พระเจ้าฝรั่งมังศรี
พระเจ้าฝรั่งมังศรี ဆင်ဖြူရှင် သီဟသူ | |
---|---|
![]() พระเจ้าฝรั่งมังศรีในร่างของนะ อองปีนแลซีน-พยูชีน | |
กษัตริย์แห่งอังวะ | |
ครองราชย์ | ป. ตุลาคม ค.ศ. 1421 – สิงหาคม ค.ศ. 1425 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง |
ต่อไป | พระเจ้ามี่นละแง |
พระมหาอุปราชาพม่า | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1416–1421 |
ก่อนหน้า | มังรายกะยอชวา |
ถัดไป | พระเจ้ามี่นละแง |
ข้าหลวงแห่งแปร | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1413–1416 |
ก่อนหน้า | มังรายกะยอชวา |
ถัดไป | ซอ-ชเวแคะ |
กษัตริย์ | พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง |
ข้าหลวงแห่งซะไกง์ | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1408–1413 |
ก่อนหน้า | Theiddat |
ถัดไป | Yazathingyan |
กษัตริย์ | พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง |
ประสูติ | ป. 3 มิถุนายน ค.ศ. 1394[note 1] วันพุธ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนวาโซตอนต้น 756 ME Pyinzi อาณาจักรอังวะ |
สวรรคต | สิงหาคม ค.ศ. 1425 (31 พรรษา) เดือนตอตะลี่น 787 ME อมรปุระ อาณาจักรอังวะ |
ชายา |
|
พระราชบุตร |
|
ราชวงศ์ | ปี้นยะ |
พระราชบิดา | พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง |
พระราชมารดา | ชีนมิเนาะ |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระเจ้าฝรั่งมังศรี ภาษาพม่าเรียก เมงเยสีหตู (พม่า: မင်းရဲ သီဟသူ; ค.ศ. 1394–1425) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งอาณาจักรอังวะ ครองสิริราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1422 ถึง 1425 รัชสมัยของพระองค์ตรงกับช่วงปลายสงครามสี่สิบปีซึ่งเกิดขึ้นระหว่างอาณาจักรอังวะกับอาณาจักรหงสาวดี
พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]พระเจ้าฝรั่งมังศรีเสด็จพระราชสมภพเมื่อ ป. 3 มิถุนายน ค.ศ. 1394[note 1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในเจ้าชายมี่นชเวแห่ง Pyinzi กับเจ้าหญิงชีนมิเนาะ[2][3] พระราชบิดาเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวาแห่งอาณาจักรอังวะ ส่วนพระราชมารดาเป็นพระธิดาในเจ้าฟ้า Tho Ngan Bwa (Si Lun Fa) แห่งโม่ญี่น[4] พระเจ้าฝรั่งมังศรีมีพระเชษฐาและเชษฐภคิณี คือเจ้าชายมังรายกะยอฉะวา และเจ้าหญิง Saw Pyei Chantha และมีพระอนุชา คือเจ้าชายมังกะยอดิน[2][3] พระราชวงศ์ของพระองค์ประทับอยู่ที่ Pyinzi ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองหลวงอังวะไป 60 กิโลเมตร จนกระทั่ง ค.ศ. 1400 เมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ามังฆ้องในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1400 ขณะนั้นพระเจ้าฝรั่งมังศรีมีพระชนมายุ 6 พรรษา[5][6]
มกุฎราชกุมาร
[แก้]พระเจ้าฝรั่งมังศรีขณะดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารยังคงรับผิดชอบต่อความพยายามในการทำสงคราม ใน ค.ศ. 1417 พระองค์เข้ารุกรานทางใต้ทั้งทางบกและทางน้ำพร้อมด้วยทหาร 16,000 นาย หลังจากสู้รบกันหลายครั้ง กองทัพของพระองค์ก็สามารถยึดครองดากองและHmawbi ทำให้พระเจ้าราชาธิราชต้องออกจากพะโคไปยังเมาะตะมะชั่วครู่ แต่กองทัพของพระองค์ไม่สามารถเดินทัพถึงพะโคก่อนฤดูฝนมาถึงใน ค.ศ. 1418 พวกเขาไม่ได้ดินแดนเพิ่ม และจำต้องถอยทัพในฤดูแล้งถัดไป[7][8] พระเจ้าฝรั่งมังศรีนำเจ้าชายพระยาแซะแห่งดากองเป็นตัวประกันต่ออังวะ พระเจ้ามังฆ้องปฏิบัติต่อพระยาแซะอย่างดีในอังวะแต่ไม่ได้ส่งกลับ เมื่อเก็บพระยาแซะไว้ที่อังวะ พระเจ้ามังฆ้องรู้สึกว่าตนได้เสมอกับคู่ปรับทางใต้แล้ว จึงไม่เปิดฉากการรบอีกต่อไป พระเจ้าราชาธิราชจึงปฏิบัติตามการหยุดปะทะอย่างกะทันหันเช่นกัน[7][8] การหยุดรบดำรงอยู่จนถึงสิ้นสุดรัชสมัยพระเจ้ามังฆ้องและพระเจ้าราชาธิราช ซึ่งทั้งคู่สวรรคตห่างกันพระองค์ละสองเดือนในช่วงปลาย ค.ศ. 1421[9]
รัชสมัย
[แก้]ขึ้นครองราชย์
[แก้]พระเจ้าฝรั่งมังศรีขึ้นครองราชย์ร่วมกับซอมี่นละเมื่อ ป. ตุลาคม ค.ศ. 1421 พระมหากษัตริย์ตอนพระชนมายุ 27 พรรษายังรับพระนางชีนโบ่แม พระมเหสีองค์โปรดของพระราชยิดา ไปเป็นของตนเอง[7][10] พระนามในรัชสมัยของพระองค์คือ สีหสุระมหาธรรมราชา (သီဟသူရ မဟာ ဓမ္မရာဇာ; บาลี: Sīhasura Mahādhammarājā) หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ทรงเพิ่มบรรดาศักดิ์ ซีน-พยูชีน (ဆင်ဖြူရှင်; "พระเจ้าช้างเผือก") เมื่อข้าราชบริพารสองคนถวายช้างเผือกสองเชือก[note 2] ถือเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งในสายพระเนตรพระมหากษัตริย์พม่า
พระราชวงศ์
[แก้]พระเจ้าฝรั่งมังศรีมีพระมเหสีสามพระองค์ และมีพระราชโอรสธิดารวมสามพระองค์ มหาราชวงศ์ ระบุว่า พระเจ้าฝรั่งมังศรีเสกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิง Min Hla Htut ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์เอง แต่ไม่นานก็ทรงหย่าร้างกัน[11] ทว่า มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ ไม่เชื่อว่ามีการเสกสมรสดังกล่าว โดยอ้างถึงจารึก ค.ศ. 1415/16[note 3] ส่วนพงศาวดาร มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว เชื่อตาม มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่[12]
Mani Yadanabon ระบุว่า พระมเหสีพระองค์แรก (ไม่ปรากฏพระนาม) ของพระเจ้าฝรั่งมังศรีสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา[note 4] หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ก็เสกสมรสกับซอมี่นละ[13]
พระนาง | บรรดาศักดิ์ | พระราชโอรสธิดา | อ้างอิง |
---|---|---|---|
ซอมี่นละ | อัครมเหสี (ครองตำแหน่ง ค.ศ. 1421−1425) | พระเจ้ามี่นละแง (ครองราชย์ ค.ศ. 1425) Saw Pyei Chantha of Taungdwin Shwe Pyi Shin Me |
[12] |
ชีนโบ่แม | มเหสีแห่งวังเหนือ (ครองตำแหน่ง ค.ศ. 1421−1425) | ไม่มี | [12] |
เชงสอบู | มเหสีแห่งวังกลาง (ครองตำแหน่ง ค.ศ. 1423–1425) | ไม่มี | [12] |
ประวัติศาสตร์นิพนธ์
[แก้]ต่อไปนี้คือรายชื่อเหตุการณ์สำคัญในพระชนม์ชีพตามที่รายงานในพงศาวดารหลัก พงศาวดารทั้งหมดระบุว่าพระองค์สวรรคตในปีที่ 31 (พระชนมายุ 30 พรรษา) แม้ว่าพงศาวดารทั้งหมดจะไม่สอดคล้องกันภายในในแง่ของวันพระราชสมภพและวันสวรรคต รวมถึงพระชนมายุเมื่อเสียชีวิตดังที่แสดงไว้ด้านล่าง
ข้อมูล | พระราชสมภพ–สวรรคต | พระชนมายุตอนขึ้นครองราชย์ | พระชนมายุตอนสวรรคต | รัชสมัย | ความยาวรัชสมัย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
Zatadawbon Yazawin (ส่วนรายพระนามกษัตริย์แห่งอังวะ) |
มิถุนายน/กรกฎาคม 1393 [ตามต้นฉบับ] – [ป. เมษายน] 1426 [ตามต้นฉบับ] | 27 (ปีที่ 28) [ตามต้นฉบับ] |
30 (ปีที่ 31) [ตามต้นฉบับ] |
1423/24 [ตามต้นฉบับ] – [ป. เมษายน] 1426 [ตามต้นฉบับ] | 3 | [note 5] |
Zatadawbon Yazawin (ส่วนดวงชะตา) |
ป. 3 มิถุนายน 1394 – 1425 | 27 (ปีที่ 28) |
30 (ปีที่ 31) |
1421/22 – 1425 | [note 6] | |
มหาราชวงศ์ | ป. 1394/95 – สิงหาคม/กันยายน 1425 | 1422/23 – สิงหาคม/กันยายน 1425 | [note 7] | |||
มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ | 1394/95 [เป็นนัยว่าต้น 1395] – สิงหาคม/กันยายน 1425 | 26 (ปีที่ 27) |
1421 – สิงหาคม/กันยายน 1425 | 4 | [note 8] | |
มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว | [note 9] |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 วันพุธ เดือน 4 (วาโซตอนต้น) ปี 756 ME เมื่อมี 6 nekkhats[1]
- ↑ (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 266): One from Gov. Ottama Thiri Zeya Nawrahta of Myedu, and the other from Gov. Saw Shwe Khet of Prome
- ↑ มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ อ้างจารึก จ.ศ. 777 (ค.ศ. 1415/16) ที่ระบุว่า เจ้าหญิง Min Hla Htut เสกสมรสกับ Shwe Khet ใน จ.ศ. 765 (ค.ศ. 1403/04) ขณะนั้นพระเจ้าฝรั่งมังศรีมีพระชนมายุ 9 พรรษาเป็นอย่างมาก ดังนั้น ถ้าพระเจ้าฝรั่งมังศรีเสกสมรสกับเจ้าหญิง Min Hla Htut ก่อน ค.ศ. 1403/04 พระเจ้าฝรั่งมังศรีย่อมจะทรงเยาว์พระชันษายิ่งกว่านั้นอีก พงศาวดารนี้จึงไม่เชื่อว่ามีการเสกสมรสระหว่างพระเจ้าฝรั่งมังศรีกับเจ้าหญิง Min Hla Htut[10]
- ↑ Mani Yadanabon ว่า พระนางสิ้นพระชนม์ขณะที่มีพระชนมายุย่างเข้าปีที่ 26 ได้ 1 เดือน หมายความว่า พระนางมีพระชนมายุ 25 พรรษากับหนึ่งเดือนในเวลาสิ้นพระชนม์[13]
- ↑ เนื้อหารายพระนามกษัตริย์ของพระเจ้าฝรั่งมังศรีใน Zata (Zata 1960: 46) มีความไม่สอดคล้องกันภายใน โดยระบุว่าพระเจ้าฝรั่งมังศรีเสด็จพระราชสมภพในวันพุธ เดือน 4 (วาโซ) ปี 785 ME [ตามต้นฉบับ] (11, 18, 25 มิถุนายน หรือ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1393); ขึ้นครองราชย์ในปีที่ 28 [ตามต้นฉบับ] เมื่อ 785 ME [ตามต้นฉบับ]; และสวรรคตในปี 788 ME [ตามต้นฉบับ] (30 มีนาคม ค.ศ. 1426 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1427) หลังครองราชย์ 3 ปี เนื่องจาก (Zata 1960: 46) ยังระบุว่าผู้ครองราชย์ต่อจากพระองค์ครองราชย์เพียงสี่เดือนในปี 788 ME พระเจ้าฝรั่งมังศรีต้องสวรรคตในช่วง 8 เดือนแรกของปี 788 ME (30 มีนาคม–ธันวาคม ค.ศ. 1426)
- ↑ ส่วนดวงชะตา (Zata 1960: 74): พระเจ้าฝรั่งมังศรีเสด็จพระราชสมภพในวันพุธ เดือน 4 (วาโซตอนต้น) ปี 756 ME ที่มี 6 nekkhats เรียงขึ้น; ขึ้นครองราชย์ในปีที่ 28; และสวรรคตในปีที่ 31 และเนื่องจากพระเจ้ามี่นละแง กษัตริย์องค์ถัดไป ครองราชย์เพียงสี่เดือนในปี 787 ME (30 มีนาคม ค.ศ. 1425 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1426) พระเจ้าฝรั่งมังศรีต้องสวรรคตในช่วง 8 เดือนแรกของปี 787 ME (30 มีนาคม–ธันวาคม ค.ศ. 1425)
- ↑ (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 56, 59): พระเจ้าฝรั่งมังศรีขึ้นครองราชย์ในปี 784 ME (30 มีนาคม ค.ศ. 1422 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1423) เมื่อปีที่ 28 (พระชนมายุ 27 พรรษา); ครองราชย์สามปี; สวรรคตในปีที่ 31 (พระชนมายุ 30 พรรษา) ในเดือนตอตะลี่น 787 ME (13 สิงหาคมถึง 11 กันยายน ค.ศ. 1425)
- ↑ (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 266, 270): พระเจ้าฝรั่งมังศรีเสด็จพระราชสมภพในปี 756 ME (30 มีนาคม ค.ศ. 1394 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1395); ขึ้นครองราชย์ในปีที่ 27 (พระชนมายุ 26 พรรษา) ในปี 783 ME (30 มีนาคม ค.ศ. 1421 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1422); ครองราชย์สี่ปี; สวรรคตในปีที่ 31 (พระชนมายุ 30 พรรษา) ในเดือนตอตะลี่น 787 ME (13 สิงหาคมถึง 11 กันยายน ค.ศ. 1425)
- ↑ มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้วมีเนื้อหาตามมหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ (Hmannan Vol. 2 2003: 53, 58): พระเจ้าฝรั่งมังศรีเสด็จพระราชสมภพในปี 756 ME (30 มีนาคม ค.ศ. 1394 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1395); ขึ้นครองราชย์ในปีที่ 27 (พระชนมายุ 26 พรรษา) ในปี 783 ME (30 มีนาคม ค.ศ. 1421 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1422); ครองราชย์สี่ปี; สวรรคตในปีที่ 31 (พระชนมายุ 30 พรรษา) ในเดือนตอตะลี่น 787 ME (13 สิงหาคมถึง 11 กันยายน ค.ศ. 1425)
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zata 1960: 74
- ↑ 2.0 2.1 Yazawin Thit Vol. 1 2012: 265
- ↑ 3.0 3.1 Hmannan Vol. 1 2003: 441
- ↑ Hmannan Vol. 1 2003: 424
- ↑ Than Tun 1959: 128
- ↑ Hmannan Vol. 1 2003: 440
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Yazawin Thit Vol. 2 2012: 264
- ↑ 8.0 8.1 Hmannan Vol. 2 2003: 51
- ↑ Yazawin Thit Vol. 1 2012: 264–265
- ↑ 10.0 10.1 Yazawin Thit Vol. 1 2012: 266
- ↑ Maha Yazawin Vol. 2 2006: 56
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Hmannan Vol. 2 2003: 53–54
- ↑ 13.0 13.1 Shin Sandalinka 2009:182