ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าตราพระยาแห่งอังวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าตราพระยาแห่งอังวะ
တရဖျား
พระเจ้าตราพระยาแห่งอังวะในรูปของนัต มินตารา
กษัตริย์แห่งอังวะ
ครองราชย์เมษายน – ราว ตุลาคม ค.ศ. 1400
ก่อนหน้าพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา
ต่อไปพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
มุขยมนตรีMin Yaza of Wun Zin
ประสูติ22 ธันวาคม ค.ศ. 1368
วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนปยาโต 730 ME
อังวะ
สวรรคตป. ตุลาคม ค.ศ. 1400[note 1]
ก่อนขึ้น 9 ค่ำ เดือนนะดอ 762 ME
อังวะ
ชายาพระนางมินละเมียะแห่งอังวะ
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระเจ้ากะเล่เจ้ตองโญ
Min Hla Htut
ราชวงศ์ปี้นยะ
พระราชบิดาพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา
พระราชมารดาShin Saw Gyi
(หรือKhame Mi)
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าตราพระยาแห่งอังวะ (พม่า: တရဖျား, ออกเสียง: [təɹəbjá] หรือ [təjəpʰjá]; 22 ธันวาคม ค.ศ. 1368 – ป. ตุลาคม ค.ศ. 1400) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่ง อาณาจักรอังวะ ครองสิริราชสมบัติได้เพียง 7 เดือนใน ค.ศ. 1400 ก่อนหน้านี้พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ช่วง ค.ศ. 1385 ถึง 1400 ระหว่างรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นแม่ทัพในสงคราม 3 ครั้งแรกกับ อาณาจักรหงสาวดี ช่วงสงครามสี่สิบปี[1][2]

พระเจ้าตราพระยาถูกปลงพระชนม์โดยราชครูของพระองค์คือ สีหบดีแห่งตะโกง ซึ่งพยายามจะยึดราชบัลลังก์แต่ถูกต่อต้านและถูกนำไปสำเร็จโทษ[3][4] ราชบัลลังก์จึงตกเป็นของพระอนุชาพระองค์หนึ่งของพระเจ้าตราพระยา ซึ่งได้ครองราชย์ต่อมาเป็น พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง[5]

พระเจ้าตราพระยาถูกจดจำในฐานะ นะมี่นตะยา ซึ่งเป็นหนึ่งในนะหลวงของชาวพม่า

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

กษัตริย์ในอนาคตเสด็จพระราชสมภพที่อังวะเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1368[note 2] จากพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวาแห่งอังวะกับพระมเหสี Shin Saw Gyi (หรือพระมเหสี Khame Mi)[note 3] เนื่องจากพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันเดียวกับที่ช้างเผือกเกิด ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของพระมหากษัตริย์พม่า ทำให้พระองค์ได้รับตำแหน่ง "ซีน-พยูชีน" (พระเจ้าช้างเผือก) พระนามนั้นยังคงอยู่แม้ว่าลูกช้างเผือกตัวนั้นตายหลังจากนั้นไม่นาน[6] พระนามลำลองของพระองค์คือ Min Na-Kye ("เจ้าพระกรรณกว้าง")[7] พระองค์มีพี่น้อง 2 พระองค์ (พระอนุชาและพระกนิษฐาองค์ละหนึ่ง)[8] หรือพี่น้อง 4 พระองค์ (พระอนุชากับพระกนิษฐา 3 พระองค์)[9]

พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวาทรงดูแลพระราชโอรสองค์โตไว้อย่างดี[note 4]เพื่อเป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง[10] แต่ตราพระยามีพระอนุชาต่างพระราชมารดาสองพระองค์ (มี่นชเว และ Theiddat เป็นพระราชโอรสของพระสนม) เป็นคู่ปรับ เนื่องจากตราพระยาชอบรังแกพี่น้องต่างพระราชมารดาของตนอยู่เสมอ กษัตริย์จึงต้องส่งพระราชโอรสองค์เล็กทั้งสองออกจากพระราชวังอังวะใน ค.ศ. 1381/82[11] กระทั่งเมื่อ ป. เมษายน ค.ศ. 1385 กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระเจ้าตราพระยาเป็นรัชทายาท และให้พระองค์สมรสกับมี่นละเมียะ พระธิดาองค์เดียวของ ตีละวะแห่งยะแม่ที่น ผู้ว่าราชการผู้ทรงอำนาจ[12]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

[แก้]
ข้อมูล พระราชสมภพ–สวรรคต พระชนมายุ รัชสมัย ความยาวรัชสมัย อ้างอิง
Zatadawbon Yazawin 16 ธันวาคม 1366 − ในหรือหลัง กันยายน 1401 34
(ปีที่ 35)
1401 − ในหรือหลัง กันยายน 1401 5 เดือน [note 5]
มหาราชวงศ์ 1369 − มิถุนายน/กรกฎาคม 1401 31
(ปีที่ 32)
พฤศจิกายน/ธันวาคม 1400 − มิถุนายน/กรกฎาคม 1401 7 เดือน [note 6]
มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ 1368 − ในหรือหลัง กันยายน 1400 1400 − ในหรือหลัง กันยายน 1400 5 เดือน [note 7]
มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว 1369 − มิถุนายน/กรกฎาคม 1401 พฤศจิกายน/ธันวาคม 1400 − มิถุนายน/กรกฎาคม 1401 7 เดือน [note 8]
Mani Yadanabon 1369 − ในหรือหลัง กันยายน 1400 1400 − ในหรือหลัง กันยายน 1400 5 เดือน 7 วัน [15]
ข้อความจารึก ? − ใน ตุลาคม/พฤศจิกายน 1400 ? − ใน ตุลาคม/พฤศจิกายน 1400 [note 1]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ตราพระยาสวรรคตในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือนนะดอ 762 ME ซึ่งแปลงตามธรรมเนียมเป็น 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1400[5] หรือเป็น 26 ตุลาคม ค.ศ. 1400 รายงานจากจารึกร่วมสมัยเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้ามังฆ้อง—พบในปี 762 ME ที่เจดีย์ Yan Aung-Myin ที่ Tada-U Township—the Great Lord Anawrahta Saw [Minkhaung] in his 28th year [aged 27] ascended the throne on the tha-tin (သတင်) day in the waxing half of the month of Nadaw in the Arthat (Ashadha) year of 762 [ME].[16] Than Tun แปลงวันที่เป็น 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1400[5] ซึ่งเทียบเท่ากับขึ้น 9 ค่ำ เดือนนะดอ 762 ME; Than Tun มอง 762 ME เป็นปีมหาอธิกสุรทิน ถ้าปี 762 ME เป็นปีปกติสุรทิน วันที่นั้นจะแปลงได้เป็นวันอังคารที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1400
  2. พงศาวดารต่าง ๆ ระบุปีพระราชสมภพของพระเจ้าตราพระยาแตกต่างกัน Zatadawbon Yazawin (Zata 1960: 46, 73) ระบุว่าพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันศุกร์ nekkhat ที่ 14 ของเดือน 10 (ปยาโต) ปี 728 ME ซึ่งตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนปยาโต 728 (16 ธันวาคม ค.ศ. 1366). มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่กล่าวแนะสองครั้งว่าพระองค์เสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1368: 1. (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 207−208) ระบุว่าพระองค์สวรรคตใน 762 ME (1400/01) เมื่อปีที่ 32; 2. (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 196) ระบุว่าพระเจ้าตราพระยาเข้าปีที่ 18 (มีพระชนมายุ 17 พรรษา) ตอนพระองค์ไปแนวหน้าเมื่อ ค.ศ. 1385 มหาราชวงศ์ (Maha Yazawin Vol. 1 2006: 304−305) และมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 1 2003: 436−438) ระบุว่าพระองค์ขึ้นครองราชย์ในปีที่ 32 (31 พรรษา) ในเดือนนะดอ 762 ME (17 พฤศจิกายน 1400 ถึง 15 ธันวาคม 1400) และสวรรคต 7 เดือนต่อมา โดยยังคงมีพระชนมายุ 31 พรรษา เสนอแนะว่าพระองค์เสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1369 แต่จารึกร่วมสมัยแสดงให้เห็นว่าการขึ้นครองราชย์ในเดือนนะดอของมหาราชวงศ์และมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้วไม่ถูกต้อง แต่เดือนนะดอเป็นเดือนที่พระเจ้าตราพระยาสวรรคต แผ่นจารึก (Than Tun 1959: 128) แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องครองราชย์ต่อจากพระเจ้าตราพระยาในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือนนะดอ 762 ME (25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1400) เสนอแนะว่าพระเจ้าตราพระยาน่าจะเสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1368 ท้ายที่สุด Zatadawbon Yazawin ระบุว่าพระองค์สวรรคตในปีที่ 35 (34 พรรษา) แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นข้อผิดพลาดด้านการเขียน เพราะ (1) เลขพม่า 32 (၃၂) และ 35 (၃၅) ดูคล้ายกันและสามารถเขียนผิดได้ และ (2) พระองค์ได้รับตำแหน่ง Hsinbyushin (พระเจ้าช้างเผือก) ตอนพระราชสมภพ ซึ่งเสนอแนะว่าพระราชบิดาเป็นกษัตริย์อยู่แล้ว พระราชบิดาเป็นกษัตริย์ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1367 นั่นหมายความว่าพระเจ้าตราพระยาน่าจะสวรรคตในปีที่ 32 ตามที่พงศารดารอื่นระบุไว้ และพระองค์เสด็จพระราชสมภพในปี 730 ME ดังนั้น ขึ้น 13 ค่ำ เดือนปยาโต 730 ME = วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1368
  3. ทั้งมหาราชวงศ์ (Maha Yazawin Vol. 1 2006: 281) และมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 1 2003: 435) ระบุว่าพระราชมารดาของพระเจ้าตราพระยาคือราชินี Khame Mi มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 206) อ้างข้อความที่จารึกโดยราชินี Shin Saw Gyi ใน ค.ศ. 1401 ว่าพระนางเป็น "Hsinbyushin Me" (ဆင်ဖြူရှင်မယ်) ซึ่ง มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ มองเป็น "พระราชมารดาพระเจ้าช้างเผือก (Tarabya)" (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 206, footnote 3) และ (Hmannan Vol. 1 2003: 435) : มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้วปฏิเสธการแก้ไขของมหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ โดยระบุว่าคำว่า "Hsinbyushin Me" อาจหมายถึงตำแหน่ง "พระนางพระเจ้าช้างเผือก" และพงศาวดารก่อนหน้านั้นทั้งหมดระบุว่าพระราชมารดาของพระเจ้าตราพระยาคือ Khame Mi
  4. (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 206) : พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวากับ Khame Mi มีพระราชโอรสนาม Yan Aung Min Ye ผู้สิ้นพระชนม์แต่ยังเล็ก
  5. (Zata 1960: 46, 73) : พระราชสมภพวันศุกร์; nekkhat ที่ 14 ของเดือน 10 ปี 728 ME ≈ วันพุธที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1366</ref>
  6. ตราพระยากลายเป็นกษัตริย์ในเดือนนะดอ 762 ME (6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1400 ถึง 4 ธันวาคม ค.ศ. 1400) และถูกปลงพระชนม์ 7 เดือนต่อมา พระเจ้ามังฆ้องขึ้นครองราชย์หลังการแย่งชิงอำนาจช่วงสั้น ๆ[6]
  7. ตราพระยากลายเป็นกษัตริย์ในปี 762 ME (29 มีนาคม ค.ศ. 1400 ถึง 28 มีนาคม ค.ศ. 1401) และถูกปลงพระชนม์ 5 เดือนต่อมา[13]
  8. ตราพระยากลายเป็นกษัตริย์ในเดือนนะดอ 762 ME (6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1400 ถึง 4 ธันวาคม ค.ศ. 1400) สวรรคตหลังครองราชย์ 7 เดือน[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Maha Yazawin Vol. 1 2006: 290−293
  2. Yazawin Thit Vol. 1 2012: 195−197
  3. Hmannan Vol. 1 2003: 438
  4. Harvey 1925: 366
  5. 5.0 5.1 5.2 Than Tun 1959: 128
  6. 6.0 6.1 Maha Yazawin Vol. 1 2006: 304−305
  7. Maha Yazawin Vol. 1 2006: 281
  8. Yazawin Thit Vol. 1 2012: 206
  9. Hmannan Vol. 1 2003: 435−436
  10. Htin Aung 1967: 89
  11. Hmannan Vol. 1 2003: 439
  12. Hmannan Vol. 1 2003: 435
  13. Yazawin Thit Vol. 1 2012: 207–208, 210
  14. Hmannan Vol. 1 2003: 436−438
  15. Sandalinka 2009: 65
  16. SMK Vol. 4 1998: 220–221, lines 7, 12

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Hla Thamein. "Thirty-Seven Nats". Yangonow. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-28.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Kala, U (2006) [1724]. Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Maha Sithu (2012) [1798]. Myint Swe; Kyaw Win; Thein Hlaing (บ.ก.). Yazawin Thit (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2nd printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Nyein Maung, บ.ก. (1972–1998). Shay-haung Myanma Kyauksa-mya [Ancient Burmese Stone Inscriptions] (ภาษาพม่า). Vol. 1–5. Yangon: Archaeological Department.
  • Pan Hla, Nai (2005) [1968]. Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
  • Royal Historians of Burma (1960) [c. 1680]. U Hla Tin (Hla Thamein) (บ.ก.). Zatadawbon Yazawin. Historical Research Directorate of the Union of Burma.
  • Royal Historical Commission of Burma (2003) [1832]. Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3. Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
  • Sandalinka, Shin (2009) [1781]. Mani Yadanabon (ภาษาพม่า) (4th printing ed.). Yangon: Seit-Ku Cho Cho.
  • Than Tun (December 1959). "History of Burma: A.D. 1300–1400". Journal of Burma Research Society. XLII (II).