มี่นยาซาจี้
หน้าตา
มี่นยาซาจี้ မင်းရာဇာကြီး ซาลิม ชะฮ์ (ဆောလိမ်သျှာ) | |||||
---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์แห่งยะไข่ | |||||
ครองราชย์ | 4 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 24 มิถุนายน] 1593 – 4 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 24 มิถุนายน] 1612 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้ามี่นปะลอง | ||||
ถัดไป | Khamaung | ||||
หัวหน้าคณะราชมนตรี | Maha Pyinnya Kyaw | ||||
ประสูติ | ค.ศ. 1557/1558 (พระราชสมภพในวันจันทร์)[note 1] Sittantin | ||||
สวรรคต | 4 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 24 มิถุนายน] 1612 (54 พรรษา) วันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน Waso 974 ME[1] มเยาะอู้ | ||||
ชายา | Wizala (ราชินีเอก) และราชินีหลัก 8 พระองค์ ราชินีรอง 11 พระองค์[1] | ||||
พระราชบุตร | พระราชโอรสธิดามากกว่า 15 พระองค์ ซึ่งรวมถึงKhamaung[1] | ||||
| |||||
พระราชบิดา | พระเจ้ามี่นปะลอง | ||||
พระราชมารดา | Saw Mi Taw | ||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
มี่นยาซาจี้ (พม่า: မင်းရာဇာကြီး, เสียงอ่านภาษาพม่า: [mɪ́ɰ̃ jàzà d͡ʑí], สำเนียงยะไข่: [máɰ̃ ɹàzà ɡɹí]; ประมาณ ค.ศ. 1557–1612) หรือที่รู้จักในพระนาม ซาลิม ชะฮ์ (มลายู: Salim Shah) เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรยะไข่ระหว่าง ค.ศ. 1593–1612 ต้นรัชสมัยของพระองค์อาณาจักรเริ่มขึ้นสู่จุดสูงสุดใน ค.ศ. 1599 สามารถพิชิตราชวงศ์ตองอูและเข้าควบคุมอ่าวเบงกอลจากชายฝั่งสุนทรวันจรดอ่าวเมาะตะมะจนถึง ค.ศ. 1603[2][3] แต่ในช่วงครึ่งหลังของรัชสมัย พระองค์สูญเสียการควบคุมชายฝั่งพม่าตอนล่างใน ค.ศ. 1603 และชายฝั่งส่วนใหญ่ของอ่าวเบงกอลใน ค.ศ. 1609 จากการจลาจลของทหารรับจ้างชาวโปรตุเกส พระองค์สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1612 ระหว่างเตรียมรับมือการบุกโจมตีชายฝั่งยะไข่ของชาวโปรตุเกส[4]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตามรายงานจากพงศาวดาร พระองค์เสด็จพระราชสมภพในช่วงวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1557 ถึง 20 มิถุนายน ค.ศ. 1558 จาก (Sandamala Linkara Vol. 2 1999: 54, 87) พระองค์ครองราชย์ตอนพระชนมพรรษา 35 พรรษาในขึ้น 6 ค่ำ เดือน Waso 955 ME และสวรรคตในขึ้น 8 ค่ำ เดือน Waso 974 ME ตอนพระชนมพรรษา 54 พรรษา นั่นหมายความว่า พระองค์เสด็จพระราชสมภพหลังขึ้น 8 ค่ำ เดือน Waso 919 ME (4 มิถุนายน ค.ศ. 1557) แต่ก่อนขึ้น 6 ค่ำ เดือน Waso 920 ME (21 มิถุนายน ค.ศ. 1558) และเนื่องจากพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันจันทร์ ทำให้อยู่ในช่วง 7 มิถุนายน ค.ศ. 1557 ถึง 20 มิถุนายน ค.ศ. 1558
อ้างอิง
[แก้]บรรรานุกรม
[แก้]- Gutman, Pamela (2001). Burma's Lost Kingdoms: Splendours of Arakan. Bangkok: Orchid Press. ISBN 974-8304-98-1.
- Hall, D.G.E. (1960). The Rise and Fall of the Kingdom of Mrohaung in Arakan.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
- Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
- Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
- Sandamala Linkara, Ashin (1931). Rakhine Yazawinthit Kyan (ภาษาพม่า). Vol. 1–2 (1997–1999 ed.). Yangon: Tetlan Sarpay.
- Than Tun (2011). "23. Nga Zinga and Thida". Myanmar History Briefs (ภาษาพม่า). Yangon: Gangaw Myaing.
- Topich, William J.; Keith A. Leitich (2013). The History of Myanmar. ABC-CLIO. ISBN 9780313357244.