998). Shay-haung Myanma Kyauksa-mya [Ancient Burmese Stone Inscriptions] (ภาษาพม่า). Vol. 1–5. Yangon: Archaeological Department.
  • Royal Historians of Burma (1960) [c. 1680]. U Hla Tin (Hla Thamein) (บ.ก.). Zatadawbon Yazawin. Historical Research Directorate of the Union of Burma.
  • Royal Historical Commission of Burma (2003) [1832]. Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3. Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
  • Than Tun (December 1959). "History of Burma: A.D. 1300–1400". Journal of Burma Research Society. XLII (II).
  • Than Tun (1964). Studies in Burmese History (ภาษาพม่า). Vol. 1. Yangon: Maha Dagon.