คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Law, Chiang Mai University | |
ชื่อย่อ | นิติฯ มช. / Law CMU |
---|---|
คติพจน์ | นิติศาสตร์เพื่อความยุติธรรมในสังคม (Law for Society) |
สถาปนา | • พ.ศ. 2535 - เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในคณะสังคมศาสตร์ • 25 มีนาคม พ.ศ. 2549 - จัดตั้งคณะนิติศาสตร์ |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทมน คงเจริญ |
ที่อยู่ | |
วารสาร | • ASEAN Journal of Legal Studies (AJLS) [1] • CMU Journal of Law and Social Sciences [2] |
สี | สีม่วง |
มาสคอต | ตราชู |
เว็บไซต์ | www.law.cmu.ac.th |
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Law, Chiang Mai University) เป็นคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดการเรียนการสอนกฎหมายในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก[3]
ประวัติ
[แก้]คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มต้นมาจากการจัดตั้งสาขาวิชานิติศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2508 สังกัดอยู่ในภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ เป็นการแบ่งส่วนราชการตามระเบียบบริหารราชการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเปิดสอนกระบวนวิชากฎหมายจำนวนไม่น้อยกว่า 24 กระบวนวิชาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และนอกจากนั้นยังเป็นวิชาบังคับพื้นฐานวิชาโท และวิชาเลือกเสรีสำหรับนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[4]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นที่ 1) โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาคแห่งแรกที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าว[5]
และในปี พ.ศ. 2549 ได้จัดตั้งเป็น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามมติสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2549 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 112 ง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[6]
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมา ดังนี้[7]
พ.ศ. 2508 เริ่มจัดการเรียนการสอนในฐานะสาขาวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยจัดการศึกษาสังกัดภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ โดยเปิดสอนวิชากฎหมายเป็นวิชาเอกสำหรับนักศึกษาภาควิชารัฐศาสตร์ วิชาบังคับพื้นฐานวิชาโทและเลือกสำหรับนักศึกษาทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2535 ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาคแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
พ.ศ. 2538 ดำเนินการจัดตั้งโครงการเพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ภายใต้ชื่อ “โครงการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชน” ซึ่งได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2539 เริ่มโครงการยกระดับหน่วยจัดการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต จากสาขาวิชาขึ้นเป็นภาควิชา ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 (ปีงบประมาณ 2540 - 2544)โดยได้ใช้อาคาร 2 ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการจัดตั้งภาควิชานิติศาสตร์ และได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัยแต่โครงการดังกล่าวได้ถูกชะลอไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากฐานะการเงิน การคลังและภาวะเศรษฐกิจของประเทศใน พ.ศ. 2540
พ.ศ. 2542 ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา ส่งผลให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทวิสามัญของเนติบัณฑิตยสภาได้
พ.ศ. 2546 ทำการปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตเพื่อสนองต่อความต้องการของสังคม หน่วยงานและองค์กรที่ต้องการบุคลากรทางกฎหมาย และเพิ่มโอกาสในการศึกษาแก่บุคคลที่ต้องการศึกษากฎหมายหลังจากการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาอื่น
พ.ศ. 2547 เปิดการสอนในระดับปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ซึ่งก่อให้ความสนใจในสาขาวิชานิติศาสตร์เป็นอันมาก จึงเปิดหลักสูตรดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
พ.ศ. 2549 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้มีฐานะเป็นคณะนิติศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2549 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สอดคล้องกับการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยยังคงใช้อาคาร 2 ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์
พ.ศ. 2555 จัดพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนและบริหาร คณะนิติศาสตร์ โดยพระเทพวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดบุปผาราม เป็นประธานในพิธีลงเสาเอก พร้อมด้วย รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ บุคคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมในพิธีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2557 อาคารเรียนและบริหาร คณะนิติศาสตร์ ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และได้เริ่มการเรียนการสอน ณ อาคารเรียนและบริหารใหม่ ในปี พ.ศ. 2558
ทำเนียบคณบดี
[แก้]ทำเนียบคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. รองศาสตราจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551 | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาตรี เรืองเดชณรงค์ | พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2560 | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ | พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทมน คงเจริญ | พ.ศ. 2564 - พ.ศ.2567 | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย | พ.ศ.2567 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีเป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะดำรงตำแหน่ง
หน่วยงานภายในคณะ
[แก้]- ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย (LRDC)[8]
- ศูนย์บริการวิชาการทางกฎหมาย (LASC)[9]
- ศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย (CMU Law Clinic)[10]
หลักสูตร
[แก้]- การอบรม
โครงการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง[11]
รูปแบบที่ 1 สำหรับหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.)
1. ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดของหลักสูตร และจะต้องสอบผ่านภาคบรรยายร้อยละ 60 ของทุกหมวดวิชา และสอบผ่านภาคปฏิบัติทั้ง 4 หัวข้อ จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.)รับรอง
2. การวัดผลประกอบด้วย ข้อสอบอัตนัย 5 หมวดวิชา และสอบภาคปฏิบัติ 4 หัวข้อ
รูปแบบที่ 2 สำหรับหลักสูตรวุฒิบัตร
ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมดของหลักสูตร จะได้รับวุฒิบัตรรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
- ปริญญาตรี
นิติศาสตรบัณฑิต[12]
- ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์ได้เปิดสอนหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 2 รูปแบบ คือ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ) และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคพิเศษ)
- 1. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
- คณะนิติศาสตร์รับสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในแต่ละปีการศึกษาผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- - โครงการสอบคัดเลือกนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมในเขตพัฒนาภาคเหนือ (โควตาภาคเหนือ)
- - โครงการรับผู้ได้รับรางวัลการตอบปัญหากฎหมายระดับประเทศ
- - โครงการรับผู้มีความสามารถดีเด่นด้านภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน และฝรั่งเศส
- - โครงการรับนักกีฬาที่มีความสามารถดีเด่นระดับชาติและระดับนานาชาติ
- - โครงการรับนักเรียนชาวไทยภูเขา
- - โครงการรับนักเรียนพิการ
- - โครงการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (รับตรงและรับกลาง)
- (ทุกโครงการรับนักเรียนทั้งสายวิทย์และสายศิลป์)
- 2. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคพิเศษ)
- หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคพิเศษ) มีเนื้อหาของหลักสูตรการประเมินผลการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา เช่นเดียวกับหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตทุกประการ แต่เปิดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ โดยผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคพิเศษ) ต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงกว่าหรือเทียบเท่า และมีผลการสอบวัดความรู้ของสถาบันทางการศึกษาแห่งชาติ ระยะเวลาในการศึกษาตามแผนคือ 4 ปี และให้ใช้เวลาในการศึกษาไม่เกิน 8 ปี
- 1. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
- ปริญญาโท
นิติศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561[13]
- ปริญญาเอก
นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2563[14][15]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ||
---|---|---|
|
||
|
|
|
- หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา โดยมีมติในการประชุมครั้งที่ 752/2542 เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2542 ทำให้ผู้สอบไล่ได้ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถสมัครเป็นสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภาได้ตามข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา ข้อ 5(1) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[16]
สัญลักษณ์ประจำคณะ
[แก้]- สัญลักษณ์คณะ
- ตราดุลพาห หรือ ตราชู สัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม
- - ตราดุลพาห แปลความตามศัพท์ว่า เครื่องมือสำหรับชั่งหรือวัด ให้เกิดความเที่ยงธรรม ได้แก่ ตราชู คือเครื่องชั่งให้รู้หนักเบา แปลความตามนัย หมายถึง ความรับผิดชอบในการผดุงความยุติธรรมให้สถิตเสถียร สม่ำเสมอ ไม่เอนเอียงไปข้างฝ่ายใดด้วยอคติ รูปตราชูจึงเป็นเครื่องหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในการนำมาประกอบตราชูแห่งความยุติธรรม
- ตราดุลพาห หรือ ตราชู สัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม
- สีประจำคณะ
- สีม่วง
ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU/MOA)
[แก้]- Clooney Foundation for Justice, United States of America[17]
- Chicago-Kent College of Law, Illinois Institute of Technology, United States of America[18]
- School of Law, University of New England[19]
- School of Law and Justice, Southern Cross University, Australia[20]
- POLYTECHNIC INSTITUTE OF BEJA, BEJA, Portugal[21]
- Faculty of health and social studies University of South Bohemia, Czech Republic[22]
- Ghent University, Belgium[23]
- Law School, Zhongnan University of Economics and Law, China[24]
- Southwest University of Political Science and Law, China[25]
- Guangxi Institute of Economic & Political Studies on Southeast Asia (GIOEA), China[26]
- GUANGXI SIBEI LAW FIRM, China[27]
- Institute of South East Asian Affairs (ISEAA)[28]
- Faculty of Law, National University of Malaysia (Universiti Kebangsaan Malaysia)[29]
- Faculty of Law and Political Science, National University of Laos[30]
- Faculty of Law, Universitas Pelita Harapan, Indonesia[31]
- Ho Chi Minh City University of Law, Vietnam[32]
- College of Law, Chinese Culture University, Taiwan[33]
- College of Social Sciences, National Cheng Kung University (NCKU), Taiwan[34]
- BEIHAI ASIA INTERNATIONAL ARBITRATION CENTRE PTE LTD (BAIAC), Singapore[35]
การพัฒนาคุณภาพนักศึกษา (Student Quality Development)
[แก้]- ALSA CMU ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่าย Asian Law Students' Association (ALSA) ที่มุ่งเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ผ่านทางกิจกรรมเชิงวิชาการมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษางานดูในต่างประเทศ (study trip) ที่เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้เข้าร่วมตลอดทั้งปี การเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศต่างๆ สหประชาชาติจำลอง (Model United Nations: MUN) ที่จำลองการประชุมระดับสหประชาชาติ หรือการจัดวิเคราะห์ประเด็นกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ (legal discussion) โดย ALSA Thailand ประกอบไปด้วย ALSA Chula (นิติ จุฬาฯ) ALSA TU (นิติ มธ.) ALSA CMU (นิติ มช.) ALSA KASETSART (นิติ เกษตรศาสตร์) และALSA ABAC (นิติ ม.เอแบค) โดยมี ALSA Thailand[36] เป็นผู้ประสานงาน ALSA ทุกมหาวิทยาลัย
- การประชุมวิชาการนิติสังคมศาสตร์ระดับชาติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[37]
- โครงการ รายการวิทยุตราชูคู่ชาวบ้าน ภายใต้ศูนย์บริการวิชาการทางกฎหมาย ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายสู่ชุมชนผ่านการกระจายเสียงวิทยุทางคลื่น FM 100 คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โครงการประเพณีรับน้องรถไฟ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โครงการประเพณีนักศึกษาใหม่สักการะพระบรมธาตุดอยสุเทพ (ประเพณีรับน้องขึ้นดอย)
- โครงการให้ความรู้ทางกฎหมาย โดยศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย (CMU Law Clinic)
- โครงการคลินิคกฎหมายสัญจร (CMU Law Clinic)
- โครงการอบรมให้ความรู้กฎหมายแก่เยาวชน
- โครงการทูตกิจกรรมแห่งคณะนิติศาสตร์ (Law Ambassadors)
- โครงการพัฒนาบุคลิกภาพของการเป็นนักกฎหมาย
- โครงการ LAW REVIEW (ภาษาอังกฤษ)[38]
- โครงการค่ายรอ(LAW)อาสาพัฒนาชนบท
- การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางกฎหมาย
- พิธีไหว้ครู และพิธีมอบเกียรติบัตรนักศึกษาดีเด่น
- ทุนรางวัลเรียนดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ทุนนักกิจกรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลและความภาคภูมิใจ
[แก้]ดูเพิ่มเติมที่: www.law.cmu.ac.th
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJLS
- ↑ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS
- ↑ "เกี่ยวกับคณะนิติศาสตร์ – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ประวัติความเป็นมา – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ประวัติความเป็นมา – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ประวัติความเป็นมา – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ประวัติความเป็นมา – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – งานวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์".[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ศูนย์บริการวิชาการทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | Legal Academic Services Center, Faculty of Law, CMU".
- ↑ "ศูนย์ให้คำปรึกษาทางกกฎหมาย – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ โครงการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.law.cmu.ac.th/law2011/files/1611741991.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
- ↑ Doctor of Laws Program (Faculty of Law, Chiang Mai University) https://www.cmu.ac.th/th/Faculty/course_detail/7cb95611-0236-4e0f-8fe6-2153a8de6052
- ↑ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://www.law.cmu.ac.th/law2011/files/1605665929.pdf
- ↑ http://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/1_%20Kongklang/Thabian_Samom_Chik/tb_samachic_form_06022020.pdf
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ "Master Degree of Law (LL.M.) | Faculty of Law, Chiang Mai University THAILAND" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_03-U.-of-New-England.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_16-IPBeja.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_15-Ghent-U..pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_07-SWUPL.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_08-GIOEA.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_12-Guangxi-Sibei-Law-Firm.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ pradmin (2017-01-16). "สำนักหอสมุดให้การต้อนรับนักศึกษาและคณาจารย์ชาวต่างชาติ จากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา (Institute of South East Asian Affairs – ISEAA)". PR Corner CMU Library (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_11-UPH.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_17-College-of-Law-CCU.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_05-College-of-Social-SciencesNCKU.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.law.cmu.ac.th/site/wp-content/uploads/2021/02/mou_int_18-BEIHEI.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "About". ALSA Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
- ↑ "LAW CMU Conference – เพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการด้านนิติศาสตร์".
- ↑ "LAW REVIEW – คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]