จังหวัดโพธิสัตว์
จังหวัดโพธิสัตว์ ខេត្តពោធិ៍សាត់ | |
---|---|
เกาะซ็อมเปาเมียะฮ์ (สำเภาทอง) | |
แผนที่ประเทศกัมพูชาเน้นจังหวัดโพธิสัตว์ | |
พิกัด: 12°32′N 103°55′E / 12.533°N 103.917°E | |
ประเทศ | กัมพูชา |
ยกฐานะเป็นจังหวัด | พ.ศ. 2450 |
เมืองหลัก | โพธิสัตว์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12,692 ตร.กม. (4,900 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 4 |
ประชากร (พ.ศ. 2551)[1] | |
• ทั้งหมด | 397,107 คน |
• อันดับ | 15 |
• ความหนาแน่น | 31 คน/ตร.กม. (81 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | 18 |
เขตเวลา | UTC+7 |
รหัสต่อ | +855 |
รหัส ISO 3166 | KH-15 |
อำเภอ | 6 อำเภอ |
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง |
โพธิสัตว์[2] หรือ โปซัต[2] (เขมร: ពោធិ៍សាត់) เป็นจังหวัดหนึ่งใน 25 แห่งของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ จังหวัดพระตะบอง โตนเลสาบ จังหวัดกำปงฉนัง จังหวัดกำปงสปือ จังหวัดเกาะกง และประเทศไทยบริเวณจังหวัดตราด ในเชิงภูมิศาสตร์กายภาพ จังหวัดโพธิสัตว์ตั้งอยู่ระหว่างโตนเลสาบกับทิศเหนือของทิวเขาบรรทัด โดยมีแม่น้ำโพธิสัตว์ตัดผ่านกลางจังหวัดโดยตลอด ไหลจากทิวเขาบรรทัดในทิศตะวันตกไปบรรจบโตนเลสาบในทิศตะวันออก
จังหวัดโพธิสัตว์เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ทว่ามีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 14 การเดินทางสามารถเข้าถึงโดยทางรถยนต์ โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 และถนนสายเล็กต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเข้าถึงได้โดยทางเรือและทางรถไฟอีกด้วย[3]
จังหวัดโพธิสัตว์เป็นที่ตั้งของวัดบากาน (វត្តបាកាន) ซึ่งเชื่อกันว่ามีเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในกัมพูชาที่ยังคงใช้งานอยู่ นอกจากนี้ยังถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่งของชาวพุทธในกัมพูชา[4]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิศาสตร์กายภาพของจังหวัดโพธิสัตว์มีความหลากหลายประกอบด้วยชีวภูมิภาคที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เทือกเขาที่มีป่าไม้ปกคลุมอย่างหนาแน่น ที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ ไปจนถึงที่ราบลุ่มโตนเลสาบ ยังคงมีพื้นที่ป่าอยู่ราวร้อยละ 58 ของพื้นที่จังหวัด[5] ทิวเขาบรรทัดประกอบด้วยภูเขาสูงทางทิศตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด บริเวณเขตติดต่อกับประเทศไทยและชายฝั่งทะเล ความชันของพื้นที่ลาดลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ต่อเนื่องเข้าไปในจังหวัดพระตะบอง ที่ซึ่งมีการปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวข้าวมากเป็นลำดับต้นของกัมพูชา แม่น้ำโพธิสัตว์มีต้นกำเนิดในทิวเขาบรรทัด ไหลตามทิศทางดังกล่าว และไหลลงโตนเลสาบในที่สุด จังหวัดโพธิสัตว์เป็นจังหวัดหนึ่งใน 9 แห่งที่พื้นที่บางส่วนตั้งอยู่ในเขตสงวนชีวมณฑลโตนเลสาบ[6]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]จังหวัดโพธิสัตว์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 49 ตำบล 502 หมู่บ้าน[7] รายชื่ออำเภอมีดังนี้[7]
- ในวงเล็บคือรหัสทางภูมิศาสตร์และชื่ออำเภอในภาษาเขมร
- อำเภอบากาน (1501, បាកាន)
- อำเภอกัณเฎียง (1502, កណ្ដៀង)
- อำเภอกระคร (1503, ក្រគរ)
- อำเภอพนมกระวาน (1504, ភ្នំក្រវាញ) เป็นพื้นที่ชนบทในเขตภูเขา
- อำเภอโพธิสัตว์ (1505, ពោធិ៍សាត់) เป็นอำเภอเล็กที่มีชุมชนตั้งอยู่อย่างหนาแน่น อำเภอที่ตั้งของเมืองหลักของจังหวัดโพธิสัตว์ ก่อนหน้านี้มีชื่อว่า อำเภอซ็อมเปาเมียะฮ์ (សំពៅមាស)[8]
- อำเภอเวียลแวง (1506, វាលវែង) เป็นพื้นที่ห่างไกลและมีประชากรเบาบาง ที่มั่นสุดท้ายแห่งหนึ่งของเขมรแดงจนถึงช่วงปลาย 1990
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "General Population Census of Cambodia 2008 - Provisional population totals" (PDF). สถาบันสถิติแห่งชาติ กระทรวงการวางแผนประเทศ. 3 กันยายน 2551.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ Total Road Atlas of Cambodia, Third Edition, Phnom Penh, 2006
- ↑ History of Bakan Pagoda, Kambuja Soriya Magazine, Volume 2, 2003, Buddhist Institute, Phnom Penh
- ↑ O Kunka. 2005. Participation in natural forest resource management in Pursat province, Cambodia
- ↑ Tonle Sap Biosphere Reserve Environmental Information Database
- ↑ 7.0 7.1 Economic Census of Cambodia 2011 Provincial Report 15 Pursat Province โดยสถาบันสถิติแห่งชาติ กระทรวงการวางแผนประเทศ ประเทศกัมพูชา, หน้า 26 (เขตปกครอง) และหน้า 29 (แผนที่จังหวัด), สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559
- ↑ Administrative Areas in Pursat Province by District and Commune สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- pursat.org เก็บถาวร 2016-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์การท่องเที่ยวจังหวัดโพธิสัตว์