เทศบาลตำบลแหลมงอบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลแหลมงอบ
ประภาคารแหลมงอบ จุดชมวิวสุดแผ่นดินตะวันออก
ประภาคารแหลมงอบ จุดชมวิวสุดแผ่นดินตะวันออก
ทต.แหลมงอบตั้งอยู่ในจังหวัดตราด
ทต.แหลมงอบ
ทต.แหลมงอบ
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลแหลมงอบ
พิกัด: 12°10′26.2″N 102°23′43.4″E / 12.173944°N 102.395389°E / 12.173944; 102.395389พิกัดภูมิศาสตร์: 12°10′26.2″N 102°23′43.4″E / 12.173944°N 102.395389°E / 12.173944; 102.395389
ประเทศ ไทย
จังหวัดตราด
อำเภอแหลมงอบ
จัดตั้ง • 3 สิงหาคม 2499 (สุขาภิบาลแหลมงอบ)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.แหลมงอบ)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชัยพฤกษ์ สนธิศิริ
พื้นที่
 • ทั้งหมด1.20 ตร.กม. (0.46 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด1,811 คน
 • ความหนาแน่น1,509.16 คน/ตร.กม. (3,908.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05230502
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 44/4 หมู่ที่ 1 ถนนตราด-แหลมงอบ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 23120
เว็บไซต์www.laemngobcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลแหลมงอบ เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ของตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลแหลมงอบที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2499[2] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ปัจจุบันในเขตเทศบาลตำบลแหลมงอบมีประชากรทั้งหมด 1,811 คน

พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณเขตศูนย์ราชการต่าง ๆ ของอำเภอแหลมงอบ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดตราดประมาณ 17.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 326 กิโลเมตร ตามถนนสายแหลมงอบ–แสนตุ้ง และถนนสุขุมวิท และใช้เวลา 1 ชั่วโมง ถึงกรุงเทพมหานครผ่านทางท่าอากาศยานตราด มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 1.200 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็น 750.0 ไร่ พื้นที่เทศบาลแบ่งออกเป็น 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนหินกลาง ซึ่งมีความหนาแน่นของชุมชนและประชากรมากที่สุด ชุมชนหินสบ๋าย ชุมชนวัดแหลมงอบ ชุมชนศาลเจ้าพ่อต้นยาง และชุมชนยายม่อม

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด พ.ศ. 2563 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 26–27. 3 สิงหาคม 1956.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]