อำเภอเกาะกูด
อำเภอเกาะกูด | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: ฟ้าใส ทะเลสวย รวยธรรมชาติ หาดทรายสะอาด ดาษดื่นปะการัง | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 11°39′30″N 102°32′32″E / 11.65833°N 102.54222°E | |
อักษรไทย | อำเภอเกาะกูด |
อักษรโรมัน | Amphoe Koh kood |
จังหวัด | ตราด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 111.266 ตร.กม. (42.960 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 2,553 คน |
• ความหนาแน่น | 22.94 คน/ตร.กม. (59.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 23000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2306 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเกาะกูด หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด 23000 |
![]() |
เกาะกูด เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย ปัจจุบันรวมกับเกาะเล็ก ๆ ข้างเคียงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด
ประวัติ[แก้]
เกาะกูดเริ่มปรากฏหลักฐานตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อองเชียงสือ เจ้าเมืองญวนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ หนีออกจากกรุงเทพมหานครมาลงเรือที่เกาะสีชัง จากนั้นแล่นเรือชักใบในอ่าวไทยมา 7 วันจึงถึงเกาะกูดที่ไม่มีคนอยู่เลย
ชนพื้นถิ่นดั้งเดิมของเกาะกูดส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่อพยพมาจากเมืองปัจจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 มีหมู่บ้านคลองมาดเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุด
เดิมเกาะกูดเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลเกาะหมาก อำเภอแหลมงอบ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเกาะกูด ในปี พ.ศ. 2523 ตัวเกาะกูดมีระยะทางห่างจากอำเภอคลองใหญ่ประมาณ 40 กิโลเมตร ประชาชนชาวเกาะกูดมีความยากลำบากในการเดินทางไปติดต่อราชการ ประกอบกับเกาะกูดอยู่ใกล้ดินแดนประเทศกัมพูชาด้านเกาะกงมากกว่าฝั่งไทย ทางราชการจึงมีนโยบายเพื่อความมั่นคงและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยได้ยกฐานะเกาะกูดและเกาะข้างเคียงขึ้นเป็น กิ่งอำเภอเกาะกูด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเกาะกูด โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
ลักษณะโดยทั่วไป[แก้]
อำเภอเกาะกูดประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยรวม 24 เกาะ โดยแบ่งเป็น 3 หมู่เกาะ
- หมู่เกาะกูด มี 3 เกาะ ได้แก่ เกาะกูด เกาะแรด และเกาะไม้ชี้
- หมู่เกาะหมาก มี 9 เกาะ ได้แก่ เกาะหมาก เกาะยะรั้งใน เกาะยะรั้งนอก เกาะผี เกาะขาม เกาะกระดาด เกาะนก เกาะนอก และเกาะใน
- หมู่เกาะรัง มี 12 เกาะ ได้แก่ เกาะรังใหญ่ เกาะรังเล็ก เกาะตุ๊น เกาะกระ เกาะเทียน เกาะทองหลาง เกาะมะปริง เกาะยักษ์ เกาะกำปั่น เกาะใหญ่ เกาะกลาง และเกาะเล็ก
ปัจจุบันชาวเกาะกูดยังดำรงชีพด้วยการประมงชายฝั่ง เกษตรกรรม ทั้งสวนยางพารา สวนมะพร้าว แซมสวนผลไม้อีกเล็กน้อย
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองของอำเภอเกาะกูดมี 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | เกาะหมาก | (Ko Mak) | มี 2 หมู่บ้าน | ||
2. | เกาะกูด | (Ko Kut) | มี 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเกาะกูดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะหมากทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะกูดทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
ทางอากาศ สามารถเดินทางโดยใช้สนามบินเกาะไม้ซี้ อยู่ห่างจากเกาะกูดเล็กน้อย สนามบินดังกล่าวมีความยาวทางวิ่ง 800 เมตร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเกาะกูด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (25 ง): 1351. 13 กุมภาพันธ์ 2533. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ ผู้ว่าฯตราดตรวจการก่อสร้างสนามบินเล็กที่เกาะไม้ซี้ เกาะกูด
|
|