ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้ามี่นบีนแห่งมเยาะอู้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้ามี่นบีน
မင်းပင်
ซาบุกชาห์ (ဇာပေါက်သျှာ)
พระเจ้ามี่นบีน ได้รับการสลักเป็นเทพเจ้า ในวัดชิตอง มเยาะอู้[1]
กษัตริย์แห่งยะไข่
ครองราชย์27 พฤษภาคม ค.ศ. 1531 – 11 มกราคม ค.ศ. 1554
ราชาภิเษก16 กันยายน ค.ศ. 1531
ก่อนหน้าพระเจ้ามังฆ้อง
ถัดไปDikkha
ประสูติป. กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1493
วันเสาร์ ป. เดือนดะบ้อง 854 ME[note 1]
มเยาะอู้ อาณาจักรมเยาะอู้
สวรรคต11 มกราคม ค.ศ. 1554(1554-01-11) (60 ปี)
วันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว 915 ME[2]
มเยาะอู้
ฝังพระศพวัดชิตอง
ชายาซอมี่นละ
Saw Kauk Ma ที่ 2
พระนางมี่นคองแมดอ
Saw Mae Kyi
Saw Shin
พระราชบุตร10 พระองค์ รวม Min Dikkha และพระเจ้ามี่นพะล่อง
พระนามเต็ม
สิริสูริยจันทมหาธรรมราชา (သီရိ သူရိယ စန္ဒ မဟာ ဓမ္မ ရာဇာ)
พระราชบิดายาซา
พระราชมารดาSaw Nandi[3]
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้ามี่นบีน (ยะไข่และพม่า: မင်းဘင်, เสียงอ่านภาษาพม่า: [mɪ́ɰ̃ bɪ̀ɰ̃], ออกเสียงแบบยะไข่: [máɰ̃ bàɰ̃]) หรือที่รู้จักกันในพระนาม มี่นบาจี้ (မင်းဗာကြီး, เสียงอ่านภาษาพม่า: [mɪ́ɰ̃ bàjí], ม่านบา-กรี่, ออกเสียงแบบยะไข่: [máɰ̃ ɡɹí]); ค.ศ. 1493–1554) เป็นกษัตริย์ยะไข่จาก ค.ศ. 1531–1554 "รัชสมัยของพระองค์อาระกันกลายเป็นมหาอำนาจ"[4] ด้วยความช่วยเหลือจากทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสและปืนไฟ กองทัพเรือและกองทัพอันทรงพลังของพระองค์ได้ขยายเขตแดนเข้าไปจนถึงแคว้นเบงกอล และแม้แต่แทรกแซงกิจการของพม่าแผ่นดินใหญ่[5]

หลังความสำเร็จทางทัพในช่วงแรกต่อเบงกอลและตรีปุระ (1532–34) พระเจ้ามี่นบีนเริ่มมองตนเอง "เป็นผู้พิชิตโลกหรือพระเจ้าจักรพรรดิ" และเพื่อเป็นการระลึกถึงชัยชนะของพระองค์ในเบงกอล พระองค์จึงสร้างวัดชิตอง หนึ่งในเจดีย์ที่สำคัญของมเยาะอู้[6] อย่างไรก็ตาม ความพยายามขยายอำนาจของพระองค์ต้องพบกับอุปสรรคสำคัญ การควบคุมเบงกอลไกลเกินจิตตะกองของพระองค์เป็นเพียงในนามเท่านั้น และไม่เคยแก้ไขปัญหาการโจมตีเบงกอลของตรีปุระได้เลย เช่นเดียวกับสุลต่านแห่งเบงกอลก่อนหน้าพระองค์ นอกจากนี้การแทรกแซงพม่าตอนล่าง (ค.ศ. 1542) ของตองอูก่อให้เกิดการรุกรานของตองอูใน ค.ศ. 1545–47 ที่เกือบทำให้อำนาจของพระองค์ล่มสลาย พระองค์รอดชีวิตจากกการรุกรานและภายหลังให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อังวะ โดยหวังที่จะหยุดการรุดหน้าสู่พม่าตอนบนของตองอู

จารึกเกี่ยวกับพระเจ้ามี่นบีนที่วัดชิตอง

พระองค์สวรรคตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1554 และ Min Dikkha พระราชโอรสองค์โตและรัชทายาท ขึ้นครองราชย์ต่อ มรดกของพระองค์ยังคงอยู่ การก่อสร้างเชิงป้องกันที่พระองค์สร้างขึ้นทั่วทั้งอาณาจักรจะขัดขวางการรุกรานของตองอูอีกครั้งจนถึง ค.ศ. 1580 นอกจากนี้ พระองค์ยังได้รับการยกย่องจากการก่อตั้งกองเรือที่ควบคุมอ่าวเบงกอล ซึ่งในศตวรรษต่อมาจะทำให้ยะไข่สามารถควบคุมแนวชายฝั่งที่ยาวกว่า 1,600 กิโลเมตร จากสุนทรวันไปจนถึงอ่าวเมาะตะมะ[7] การครองราชย์ 22 ปีของพระองค์ทำให้มเยาะอู้กลายเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาค โดยรักษาสถานะนี้ไว้ได้อย่างดีจนถึงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

กษัตริย์ในอนาคตมีพระนามตอนพระราชสมภพว่า Min Pa (မင်းပါ) จากมกุฎราชกุมารยาซาแห่งมเยาะอู้กับเจ้าหญิง Saw Nandi เมื่อ ค.ศ. 1493 พระราชบิดามารดาของพระองค์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน โดยพระราชมารดาเป็นพระราชธิดาในพระปิตุลาของยาซา[8] พระองค์มีพระอนุชาอย่างน้อยหนึ่งพระองค์นามว่า Min Aung Hla ใน ค.ศ. 1502 Salingathu พระอัยกาสวรรคต และพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ต่อ ในฐานะกษัตริย์ พระราชบิดาแต่งตั้งราชินีองค์ใหม่สามพระองค์ และให้พระราชมารดาของพระองค์เป็นพระมเหสีรอง ไม่กี่ปีต่อมา พระองค์แต่งตั้ง Min Pa เป็นนายพลในกองทัพ[8]

ขึ้นสู่อำนาจ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1513 ยาซาถูก Gazapati พระราชโอรสอีกพระองค์จากพระสนม โค่นอำนาจ แม้ว่า Min Pa มีพระชนมายุมากกว่า Gazapati และมีสิทธิในการอ้างราชบัลลังก์อย่างถูกต้องมากกว่า พระองค์อยู่ห่างจากจุดสนใจ โดยมีชีวิตรอดจากการวางแผนร้ายและการแย่งชิงอำนาจในราชสำนักซึ่งมีกษัตริย์ถึงสามพระองค์ (Gazapati, Saw O และ Thazata) ในช่วงแปดปีต่อมา[8] ใน ค.ศ. 1521 พระเจ้า Thazata สวรรคต และมังฆ้อง พระอนุชาของพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อ แม้ว่า Min Pa สูญเสียราชบัลลังก์แก่พระเจ้ามังฆ้อง แต่พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการแห่งตาน-ดแว เมืองที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 ของอาณาจักร ณ ที่นั่น Min Pa สร้างฐานเสียงผู้จงภักดีและรวบรวมอาวุธอย่างใจเย็น สิบปีต่อมา พระองค์ก่อกบฏและเดินทัพไปยังมเยาะอู้ด้วยกำลังทางบกและทางทะเล เมื่อถึงมเยาะอู้ กองทัพของพระองค์เอาชนะกองทัพของกษัตริย์และสั่งให้ประหารชีวิตพระเจ้ามังฆ้อง[9]

รูปปั้นพระเจ้ามี่นบีนแห่งมเยาะอู้

สวรรคต

[แก้]

พระเจ้ามี่นบีนสวรรคตในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1554 (แรม 8 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว 915 ME)[2] Dikkha รัชทายาท ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. พระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันเสาร์ที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1493 ถึง 23 มีนาคม ค.ศ. 1493 (Sandamala Linkara Vol. 2 1999: 35, 39, 48): พระองค์เสด็จพระราชสมภพในปี 854 ME เมื่อวันเสาร์ และสวรรคตในปี 915 ME และกษัตริย์องต์ใหม่ขึ้นครองราช์เมื่อแรม 8 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว 915 ME (11 มกราคม ค.ศ. 1554) นั่นหมายความว่าพระองค์เสด็จพระราชสมภพระหว่างแรม 9 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว 854 ME (26 มกราคม ค.ศ. 1493) ถึงวันสุดท้ายของปี 854 ME (28 มีนาคม ค.ศ. 1493) และเนื่องจากพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันเสาร์ วันพระราชสมภพที่เป็นไปได้คือ: (26 มกราคม), (2, 9, 16, 23 กุมภาพันธ์), (2, 9, 16, 23 มีนาคม)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gutman 2001: 105
  2. 2.0 2.1 Sandamala Linkara Vol. 2 1999: 48
  3. Sandamala Linkara Vol. 2 1999: 26
  4. Seekins 2006: 295
  5. James 2004: 171
  6. Gutman 2001: 96
  7. Topich, Leitich 2013: 21
  8. 8.0 8.1 8.2 Sandamala Linkara Vol. 2 1999: 26–27
  9. Sandamala Linkara Vol. 2 1999: 28

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Gutman, Pamela (2001). Burma's Lost Kingdoms: Splendours of Arakan. Bangkok: Orchid Press. ISBN 974-8304-98-1.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • James, Helen (2004). "Arakan". ใน Ooi, Keat Gin (บ.ก.). Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 2. ABC-CLIO. ISBN 1-57607-770-5.
  • Myanma Swezon Kyan (ภาษาBurmese). Vol. 11 (1 ed.). Yangon: Sarpay Beikman. 1970.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาBurmese). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Sandamala Linkara, Ashin (1931). Rakhine Yazawinthit Kyan (ภาษาBurmese). Vol. 1–2 (1997–1999 ed.). Yangon: Tetlan Sarpay.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Seekins, Donald M. (2006). Historical dictionary of Burma (Myanmar), vol. 59 of Asian/Oceanian historical dictionaries. Vol. 59 (Illustrated ed.). Sacredcrow Press. ISBN 978-0-8108-5476-5.
  • Topich, William J.; Keith A. Leitich (2013). The History of Myanmar. ABC-CLIO. ISBN 9780313357244.