พระยาอายกำกอง
พระยาอายกำกอง စောအဲ | |
---|---|
กษัตริย์แห่งเมาะตะมะ | |
ครองราชย์ | ป. เมษายน – มิถุนายน ค.ศ. 1330 (49 วัน) |
ก่อนหน้า | ชีปอน |
ต่อไป | พระยาอายลาว |
ชายา | นางจันทะมังคะละ |
ราชวงศ์ | ฟ้ารั่ว |
พระราชบิดา | พระเจ้าแสนเมือง |
พระราชมารดา | แม่นางตะปี |
ประสูติ | ค.ศ. 1313/14 675 ME เมาะตะมะ อาณาจักรเมาะตะมะ |
สวรรคต | ป. มิถุนายน ค.ศ. 1330 (16 พรรษา) 692 ME เมาะตะมะ อาณาจักรเมาะตะมะ |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระยาอายกำกอง[1] (พม่า: စောအဲကံကောင်း, [sɔ́ ʔɛ́ gàɴ gáʊɴ] ซอเอกั่นเกาง์; 1313/14 – 1330) เป็นพระเจ้าเมาะตะมะเพียง 49 วันใน ค.ศ. 1330 นับเป็นกษัตริย์มอญพระองค์สุดท้ายที่สวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย
พระยาอายกำกองประสูติราว ค.ศ. 1313/14 เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าแสนเมือง[2] (စောအို ซอโอ่) กษัตริย์รัชกาลที่ 3 ที่ประสูติแต่เจ้าหญิงซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระยาเลอไทย กษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งสุโขทัย ต่อมาพระราชบิดาของพระองค์ได้ตัดความสัมพันธ์กับสุโขทัยในราว ค.ศ. 1317/18
พระยาอายกำกองขึ้นสืบราชบัลลังก์เมื่อ ค.ศ. 1330 โดยความช่วยเหลือของพระนางจันทะมังคะละ อดีตพระมเหสีในพระเจ้ารามมะไตย (စောဇိတ် ซอเซ) กษัตริย์องค์ที่ 4 ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ที่ถูกชีปอน กษัตริย์รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นขุนนางคนสนิทของพระเจ้ารามมะไตยปลงพระชนม์ เมื่อขึ้นสืบราชบัลลังก์แล้วพระยาอายกำกองได้พยายามกลับมาสานสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย ทำให้นางจันทะมังคะละซึ่งสถาปนาตนเป็นพระอัครมเหสีในพระยาอายกำกองไม่พอใจ และได้วางยาพิษปลงพระชนม์พระสวามี[1]เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันขณะพระชนมายุราว 16 – 17 พรรษาโดยไร้รัชทายาท ทำให้นางจันทะมังคะละได้ไปเชิญพระเชษฐาต่างพระมารดาซึ่งเป็นเจ้าเมืองซิต้อง มาสืบราชบัลลังก์เป็นพระยาอายลาว (ဗညားအဲလော บะญาเอลอ) จากเหตุการณ์นี้ทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่พอใจและได้เข้าโจมตีอาณาจักรหงสาวดีแต่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของพระยาอายกำกอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- เจ้าพระยาพระคลัง (หน). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หมวดบันเทิงคดี เรื่อง ราชาธิราช. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2546. 500 หน้า. หน้า 51.
- ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 25, 37.