อมรปุระ
อำเภออมรปุระ အမရပူရမြို့နယ် | |
---|---|
พิกัด: 21°54′N 96°03′E / 21.900°N 96.050°E | |
ประเทศ | พม่า |
เขต | ภาคมัณฑะเลย์ |
จังหวัด | มัณฑะเลย์ |
ก่อตั้ง | 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1783 |
เขตเวลา | UTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
รหัสพื้นที่ | 2 (โทรศัพท์: 69, 90)[1] |
อมรปุระ [อะ-มะ-ระ-ปุ-ระ] (พม่า: အမရပူရ) เป็นเมืองและอำเภอที่อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร นับเป็นอีกหนึ่งเมืองของพม่าที่ยังคงมนต์ขลังมาจนปัจจุบัน ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงอารยธรรมอันเก่าแก่ของเมืองที่สามารถพบเห็นได้จากเหล่าวัดอารามและเจดีย์ที่ตั้งเรียงรายอยู่รอบ ๆ ตัวเมือง
วัดมหากันดายน (Maha Gandhayon Kyaung) วัดที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบตองตะมาน (Taungthaman Lake) วัดมหากันดายนเป็นวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดของพม่า มีภิกษุและสามเณรมาศึกษาเล่าเรียนทางธรรมกว่า 1,200 คน นอกจากนี้แล้วยังมีพระสงฆ์บางส่วนเป็นพระชาวต่างชาติที่มาจากหลายภูมิภาค เช่น ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น
ทะเลสาบตองตะมานมีสะพานอู้เบน สะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก สะพานนี้ทอดข้ามทะเลสาบตองตะมานซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองอมรปุระ มุ่งตรงไปสู่เจดีย์เจาะตอจี้ (Kyautawgyi Paya) ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของทะเลสาบ รวมระยะทางยาวกว่า 1.2 กิโลเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Myanmar Area Codes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-01. สืบค้นเมื่อ 2015-07-05.
- Bischoff, Roger (1995). Buddhism in Myanmar - A Short History (PDF). Kandy: Buddhist Publication Society.
- Cooler, Richard M. "The Konbaung Period - Amarapura". Northern Illinois University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-16. สืบค้นเมื่อ 2006-06-09.
- Maung Maung Tin (1905). Konbaung Hset Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2004 ed.). Yangon: Department of Universities History Research, University of Yangon.
- Sein, Hoke. "Entry for amara". Pāḷi-Myanmar Dictionary (ပါဠိမြန်မာ အဘိဓာန်) (ภาษาพม่า). Pali Canon E-Dictionary Version 1.94. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
- Sein, Hoke. "Entry for pura". Pāḷi Dictionary (ภาษาพม่า). Pali Canon E-Dictionary Version 1.94. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wanderings in Burma George W. Bird, 1897, Southeast Asia Visions