ข้ามไปเนื้อหา

แก้วสรร อติโพธิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แก้วสรร อติโพธิ
ไฟล์:2009 Bangkok election poster- Kaewsan Atibhoti (cropped).JPG
โปสเตอร์หาเสียงของแก้วสรรปี 2552
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม 2543 – 2 สิงหาคม 2549
เขตเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
กปปส.
บุพการี
  • ศิริ อติโพธิ (บิดา)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
วิชาชีพ
  • อาจารย์
  • นักกฎหมาย
  • นักการเมือง
ญาติขวัญสรวง อติโพธิ (ฝาแฝด)
มีชื่อเสียงจากวิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร

แก้วสรร อติโพธิ (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตแนวร่วมกลุ่ม กปปส.

แก้วสรร ลาออกจากตำแหน่งรักษาการสมาชิกวุฒิสภา ลงสมัครเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 3 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับการทาบทามจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. แต่แล้วก็ไม่ได้รับการแต่งตั้ง โดยมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย คปค.ให้เหตุผลว่า เนื่องจากคุณสมบัติของแก้วสรรว่าไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ ซึ่งอาจเป็นข้อโต้แย้งถึงคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช. ในภายหลังได้

แก้วสรร อติโพธิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ คตส. ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ คตส.

แก้วสรร อติโพธิ เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ แกะรอยคอร์รัปชั่น และ ประธานมูลนิธิคุ้มครองเด็ก[1]

การศึกษา

[แก้]

ประวัติการทำงาน

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

แก้วสรรเป็นพี่น้องฝาแฝดกับ ขวัญสรวง อติโพธิ บิดาคือ ศิริ อติโพธิ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, ประธาน ปปป.

เขาเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.[2] ต่อมาในคราวการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาเป็นผู้ยื่นรายชื่อศิษย์เก่าต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อกดดันห้ามการชุมนุมในพื้นที่มหาวิทยาลัย[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ครูยุ่น" รับทราบข้อหาคดีทำร้ายเด็ก-ให้การปฏิเสธไทยพีบีเอส. 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 12:55 สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
  2. "อดีต กปปส. "แก้วสรร" โต้รุ่นพี่ธรรมศาสตร์ ไม่เคยกวักมือเรียกทหาร มาปฏิวัติ!". ข่าวสด. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  3. "'แก้วสรร' ยื่นรายชื่อศิษย์เก่า มธ.หนุนอธิการฯห้ามชุมนุม ซัดม็อบลับๆล่อๆ ไม่โปร่งใส ปลุกปั่นจากไซเบอร์". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  4. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]