มัณฑะเลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัณฑะเลย์
กำแพงพระราชวังมัณฑะเลย์
กำแพงพระราชวังมัณฑะเลย์
มัณฑะเลย์ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
มัณฑะเลย์
มัณฑะเลย์
ที่ตั้งเมืองมัณฑะเลย์ในประเทศพม่า
พิกัด: 21°58′30″N 96°5′0″E / 21.97500°N 96.08333°E / 21.97500; 96.08333พิกัดภูมิศาสตร์: 21°58′30″N 96°5′0″E / 21.97500°N 96.08333°E / 21.97500; 96.08333
ประเทศ พม่า
ภาค ภาคมัณฑะเลย์
จังหวัดมัณฑะเลย์
ผู้ก่อตั้งพระเจ้ามินดง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจอซาน
พื้นที่[1]
 • นคร163.84 ตร.กม. (63.26 ตร.ไมล์)
ความสูง22 เมตร (70 ฟุต)
ประชากร
 (2014)[2]
 • นคร1,726,889 คน
 • ความหนาแน่น11,000 คน/ตร.กม. (27,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,319,452 คน
 • นอกเมือง407,437 คน
 • กลุ่มชาติพันธุ์พม่า, อินเดีย, จีน, ไทใหญ่
 • ศาสนาพุทธเถรวาท, คริสต์, ฮินดู, อิสลาม
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)
รหัสพื้นที่02[3]
ทะเบียนพาหนะMDY
เว็บไซต์www.goldencity.asia

มัณฑะเลย์[4] หรือ มานดะเล[4] (พม่า: မန္တလေး, ออกเสียง: [máɰ̃.də.lé]) เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่ารองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในภาคมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716 กิโลเมตร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1857 โดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งมีความสูง 775 ฟุต

มัณฑะเลย์เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าทางตอนเหนือของพม่า และถือเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากย่างกุ้ง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญบนเส้นทางการค้าระหว่างอินเดียกับจีน และรัฐบาลพม่ายังให้ความสำคัญโดยตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทเข้ามาดำเนินการประมาณ 1,000 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานถลุงเหล็กและโรงงานผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรกล มัณฑะเลย์ยังเป็นเมืองศูนย์กลางคมนาคม มีทั้งท่าเรือและท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์

ด้านสาธารณูปโภค[แก้]

ถนนที่ใช้รองรับการขนส่งอยู่ในสภาพค่อนข้างดี สาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ อาทิ น้ำประปา ไฟฟ้า โรงพยาบาล สถานีอนามัย มีคุณภาพและการให้บริการที่ดี ส่วนระบบโทรคมนาคมมีความสะดวกสบายพอสมควร สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากประเทศไทยได้บางช่องสัญญาณ

ระเบียงภาพ[แก้]


อ้างอิง[แก้]

  1. "Water Purification Plant No. 8 in Aungmyethazan Township 60% Complete". Bi-Weekly Eleven (ภาษาพม่า). Eleven Media Group. 28 April 2011.
  2. Census Report. The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Vol. 2. Naypyitaw: Ministry of Immigration and Population. May 2015. p. 57. สืบค้นเมื่อ 26 April 2017.
  3. "Myanmar Area Codes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-01. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]